กรณ : (วิ.) (วตฺถุ) เป็นเครื่องทำ, (อวยว) เป็นเครื่องทำเสียงให้เกิด. วิ. กโรติ เตนา ติ กรณํ. กรียเต เตนาติ วา กรณํ. เป็นที่ทำ วิ. กโรนฺติ เอตฺถาติ กรโณ. กรฺ กรเณ, ยุ.
ทฬฺหึกมฺม, - กรณ : นป. การกระทำให้มั่น, การทำให้มั่นคงแข็งแรง
อาโลกกร, - กรณ : ค., นป. ทำแสงสว่าง, ผู้นำแสงสว่างมา
กรณการก : (ปุ.) กรณการก ชื่อของบทนาม นามที่ประกอบด้วยตติยาวิภัติ
กรณวิภตฺติ : อิต. กรณการก, ตติยาวิภัตติ
กรณภาว : (ปุ.) ความเป็นคืออันทำ, ฯลฯ.
พฺยนฺตีกรณ : (นปุ.) การทำให้สิ้นสุด. พฺยนฺต+กรณ อี อาคม หรือแปลง อ ที่ ต เป็น อี.
อลงฺกรณ : (นปุ.) การประดับ, การตกแต่ง, การประดับประดา, เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ, เครื่องตบแต่ง, เครื่องอาภรณ์.อลํปุพฺ-โพ, กรฺกรเณ, ยุ.ส.อลงฺกรณ.
กรณี : (อิต.) คดี, เรื่อง, เรื่องเดิม, มูล, เหตุ. ส. กรณี.
กริณี : (อิต.) ช้างพัง, ช้างตัวเมีย, นางช้าง, กริณี, กรินี, กิริณี, กิรินี.
กรุณ : (ปุ.) กรุณะ (ความเอ็นดู) ชื่อนาฏยรส อย่างที่ ๒ ใน ๙ อย่าง. กรฺ กรเณ, อุโณ.
กเรณุ : (ปุ.) สัตว์มีงวง, ช้างพลาย, ช้างสาร. กร+อิณุปัจ. ส. กเรณุ, กรรณู.
กเรณุ, - ณุกา : อิต. ช้างพัง, ช้างตัวเมีย
กลฺยาณวากฺกรณ : ค. มีวาจาอันไพเราะน่ายินดี
กสิกรณ : นป. การไถนา, การทำนา
กามาธิกรณ : ค. ผู้มีความใคร่เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง
กิจฺจาธิกรณ : นป. กิจจาธิกรณ์, กิจที่สงฆ์พึงทำในที่ประชุมสงฆ์
กิรณ : (ปุ.) รัศมี, แสง. วิ. กิรติ ติมิรนฺติ กิรโณ. กิรฺ วิกฺเขเป, กิรติ ปตฺถรตีติ วา กิร โณ. กิรฺ ปสารเณ. อภิฯ ลง อน ปัจ. แปลง น เป็น ณ รูปฯ ลง ยุ ปัจ.
กิริณี : (อิต.) ช้างพัง, ช้างตัวเมีย, นางช้าง. กรี+อินี แปลง อ เป็น อิ.
กุสลกมฺมปติฏฐากรณกาล : (ปุ.) กาลเป็นที่ทำ ซึ่งที่พึ่งคือกรรมอันเป็นกุศล. เป็น วิเสสนปุพ. กัม. มี วิเสสนบุพ. กัม. อวกัม. และ ทุ. ตัป. เป็นท้อง.
คพฺภกรณ : นป. การตั้งครรภ์
คุฬกรณ : นป. การทำน้ำอ้อยงบ, โรงงานน้ำตาล
จกฺขุกรณ, - กรณี : ค. ซึ่งกระทำปัญญาจักษุ, ผู้ทำให้เกิดปัญญาจักษุ, ผู้ทำให้เกิดความเห็นชัดด้วยใจ
ญาณกรณ, - ณี : ค. อันทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, อันทำให้รู้แจ้ง
ฐานกรณ : (นปุ.) ที่ตั้งและวัตถุเป็นเครื่องทำ (ให้เกิดเสียงในการพูด).
ตนุกรณ : (นปุ.) การถาก, การทำให้บาง, การ ไส. ตนุปุพฺโพ, กรฺ กรเณ, ยุ.
ทฬฺหีกรณ : (นปุ.) การทำให้มั่น, การทำให้ มั่นคง, การทำการงานให้มั่น, การทำ การงานให้เต็มมือ.
ธญฺญกรณ : (นปุ.) ลานนวดข้าว, ลานข้าว. วิ. ธญฺญานิ กโรนฺติ มทฺทนุติ อสฺมินฺติ ธญฺญกรณํ.
นงฺคลกฏฺฐกรณ : นป. การไถนา
นิพฺพาณสจฺฉิกรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณ : (นปุ.) การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,การทำให้แจ้งพระนิพพาน,การทำพระนิพพานให้แจ้ง.
ปโยคกรณ : นป. การกระทำความเพียร, การกระทำความมุ่งมั่นบากบั่น, การประกอบกิจ
ปาตุกรณ : นป. การกระทำให้ปรากฏ, การทำให้เกิดขึ้น
พหิกรณ : นป. การกระทำไว้ในภายนอก
ภสฺมีกรณ : (วิ.) ทำให้เป็นเถ้า, เผา, ไหม้.
ภุกฺกรณ : นป. การเห่า, การหอน
สจฺฉิกรณ : นป. การทำให้แจ้ง
อโธมุขีกรณ : (นปุ.) การทำให้มีหน้าข้างล่าง, การคว่ำ, การคว่ำลง.
อนฺธกรณ : ค. บอด, ทำให้มืด, สับสน
อนุกรณ : (วิ.) ทำตาม, เอาอย่าง, เลียน(เอาอย่าง).
อนุวาทาธิกรณ : (นปุ.) อธิกรณ์อันเกิดจากการกล่าวหา, เรื่องที่ต้องระงับอักเกิดจากการกล่าวหา, อนุวาทาธิกรณ์(การโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ).
อสพฺภีกรณ : นป. การกระทำที่ต่ำช้าเลวทราม
อาปตฺตาธิกรณ : (นปุ.) เรื่องที่ต้องระงับอันเกิดจากการต้องอาบัติ, การต้องอาบัติ, การต้องอาบัติทั้งปวง, เรื่องของอาบัติ.
อาวีกรณ : (นปุ.) การทำให้แจ้ง.
เอกสวยากรณ : นป. การตอบปัญหาแง่เดียว
กุตฺติม : (วิ.) เกิดด้วยการทำ วิ. กรเณน นิพฺพตฺตํ กุตฺติมํ. กรณ+ตฺติม ปัจ. แปลง กรณ เป็น กุ รูปฯ ๖๔๕.
ทุกฺกต : (นปุ.) กรรมอัน...ทำชั่วแล้ว, การทำ ชั่ว, ฯลฯ. วิ. นินฺทิตํ กรณ มสฺส ทุกกตํ. คำแปลแรก ต ปัจ. กิริยากิตก์ คำแปล หลังๆ เป็น ต ปัจ. ลง ภาวะ.
กรณตฺถ : ป. อรรถหรือความหมายว่าเป็นเครื่องมือ, กรณอรรถ, อรรถที่ลงในตติยาวิภัตติ
การุก : (วิ.) ผู้ทำโดยปกติ วิ. กโรติ สีเลนาติ การุโก. ผู้มีปกติทำ วิ. กรณสีโล การุโก. ณุก ปัจ. กัจฯ ๕๓๖.