กิเลส : ป. กิเลส, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง
กิเลส เกฺลส : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง, ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต, ธรรม อันยังจิตให้เศร้าหมอง, ความเศร้าหมอง ความเปรอะเปื้อน (แห่งจิต), ความลำบาก, ความเบียดเบียน, ความกำจัด, ความทำลาย, ความเผา, ความแผดเผา, ความทุกข์, ภาวะที่เกิดขึ้นในใจ และทำใจให้เศร้า หมอง, มลทิน (ของใจ), วิ. กิลิสฺสนฺติ เอเตหิ สตฺตาหิ กิเลสา. กิลิสนํ วา กิเลโส. กิลิสฺ กิเลสนวิพาธนอุปตาเปสุ, อ. ศัพท์ หลัง แปลง อิ เป็น เอ. นัยของวิปัสสนา ปทีปนีฎีกา.
กิเลสพนฺธนาภาว : (ปุ.) ความไม่มีแห่งวัตถุ เป็นเครื่องผูกคือกิเลส, ความไม่มีแห่ง เครื่องผูกคือ กิเลส.
กิเลสกฺขย : ป. ความสิ้นแห่งกิเลส
กิเลสกาม : (ปุ.) กิเลสอันสัตว์พึงใคร่, กิเลสที่ สัตว์พึงใคร่, กิเลสให้สัตว์ใคร่, กิเลสเป็น เหตุใคร่.
กิเลสปฺปหาน : นป. การละกิเลส, การทำลายกิเลส
กิเลสปุญฺช : ป. กองกิเลส
กิเลสภูมิ : อิต. ภูมิแห่งกิเลสมี ๔ คือ
(๑) สังโยชน์ (๒) อนุสัย
(๓) ปริยุฏฐาน (๔) อุปาทาน
กิเลสวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) วนคือกิเลส, กิเลสวัฏ. กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์วนคือท่องเที่ยวหรือ เวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ เพราะเมื่อ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรมเมื่อทำ กรรมแล้วจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เมื่อเสวยผลของกรรมอยู่ กิเลสก็เกิดขึ้น อีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหัตต- มรรคจะตัดให้ขาดลง. ธรรมปริจเฉทที่ ๒.
กิเลสวตฺถุ : นป. กิเลสวัตุ, วัตถุเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งกิเลส
กิเลสวิปฺปยุตฺต : ค. ซึ่งปราศจากกิเลส
กิเลสวูปสมนนิพฺพานรติ : (อิต.) ความยินดี ในพระนิพพานอันเป็นเครื่องเข้าไประงับ ซึ่งกิเลส.
กิเลสสมฺปยุตฺต : ค. ที่ประกอบด้วยกิเลส
กิเลสาทิมลวิรหิต : (วิ.) ผู้เว้นแล้วจากมลทิน มีกิเลสเป็นต้น.
ชฎา : (อิต.) ความอยาก, ความปรารถนา, กิเลส, ตัณหา. วิ. เตสุ อารมฺมเณสุ อากุ- ลีภูตตฺตา ชฎา วิยาติ ชฏา.
นิกฺกิเลส : (วิ.) มีกิเลสออกแล้ว, ไม่มีกิเลส, ปราสจากกิเลส, ออกแล้วจากกิเลส.
รชฺชน : นป. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง, กิเลส
รณ : (ปุ.) การร้อง, เสียง, เสียงร้อง, การรบ, สงคราม, กิเลส, ความชั่ว, ความเสียหาย, บาป. รณฺ สทฺเท, อ.
อาสว : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไป ทั่ว ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไปใน ภพทั้ง๓๑ภพ, กิเลสเครื่องหมักดอง, กิเลส, อันตราย, อุปัททวะ, เหล้าอันบุคคลทำด้วย ดอกไม้, น้ำดอง, สุรา, เมรัย. ในที่ต่าง ๆ แปลว่า เมรัย เท่านั้น แต่ อภิฯ แปลว่า สุรา ด้วย. อาปุพฺโพ, สุ ปสเว, โณ.
อุปกฺกิเลส : ป. อุปกิเลส, กิเลสเครื่องเศร้าหมอง
อุปสนฺตราคาทิกิเลส : (วิ.) ผู้มีกิเลสมีราคะ เป็นต้น อันตนให้เข้าไปสงบแล้ว, ผู้มีกิเลส มีราคะเป็นต้น อันเข้าไปสงบแล้ว.
อุปธิ : (ปุ.) รูป, ร่าง, ร่างกาย, จักร, กิเลส เครื่องยังทุกข์ให้เข้าไปตั้งไว้, กิเลสเครื่อง เข้าไปทรง, กิเลสเครื่องทรงทุกข์ไว้, กิเลส ชื่ออุปธิ, กิเลศ, ความพัวพัน. อุปปุพฺโพ, ธา ธารเณ, อิ. ส. อุปธิ.
กลส : (ปุ.) ตุ่ม, ไห, ถ้วย, หม้อน้ำ, กลส กลศ ชื่อภาชนะ มีรูปเหมือนคนโทน้ำ มีฝาปิด และมีพวยเหมือนกาน้ำ สำหรับใส่น้ำเทพ- มนต์ ของพราหมณ์ วิ. เกน ลสตีติ กลโส. กปุพฺโพ ลสฺ กนฺติยํ, อ. เกน ลิสฺสตีติ วา กลโส. ลิสฺ สิเลสเน, อ, อิสฺสตฺตํ, กลียตีติ วา กลโส. กลฺ สงฺขฺยาเณ, อโส. ส. กลศ.
จิตฺตสงฺกิเลส : ป. ความเศร้าหมองแห่งจิต, จิตเศร้าหมอง
สงฺกิเลส : ป. การเศร้าหมอง
อาคนฺตุกอุปกฺกิเลส : ป. อุปกิเลสที่จรมา
อุปกิเลส อุปกฺกิเลส : (วิ.) เศร้าหมอง, หม่น หมอง, เปรอะเปื้อน.
คิหิสโยชน : นป. (กิเลส) เครื่องหน่วงเหนี่ยวของคฤหัสถ์, เครื่องผูกพันของคฤหัสถ์
จตุโรปธิ : (ปุ.) กิเลสเป็นเครื่องยังทุกข์ให้เข้า ไปตั้งไว้สี่, อุปธิสี่. อุปธิ ๔ คือ ขันธ์ กาม กิเลส และกรรม.
ชีวิตสีสี ชีวิตสทสีสี : (วิ.) ผู้มีกิเลสศรีษะสิ้น พร้อมด้วยชีวิต, ผู้มีกิเลสอันเป็นประธาน สิ้นไปพร้อมกับการสิ้นชีวิต, ผู้สิ้นกิเลส อันเป็นประธานพร้อมกับสิ้นชีวิต. กิเลส ที่เป็นประธานคืออวิชา. คำว่าสิ้นกิเลส พร้อมกับสิ้นชีวิตนั้นมิได้หมายความว่า เกิดพร้อมกันในวิถีจิตเดียวกัน อรหัตต – มัคคจิตเกิดประหาณ อวิชชาแล้ว ชีวิติน- ทรีย์ เจตสิกละรูปจึงดับ แม้ว่าจะห่างกัน หลายวิถีจิตก็จริง แต่เมื่อว่าโดยเวลาแล้ว ความดับกิเลสและสิ้นชีวิตก็กล่าวได้ว่าดับ ลงพร้อมกัน เพราะวิถีจิตเป็นไปเร็วมาก.
ตณฺหามานทิฏฺฐิอิญฺชิต : (วิ.) (กิเลสชาต กิเลส ชาติ) อันบุคคลให้หวั่นไหวคือตัณหาและ มานะ และทิฏฐิ.
ตป : (ปุ.) ความเพียร เครื่องเผากิเลส, คุณ ธรรมอันยังกิเลสให้ร้อน, คุณธรรมอันยัง กิเลสให้เร่าร้อน (แห้ง), ความร้อน, ความสำรวม, ความเพียร, ธรรม, วัตร, พรต (ธรรมมีศีลเป็นต้น ความบำเพ็ญพรตเผา กิเลส), ศีล, ตบะ. วิ. กิเลเส ตาเปตีติ ตโป. ตปฺ ทาเห สนฺตาเป วา, อ. ส. ตปสฺ.
ธุ (ธู) นน : นป. การสบัด, การหวั่นไหว, การกำจัด, การทำลายละ (กิเลส)
เมธา : (อิต.) ความรู้, ความฉลาด, ความฉลาดรอบคอบ, ปัญญา, ปัญญาเครื่องกำจัดกิเลส, ปรีชา. วิ. วิเลเสเมธตีติเมธา (กำจัด กิเลส). เมธฺ หึสายํ, อ. เมธาติ สิริยาติ วา เมธา (ไปกันด้วยความดี). เมธฺ สงฺคเม. สุขุมมฺปิ อตฺถํ ธมฺมญฺจ ขิปฺป เมว เมตีติ เมธา (ถือเอาผลและเหตุอันสุขุมพลัน). เม อาทาเน, โธ.
กมฺมกิเลส : ป. กรรมกิเลส, กรรมเป็นเหตุให้เศร้าหมอง
กายคนฺถ : (ปุ.) กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทางกาย.
กายคนฺธ : ป. กิเลสเครื่องร้อยรัดกาย; กลิ่นเกิดจากกาย, เครื่องหมอสำหรับลูบไล้ร่างกาย
กิญฺจน : (นปุ.) กิเลสชาตเครื่องกังวล, ความกังวล, ความห่วงใย, กิเลสชาตผู้ย่ำยีสัตว์ วิ. กิญฺเจติ สตฺเต มทฺทตีติ กิญฺจนํ. กิจิ มทฺทเน, ยุ.
กิเลสมาร : (ปุ.) มารคือกิเลส, กิเลสมาร. กิเลสมาร เป็นมารที่ ๒ ในมาร ๕ และ เป็นมารที่สำคัญที่สุด.
เกวลี : ค. ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง (พระอรหันต์)
คหฏฺฐ : (ปุ.) คนผู้ดำรงอยู่ในเรือน, คนครอง เรือน, คหัฐ คฤหัสถ์ (คนครองเรือน ไม่ ใช่นักบวช). วิ. เคเห ติฏฺฐตีติ คหฏฺโฐ คนผู้ดำรงอยู่ในป่าคือกิเลส, คนผู้ดำรงอยู่ ในเรือนด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ในกามคุณห้า วิ. เคเห ปญฺจกามคุเณ ราควเสน ติฏฺฐตีติ คหฏฺโฐ. คหปุพฺโพ ฐา คตินิวุตฺติยํ, กฺวิ.
ฆร : (นปุ.) กล่อง, เรือน. วิ. ฆรติ กิเลสวสฺสํ เอตฺถาติ ฆรํ. ฆรฺ เสจเน, โณ. คยฺหตีติ วา ฆรํ. คหฺ คหเณ. โณ, คหสฺส ฆราเทโส. รูปฯ ๕๖๗.
จิตฺตคนฺถ : (ปุ.) กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทางจิต.
จีวรปวิเวก : นป. ความสงัดจากกิเลสเพราะจีวร
เจโตวิมุตฺติ : (อิต.) ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ. ความหลุดพ้นที่มีสมาธิเป็น ปทัฏฐาน คือได้บรรลุฌานมาก่อนแล้วจึง บำเพ็ญวิปัสสนาต่อจนละกิเลสาสวะได้ เรียกว่า เจโตวิมุติ. ลำพังฌาน ไม่สามารถ ละกิเลสาสวะได้เด็ดขาด เป็นแต่สะกดไว้ อย่าเข้าใจผิด.
ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
ตทงฺคปหาน : (นปุ.) การละด้วยองค์นั้น ๆ วิ. เตน เตน องฺเคน ปหานํ ตทงฺคปหานํ. การละกิเลสด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมี ปฐมฌานเป็นต้น วิ. ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน ปหานํ ตทงฺคปหานํ. การละ กิเลสด้วยสามารถแห่งองค์นั้น ๆ ของฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น. วิ. ปฐมฌานาทิสฺส ตสฺส ตสฺส องฺคสฺส วเสน กิเลสสฺส ปหานํ. การละชั่วคราว.
ตปสฺสี : ๑. ป. นักพรต, ฤษี;
๒. ค. ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้ทรมานตน, ผู้เผากิเลส
ตโปวน : (นปุ.) ป่าเป็นที่ทำซึ่งความเพียร เป็นเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน, ป่าเป็นที่ บำเพ็ญพรต, วนะเป็นที่อยู่ของคนมีตบะ.
ตาปส : (ปุ.) บรรพชิตผู้มีธรรมเครื่องยัง กิเลสให้เร่าร้อน ( ย่างกิเลสให้แห้ง ). ตปฺ สนฺตาเป, โณ. ลง สฺ และ อ อาคม หรือ ลง สกฺ ปัจ. ทีฆะ ลบ กฺ ส. ตาปส.