กาย : (ปุ.) การซื้อ. กี ทพฺพวินิมเย, โณ.
กายคต : ค. สิ่งที่ไปในกาย, สิ่งที่อยู่ในกาย
กายคตาสติ : (อิต.) สติอันไปแล้วในกาย, สติอันไปในกาย, กายคตาสติ คือการใช้ สติควบคุมจิตพิจารณาร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น ให้เห็นว่าไม่งาม.
กายคนฺถ : (ปุ.) กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทางกาย.
กายคนฺธ : ป. กิเลสเครื่องร้อยรัดกาย; กลิ่นเกิดจากกาย, เครื่องหมอสำหรับลูบไล้ร่างกาย
กายคุตฺต : ค. ผู้มีร่างกายอันคุ้มครองแล้ว, ผู้รักษากายได้แล้ว, ผู้มีกายสงบ
กายคุตฺติ : อิต. การคุ้มครองร่างกาย, ความสงบแห่งกาย
กายจลน : (นปุ.) การยังกายให้ไหว, การกระดิกกาย, การไหวกาย.
กายจลนสีสุกฺขิปนภมุกวิการาทิ : (วิ.) มีอัน ไหวแห่งกายและอันยกขึ้นซึ่งศรีษะและอัน กระทำต่างแห่งคิ้ว (การยักคิ้ว) เป็นต้น, มีอันกระดิกซึ่งกาย และอันสั่นซึ่งศรีษะ และอันยักซึ่งคิ้วเป็นต้น. เป็น ฉ. ตุล. มี ฉ. ตัป. ทุ. ตัป. และ อ. ทวัน. เป็นท้อง.
กายฑาห : ป. ความเร่าร้อนแห่งกาย, ความไข้
กายตปน : นป. การยังกายให้เร่าร้อน, การย่างตน
กายถาม : ป. กำลังกาย
กายทณฺฑาทิวิรหิต : (วิ.) ผู้เว้นแล้วจากอาชญา มีอาชญาทางกายเป็นต้น.
กายทรถ : ป. ความกระวนกระวายแห่งร่างกาย, ความทุกข์กาย
กายทฺวาร : (นปุ.) ทางแห่งกาย, ช่องแห่งกาย ช่องคือกาย, ทวารคือกาย, ทางกาย, กายทวาร.
กายทุกฺข : นป. ทุกข์ทางกาย, ความลำบากกาย
กายทุจฺจริต : (นปุ.) ความประพฤติชั่วอันสัตว์ ทำแล้วด้วยกาย, ความประพฤติชั่วอัน บุคคลทำแล้วด้วยกาย. วิ. กาเยน กตํ. ทุจฺจริตํ กายทุจฺจริตํ. ความประพฤติชั่ว ด้วยกาย, ความประพฤติชั่วทางกาย. วิ. กาเยน ทุจฺจริตํ กายทุจฺจริตํ.
กายทุจฺจริตาทิปเวสนนิวารณตฺถาจาร : (วิ.) ผู้มีอาจาระอันเกียดกันเสีย ซึ่งความเข้าไปแห่งความประพฤติชั่วมีความประพฤติชั่ว ด้วยกายเป็นต้นเป็นประโยชน์. เป็น ฉ. ตุล. มี ต. ตัป. ฉ. ตุล, ฉ. ตัป. ทุ. ตัป. และ ฉ. ตุล. เป็นท้อง.
กายทุจฺจริตาทิอกุสลกมฺมาภิรต : (วิ.) ผู้ยินดี ยิ่งแล้วด้วยกรรมมิใช่กุศลมีความประพฤติ ชั่วด้วยกาย เป็นต้น.
กายทุฏฐุลฺล : นป. ความประพฤติชั่วหยาบทางกาย
กายธาตุ : อิต. กายธาตุ, หมวดกาย, ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายคือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ
กายบริหาร : (ปุ.) การรักษาร่างกาย, การดูแลร่างกาย. คำกายบริหาร ไทยใช้ในความหมายว่า การบำรุงร่างกาย การออกกำลัง เพื่อรักษาร่างกาย.
กายปโกป, - ยปฺปโกป : ป. ความกำเริบทางกาย, ความประพฤติผิดทางกาย
กายปจารก, - ยปฺปจารก : นป. การยังกายให้ไหว, การคะนองกาย
กายปฏิพทฺธ : ค. ที่เนื่องด้วยกาย, เกี่ยวข้องด้วยกาย
กายปโยค : ก. การประกอบทางกาย, ความพยายามทางกาย
กายประสาท, - ยปฺปสาท : ป. กายประสาท, ความรู้สึกทางกาย
กายปริยนฺติก : ค. (เวทนา) ซึ่งมีกายเป็นที่สุด
กายปริหาริก : ค. ผู้บริหารกาย, ผู้รักษากาย
กายปาคพฺภินิย : นป. ความคะนองกาย, ความไม่สุภาพ
กายปาคุญฺญตา : อิต. ความคล่องแคล่วของกาย, ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา, สัญญาและสังขาร
กายปาคุญฺญ ตา : (อิต.) ความคล่องแคล่วแห่งกาย, ความแคล่วคล่องแห่งกาย. ตา ปัจ. สกัด. กายปุญฺฉน
กายผนฺทิต : นป. ความดิ้นรนทางกาย
กายพทฺธ : ค. อันผูกพันทางกาย, ซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยกาย
กายพนฺธน : (นปุ.) ผ้าสำหรับผูกซึ่งกาย, ผ้า รัดประคดเอว, รัดประคดเอว, ประคดเอว.
กายพล : นป. กำลังกาย, พลังกาย
กายภาวน : (นปุ.) การอบรมด้วยกาย, การอบรมทางกาย.
กายภาวนา : อิต. การอบรมกาย, การฝึกหัดกาย
กายมุนิ : ป. นักพรต, ผู้ทรมานกาย
กายโมเนยฺย : นป. ความเป็นปราชญ์ด้วยการทรมานกาย; ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความเป็นผู้นิ่งได้ด้วยการฝึกหัดกาย
กายรถ : ป. รถคือกาย, รถมีลักษณะดุจร่างกาย
กายลหุตา : (อิต.) ความเบาแห่งกาย. ตา ปัจ. สกัด เพื่อให้ศัพท์คุณเป็นนามนาม.
กายวาจาทิ : (วิ.) มีกายกรรมและวจีกรรม เป็นต้น. ลบ กมฺม หลัง กาย, วาจา ออก. มีกายทวาร และวจีทวาร เป็นต้น. ลบ ทฺวาร ออก.
กายวิการ : ป. กายวิการ, ความพิการทางร่างกาย
กายวิชมฺภน : นป. ความว่องไวของร่างกาย, การบิดกาย
กายวิญฺญตฺติ : อิต. กิริยาให้รู้ชัดด้วยการไหวกาย, การแสดงออกทางกาย, การบอกกล่าว, การชี้แจง
กายวิญฺญาณ : นป. ความรู้สึกในกายสัมผัส, ความรู้แจ้งอารมณ์ด้วยกายคืออาการที่รู้ว่าสัมผัส
กายวิญฺเญยฺย : ค. ซึ่งควรรู้ชัดด้วยกาย, ซึ่งสัมผัสทางกาย
กายวิปฺผนฺทน : นป. ความดิ้นรนทางกาย, ความไหวกาย