กุกฺกุธ : (ปุ.) กระท่อมหมู. เพี้ยนเป็น กระทุ่ม หมู หรือ กระทุ่มขี้หมู บ้าง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง, ไม้กุ่ม.
ตาราปถ : (ปุ.) ทางแห่งดวงดาว, ทางดาว, กลาง หาว, อากาศ, ท้องฟ้า. วิ. ตารา วุจฺจนฺติ นกฺขตฺตาทโย, ตาสํ ปโถติ ตาราปโถ.
นภากาส : (ปุ.) ฟ้า, ฟากฟ้า, ท้องฟ้า, กลาง หาว, นภากาส, นภากาศ, ส. นภากาศ
มชฺฌฎฐ : (วิ.) ผู้อยู่ในท่าม กลาง. ผู้ดำรงอยู่ในท่าม กลาง. ส. มธฺยสฺถ.
อติถิ อติถี : (ปุ.) คนผู้ไม่มีดิถี (แขก), แขก (คนผู้มาหา). วิ. นตฺถิ ติถิ อสฺสาติ อติถิ. อติถี วา ศัพท์ต้น ณ ปัจ. ศัพท์หลัง อี ปัจ คนผู้ไม่มีดิถีนั้นหมายความว่า มาหาไม่ เลือกเวลา จะเป็นเช้า สาย บ่าย เย็น กลาง คืน ไม่เลือกทั้งสิ้น.
กจฺฉพนฺธน : (นปุ.) ายกระเบน, หางกระเบน. โจงกระเบน เป็นชื่อชายผ้าที่ม้วนลอดขา แล้วเหน็บไว้ข้างหลัง การนุ่งผ้าแบบนี้เป็น ผืนผ้าธรรมดา กว้าง ๑ หลา ยาว ๒.๕๐ เมตร สำหรับคนเล็กเตี้ยถ้าเป็นคนสูงใหญ่ กว้าง ๑ x ๓ เมตร เอาผืนผ้าโอบรอบตัว จับชายผ้าให้เสมอกัน แล้วห้อยลง เอาหัว เข่าหนีบไว้มิให้ผ้าเลื่อน มือรีดผ้ามาถึงเอว รวบริมผ้าทำเป็นจุกไขว้กันแล้วเหน็บไว้ที่ สะดือ เรียกว่าพกแล้วจับชายผ้าที่หนีบไว้ ขึ้นมาม้วนขวา ค่อย ๆ ม้วน ม้วนไปรีดไป ให้แน่น พอผืนผ้ากระชัยตัวดีแล้ว ดึงลอด ขา โดยยกขาขวา หรือขาซ้ายขึ้นเล็กน้อย ดึงชายสุดที่ม้วนไว้ขึ้นเหน็บไว้ที่กลางหลัง เรียกผ้าที่ม้วนไปเหน็บไว้ อย่างนี้ว่า ชาย กระเบน หรือหางกระเบน.
กจฺฉา : (อิต.) เชือกสำหรับผูกท่ามกลางตัวช้าง, สายรัดกลางตัวช้าง, สายรัดท้องช้าง, ปลายแขน, ข้อมือ, ชายกระเบน, หางกระ เบน, สายรัดเอว, รักแร้, หญ้า, เครือเถา, ที่ชุ่มน้ำ.
กญฺจิย กญฺชิย : (นปุ.) น้ำส้ม, น้ำข้าว, ข้าว ปลายเกรียน (ปลายข้าวขนาดเล็ก).
กาณาชิก กาณาชก : (นปุ.) ข้าวปลายเกรียน คือปลายข้าวขนาดเล็ก, ปลายข้าว.
กาทมฺพ : (ปุ.) นกกาน้ำ ตัวดำคล้ายนกกาแต่ คอยาวกว่า หากินในน้ำ, นกทิ้งทูดเท้งทูด ก็เรียก เป็นจำพวกนกทืดทือ, นกเค้าโมง เป็นนกหากินกลางคืน, นกกะลิง ปากดำตัว เขียว คล้ายนกแก้ว. กทมฺพโยคา กาทมฺโพ.
กาลจีวร : (นปุ.) ผ้าเกิดในกาล, กาลจีวร คือ ผ้าที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในกาลที่ทรงอนุญาต ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลาง เดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินเลื่อนไปถึง กลางเดือน ๔.
กุตูหล กุตุหฬ โกตูหล โกตูหฬ : (นปุ.) การตื่น, การตื่นข่าว, ความแตกตื่น, ความเอกเกริก. วิ. กุ ปาปํ ตุลยตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุลฺ อุมฺมาเณ, อ. หฺ อาคมกลาง ธาตุ. เวสฯ วิ. กุ ปาหํ โตชตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุชฺ หึสายํ, อโล แปลง ช เป็น ห. เป็น กุตุหล กุโตหล โดยไม่ทีฆะ บ้าง.
กุมฺภการิกา : อิต. ตุ่มดินขนาดใหญ่ (ที่คนสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้)
กุมุทิกา : (อิต.) แตงหนู, รกฟ้า (ไม้ยืนต้นขนาด ใหญ่). วิ. กุจฺฉิเตน โมทตีติ กุมุทิกา.
โกลมตฺตี : ค. มีขนาดเท่าผลกระเบา, มีขนาดเท่าผลพุทรา
ขคฺค : (ปุ.) กระบี่, ดาบ, พระขรรค์ ชื่อศัตราวุธ ชนิดหนึ่ง มีคมสองข้าง กลางของความกว้างนูน ปลายแหลม, พระขรรค์ชัยศรี. คำชัยศรีเป็นคำใช้ประกอบชื่อของสิ่งต่างๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล. ขคฺคฺ ขณฺฑเภเท, อ. ส. ขฑฺคฺ.
ขุทฺทา : (อิต.) แมลงวัน, ผึ้ง, ผึ้ง ขนาดเล็ก. ขุทฺ ปิปาสายํ, โท.
คคน : (นปุ.) ที่เป็นที่ไปแห่งนก, กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า. วิ. คจฺฉานฺเตตฺถ วิหงฺคมาทโยติ คคนํ. คมฺ คติยํ, ยุ, มสฺส โค. เมฆ พระอาทิตย์? เป็น คคณ บ้าง.
คพฺภ : (ปุ.) ท้อง ชื่อส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไปจนถึงบริเวณต้นขา มี สะดืออยู่กลางมีกระเพาะและใส้อยู่ภายใน เรียกได้ทั้งของผู้หญิงและของผู้ชาย, ครรภ์ เรียกเฉพาะของผู้หญิง. คุ สทฺเท, อโภ, อุสฺส อตฺตํ, ทฺวิตฺตํ (แปลง อุ เป็น อ แปลง ภ เป็น พฺภ). ครฺ วา เสจเน, อโภ. แปลง รฺ เป็น พฺ หรือตั้ง คพฺภฺ ธารเณ, อ.
คีเวยฺยก : (นปุ.) คีเวยยกะ ชื่อกระทงเล้กของ จีวร ที่อยู่กลางผืนของจีวรด้านบน เวลา ห่มคลุมจะอยู่ที่คอ.
โค : (ปุ.) โคผู้ วิ. คจฺฉตีติ โค. คมฺ คติยํ, โร. รปัจ. มี อำนาจให้ลบที่สุดธาตุแล้วลบตัวเอง. โค แปลว่าวัว ไม่นิยมตัวผู้หรือตัวเมีย มีแบบ แจกวิภัติโดยเฉพาะ ดูวจีวิภาค ภาคที่ ๒ เลขที่ ๗๑. บางคัมภีร์ แปลว่า แม่โคก็มี แต่ส่วนมากใช้เป็นคำกลาง หมายเอาทั้ง โคผู้และโคเมีย ถ้าหมายเอาโคผู้โดยเฉพาะ ใช้ศัพท์โคณ เมื่อหมายเอาตัวเมียใช้ศัพท์ คาวี. โคศัพท์ ยังแปลได้อีก คือ แปลว่า น้ำ อุ. โคสีตจนฺทน, สวรรค์ อุ. ธมฺโม- ปจิเตน คาวํ ปยติ. คนย่อมไปสวรรค์ด้วย ธรรมที่สั่งสมไว้แล้ว. แสงสว่าง รัศมี อุ. คาโว วิคฺคจฺฉนฺติ เทหโต. รัศมีท. ย่อมซ่านออกจากกาย, เพชร อุ. คาเวน ปริชฺเฌยฺย มณิโก. ช่างแก้วเจียระไนด้วย เพชร, ลูกศร อุ. ควํ ฉินฺทนฺติ ตจฺฉกา. ช่างถากท. ย่อมตัดลูกศร, ดวงจันทร์ อุ. คาวํ โอโลเกสิ จกฺขุนา. คนมองดวงจันทร์ ด้วยจักษุ, ตา อุ. คาเวน จนฺทํ อิกฺขติ. คนมองดวงจันทร์ด้วยตา, คำพูด ถ้อยคำ อุ. คาวํ ภาสนฺติ เต ชนา. ชน.ท. เหล่านั้น พากันพูดถ้อยคำ, พื้นดิน อุ. คาเว ฐิโต โอนมิ สาขํ. คนยืนที่พื้นดินโน้มกิ่งไม้, อินทรีย์ อุ. โคจรํ ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง อินทรีย์, พระอาทิตย์ อุ. โค สุริโย.
ฆานายตน : นป. ฆานายตนะ, ฆานประสาท, สื่อกลางที่จมูกรับรู้กลิ่น
จนฺทกนฺตา : อิต. กลางคืน
จนฺทคาห จนฺทคฺคาห : (ปุ.) การจับซึ่งดวง จันทร์, การยึดดวงจันทร์, จันทคาธ, จันทรคาธ, จันทคราส, จันทรคราส (ราหู จับจันทร์ ราหูอมจันทร์ วิทยาศาสตร์ว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ ในแนวเดียวกัน โลกอยู่ระหว่างกลางทำ ให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์).
จีวรกาล : (ปุ.) คราวเป็นที่ถวายซึ่งจีวร, กาล เป็นที่ถวายจีวรของทายกทายิกา, คราว ที่เป็นฤดูถวายจีวร, จีวรกาล.จีวรกาล(ระยะ เวลาถวายผ้า) มีกำหนดตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าภิกษุได้ กรานกฐิน ก็เลื่อนไปถึงกลางเดือน ๔ และ เป็นเวลาที่ภิกษุเปลี่ยนไตรจีวรด้วย.
จูฬนิก : ค. มีขนาดเล็ก, เล็ก, น้อย
ตจฺฉนี : (อิต.) ขวาน, ขวานขนาดเล็ก, ผึ่ง, พร้า (มีดขนาดใหญ่) มีด. ตจฺฉน อี อิต. อภิฯ.
ตาล : (ปุ.) ตาล, ต้นตาล, โตนด ต้นโตนด (ต้นตาล). สมอพิเภก, กำมะถันเหลือง, ต้นปาล์ม, ตาละ ชื่อผักชนิดหนึ่ง, ดาล ชื่อกลอนประตู ซึ่งทำด้วยไม้ สำหรับขัด บานประตูที่มีไม้บากเท่าลูกตาล ติดไว้กึ่ง กลางบานประตูด้านในทั้งสองข้าง, ลูกดาล คือเหล็กสำหรับไขบานประตู, กุญแจ, สลัก, กลอน, เข็มขัด, หมุด, ฉิ่ง, ฉาบ, ดินหอม, ง้วนดิน, ที่นั่งของทุรคา. ตลฺ ปติฏฐายํ, โณ. อภิฯ ลง อ ปัจ. ส. ตาล.
ติยามา : (อิต.) กลางคืน วิ. ตโย ยามา เอตฺถาติ ติยามา.
ตีรณ ตีรน : (วิ.) ตรวจตรา,ตริตรอง,เทียบ ทาน ( หาเหตุผล). หาเหตุผล, สอบสวน, พิจาร, พิจารณา,ตัดสิน, วัด ( สอบขนาด หรือปริมาณของสิ่งนั้นๆ). ตีรฺ กมฺมสาม ตฺถิเย, ยุ.
ตุงฺคี : (ปุ.) เงื้อม งะเงื้อม ( สิ่งที่สูงง้ำออกมา), เชิงผา, กลางคืน, ขมิ้น, สิ่งที่แฉลบ เหมือนกบไสไม้ ? ตุชฺ หึสาสหเณสุ, อี.
ตุลิย : (ปุ.) นกเค้าแมว ชื่อนกที่หากินกลาง คืนมีหน้าคล้ายแมว, บ่าง ชื่อสัตว์สี่เท้า ชนิดหนึ่ง ตัวคล้ายกระรอก โตเกือบเท่า ค่าง. ตุลฺ อุมฺมาเณ, อิโย. เป็น ตุลฺลิย บ้าง.
ทห : (ปุ.) สระ (ที่ขังน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป้นเอง หรือคนขุด), บึง. วิ. อุทกํ ทธาตีติ ทโห. ทหฺ ธารเณ, อ. ทธฺ รเณวา, อ, ธสฺสโห.
ทินกร ทินปติ ทินมณิ : (ปุ.) ตะวัน, ดวง ตะวัน, ดวงอาทิตย์, พระอาทิตย์. วิ. ทินํ กโรตีติ ทินกโร. ทิน+กรฺ+อ ปัจ. ทินานํ ปติ ทินปติ. ทิเน มณิ ทินมณิ (ส่องสว่างในกลางวัน). ส. ทินมณิ.
ทิวกาล ทิวากาล : (ปุ.) เวลากลางวัน.
ทิวส : (ปุ. นปุ.) วัน,กลางวัน.วิ.ทิพฺพนฺติอสฺมินติทิวโส.ทิวุกีฬายํ,โส.ส.ทิวสทิวน.
ทิวสภาค : ป. ส่วนแห่งวัน, เวลากลางวัน
ทิวา : (อัพ. นิบาต) วัน, กลางวัน, ในกลางวัน. อภิฯ ลงใน ปฐมาทุติยา และ สัตตมี. รูปฯ ลงใน ปฐมา ทุติยา และกาลสัตตมี.
ทิวาฎฺฐาน : (นปุ.) ที่เป็นที่อยู่ในเวลากลางวัน.
ทิวาฏฺฐาน : นป. ที่พักในเวลากลางวัน
ทิวาวิหาร : ป. การอยู่สำราญในเวลากลางวัน
ทิวาสญฺญา : อิต. ทิวาสัญญา, ความสำคัญหมายว่ากลางวัน
ทิวาเสยฺยา : อิต. การนอนกลางวัน
ทีฆสุรต : (ปุ.) สัตว์ผู้ยินดีในกาลหลับนานใน เวลากลางวัน, สุนัข, หมา. ทิว+ทีฆ+สุป+รต ลบ ทิว และ ป.
โทส : อ. ยามค่ำ, ตอนกลางคืน, ในเวลากลางคืน
โทโส : (อัพ. นิบาต) ราตรี (กลางคืน), ค่ำ (เวลามืดตอนต้นของกลางคืน), หัวค่ำ.
ธมกรก : (ปุ.) คนที (หม้อน้ำ หม้อมีหู เต้า น้ำ, ธัมกรก, ธมกรก (ธะมะกะหรก) ชื่อบริขารของ ๑ ใน ๘ อย่าง ของภิกษุ เป็นกระบอกก้นกลวง ผูกผ้าไว้ข้างบนปิดสนิท เจาะรูตรงกลางใส่หลอดยาวประมาณ ๔ นิ้ว มีหูสองข้างหลอด สำหรับใช้กรอง น้ำ เป็น ธมการก ก็มี.
นตฺต : ๑. นป. กลางคืน;
๒. นป. การฟ้อนรำ, การเต้นรำ, การร่ายรำ, การแสดง
นทีกสฺสป : (ปุ.) นทีกัสสปะ นทีกัสสป ชื่อ ชฏิลคนกลางของชฏิลสามพี่น้อง ครั้งพุทธกาล.
นภ : (นปุ.) หาว (ที่แจ้งท้องฟ้า), กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า, โพยม, โพยมัน, โพยมาน (ท้องฟ้า), นภา. วิ. น ภวติ เอตฺถกิญฺจิ ปิ วตฺถูติ นภํ. นตฺถิ ภูมิ เอตฺถาติ วา นภํ. น ภายนฺติ ปกขิโน เอตฺถาติ วา นภํ. เป็น ปุ. ก็มี. ส.นภ, โวยมนฺ.