วิทฺเทส : ป. ความโกรธแค้น
โทส : (วิ.) หมดความแช่มชื่น, ไม่แช่มชื่น, ไม่ชอบ, ไม่ชอบใจ, ไม่พอใจ, ชัง, โกรธ, โกรธขึ้ง, ขึ้งเคียด, เคือง, ฉุนเฉียว, ประทุษร้าย, เป็นเครื่องประทุษร้าย. ทุสฺ อปฺปีติโทสเนสุ, โณ.
โกธปญฺญาณ : (วิ.) มีความโกรธปรากฏ, มีความแค้นเคือง, มีความมุทะลุ.
โกธุปายาส : ป. การประสบกับความโกรธแค้น, ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธ, ความคับอกคับใจ
กุชฺฌน : (นปุ.) ความโกรธ. กุธฺธาตุ ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ย ปัจ. นามกิตก์ แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ ยุ เป็น อน.
กุชฺฌนา : (อิต.) ความโกรธ. กุธฺธาตุ ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ย ปัจ. นามกิตก์ แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ ยุ เป็น อน.
กุทฺธ : (ปุ.) ความโกรธ, ความเคือง. กุธฺ โกเป, โต.
กุปฺปน : นป. ความโกรธ, ความเคือง, ความกำเริบ, ความสะเทือน
โกธ : (ปุ.) ความกำเริบ, ความเคือง, ความโกรธ, ความโกรธขึ้ง, ความขึ้งเคียด, ความดุร้าย, ความโหดเหี้ยม, ความจำนงภัย. วิ. กุชฺฌนํ โกโธ. คนผู้โกรธ, คนโกรธ. กุชฺฌตีติ โกโธ. กุธฺ โกเป, โณ.
โกธครุ : ค. ผู้หนักในความโกรธ, ผู้มักโกรธ
โกธปญฺญาณ, ญาน : ค. ผู้มีความโกรธเป็นเครื่องปรากฏ, ผู้โกรธง่าย
โกธภกฺข : ค. (ยักษ์) มีความโกรธเป็นภักษา (ธรรมดายักษ์ยิ่งโกรธก็ยิ่งมีวรรณะเอิบอิ่มขึ้นดุจได้กินอาหาร)
โกธวินย : ป. การบรรเทาความโกรธ, การกำจัดความโกรธ
โกธสามนฺต : (วิ.) ใกล้ต่อความโกรธ, ฯลฯ.
โกธาภิถู : (วิ.) ผู้ครอบงำความโกรธ. เป็นฝ่ายดี. ผู้อันความโกรธครอบงำ. เป็นฝ่ายชั่ว.
โกธาภิภูต : (วิ.) ผู้ครอบงำแล้วซึ่งความโกรธ, ผู้อันความโกรธครอบงำแล้ว, ผู้ขี้โกรธ.
โกปนฺตร : ค. ผู้ตกอยู่ในอำนาจความโกรธ
โกปเนยฺย : ค. เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
ฏก ฏงฺก : (ปุ.) สิ่ว, เหล็กสกัดสิลา, เครื่องมือ ทำลายหิน, เครื่องมือช่างทำหิน, เครื่อง มือขุดดิน, ขวาน, ขวานเล็กๆ, ดาบ. ฏํกฺ วิทารเณ, อ. แปลง ก เป็น ค เป็น ฏงฺค บ้าง. แปลว่า ความโกรธบ้าง.
ฐียติ : ก. ดื้อดึง, โกรธแค้น
ทุชฺชีว : (ปุ. นปุ.) ความเป็นอยู่ยาก,ความเป็นอยู่ลำบาก,ชีวิตยากแค้น.
ทุชฺชีวิต : (นปุ.) ความเป็นอยู่ยาก,ความเป็นอยู่ลำบาก,ชีวิตยากแค้น.
ทุสฺสนีย : ค. ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง, ซึ่งน่าโกรธเคือง
ทุสฺสิตตฺต : นป. ความที่จิตถูกโทษประทุษร้าย, ความโกรธเคือง
ธูม : (ปุ.) ความโกรธ, ควัน, ควันไฟ, ความตรึก, กามคุณ ๕, ธรรมเทศนา. ธูปฺ กมฺปนสนฺตาเปสุ, โม. กัจฯ และรูปฯ ลง มนฺ ปัจ. ลบ นฺ. ส. ธูม.
นาฎฺยรส : (ปุ.) นาฏยรส. นาฏยรสมี ๙ คือ ๑. สิงฺคาโร ความรัก ๒.กรุโณ ความเอ็นดู ๓. วิโร ความกล้าหาญ ๔. อพฺภูโต ความอัศจรรย์ ๕. หสฺโส ความร่าเริง ๖. ภยานโก ความกลัว ๗. สนฺโต ความละเอียด ความสงบ ๘. วิภจฺฉํ เห็นแจ้ง และ ๙. รุทฺทํ ความโกรธ.
นาฏยรส : ป. รสแห่งนาฏยะมี ๙ อย่างคือ
(๑) สิงฺคาร ความรัก
(๒) กรุณา ความเอ็นดู
(๓) วีร ความพากเพียรอาจหาญ
(๔) อพฺภูต ความอัศจรรย์
(๕) หสฺส ความร่าเริง
(๖) ภย ความกลัว
(๗) สนฺต ความสงบ
(๘) สิภจฺฉ ความเห็นแจ้ง
(๙) รุทฺธ ความโกรธ
นิกฺโกธ : ค. ผู้ไม่มีความโกรธ
ปโกป : ป. ความโกรธเคือง, ความเดือดพล่าน, ความยุ่งยาก
ปฏิฆ : ป., นป. ปฏิฆะ, ความขัดเคือง, ความขึ้งเคียด, ความขัดใจ, ความกระทบใจ, ความโกรธ
ปฏิฆาต : ป. การป้องกัน, การกำจัด; ความขัดเคือง, ความคับแค้น, ความไม่พอใจ
ปฏิเสนิกโรติ : ก. กระทำความเป็นข้าศึก, ตั้งต้นเป็นศัตรู, แก้แค้น
ปติฏฺฐิยติ, ปติฏฺฐียติ : ก. ดื้อดึงขึ้งเคียด, โกรธแค้น, หมายขวัญ
ปริโกปิต : กิต. โกรธแล้ว, กำเริบแล้ว, แค้นเคืองแล้ว
ปริโกเปติ : ก. โกรธ, กำเริบ, แค้นเคือง
ผ : (ปุ.) ลม, การบูชา, การเซ่นสรวง, ความโกรธ.
พฺยสน : (นปุ.) ทุกข์เครื่องยังสุขให้พินาศ. วิ. วินฏฺฐ สุขํ อสติ เขเปตีติ พฺยสนํ (ทุกข์). ความฉิบหายอันส่ายเสียซึ่งความเจริญให้พิ นาศ. วิ. วินฏฺฐ วุทฺธึ อสติ เขเปตีติ พฺยสนํ (นสฺสนํ). โทษเกิดจากกาม (กามชโทส), โทษเกิดจากความโกรธ (โกปชโทส), ความทุกข์, ทุกข์, ความวิบัติ, ความฉิบหาย, ความวอดวาย, ความพินาศ. วิ. วิรูป มสติ อเนนาติ วฺยสนํ พฺยสนํ วา. วิสิฏฺฐ วา อสติ เขเปตีติ วิยสนํ พฺยสนํ วา.
พฺยาปาท : (ปุ.) ความจำนงภัย, ความขึ้งเครียด, ความป้องร้าย, ความผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ความพยาบาท. วิ. วฺยาปชฺชติ วินสฺสติ จิตฺต เมเตนาติ วฺยาปาโท พฺยาปาโท วา. วิ อาปุพฺโพ, ปทฺ คติมฺหิ, อ. เจตสิกธรรมอันยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ฉิบหาย.
พฺยาโรสนา : (อิต.) ความกริ้วกราด (โกรธมาก), กราดกริ้ว เกรี้ยวกราด (ดุและด่าอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ). วิ. อา ปุพฺโพ, รุสฺ โรสเน, ยุ.
พหุวิฆาต : ค. มีความผิดหวัง, มีความคับแค้น, มีทุกข์อย่างใหญ่หลวง
โรส : ป. ความโกรธ, ความอาฆาต
โรสนา : อิต. ความโกรธ
สมฺปโกป : (ปุ.) ความเคืองเสมอ, ความเคืองมาก, ความเดือดดาลมาก, ความโกรธมาก, สํ ป ปุพฺโพ, กุปฺ โกเป, โณ.
อกฺโกธ : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่โกรธ, ความเป็นผู้ไม่โกรธ. วิ. อกฺโกธสฺสภาโวอกฺโกธํ.ณ.ปัจ.ภาวตัท.
อกฺโกธ อโกธ : (ปุ.) ความไม่โกรธ. นปุพฺโพ, กุธฺ โกเป, อ.
อติกโกธ : (ปุ.) ความโกรธจัด, โกรธจัด.
อนสุโรป : ป. ความไม่โกรธ, ความไม่เกลียด
อนิฆ : ค. ไม่มีทุกข์, ไม่มีความคับแค้นใจ
อนีฆ : (วิ.) ไม่มีทุกข์, ไม่มีความยาก, ไม่มีความยากแค้น.
อนุปนาห : ป. ความไม่ผูกโกรธ