อุปธิ : (ปุ.) รูป, ร่าง, ร่างกาย, จักร, กิเลส เครื่องยังทุกข์ให้เข้าไปตั้งไว้, กิเลสเครื่อง เข้าไปทรง, กิเลสเครื่องทรงทุกข์ไว้, กิเลส ชื่ออุปธิ, กิเลศ, ความพัวพัน. อุปปุพฺโพ, ธา ธารเณ, อิ. ส. อุปธิ.
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
ปริกนฺตติ : ก. เฉือน, ฝาน, ตัด, ผ่าออก, เสียดแทง; หมุน, (จักร) ผัน, บิด
อฏฺฐมงฺคล : (นปุ.) มงคลแปด, มงคลแปด คือ กรอบหน้า คธา สังข์ จักร ธง ขอ ช้าง โคเผือก และ หม้อน้ำ.
จกฺกี : (ปุ.) คนมีจักร, พระราชา, จักรี, จักริน ส. จกฺรี จกฺรินฺ.
จากวาก : (ปุ.) นกจากพาก, นกจากพราก, นกจักรพาก, นกจักรวาก. เป็นนกจำพวก นกเป็ดน้ำ. ส. จกฺรวาก.
อาณาจกฺก : (นปุ.) จักรคืออำนาจ, เขตแดนของอำนาจ, อาณาจักร (เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลหนึ่ง ๆ อำนาจปกครองของปกครองของบ้านเมือง).ส. อาชฺญาจกฺร
กปฏ : (ปุ.) ความคด, ความโกง, ความทรยศ, กบฏ ขบถ คือ การประทุษร้ายต่อราชอา- ณาจักร. วิ. กุจฺฉิเตน อากาเรน ปฏตีติ กปโฏ. ปฏฺ คติยํ, อ. แปลง กุ เป็น ก หรือแปลง กุ เป็น กา แล้วรัสสะตามนัย อภิฯ ส. กปฏ.
กุลาลจกฺก : นป. จักรของนายช่างหม้อ, แป้นหมุน, แป้นวงกลมสำหรับปั้นหม้อ
ขุรจกฺก : นป. จักรหรือล้อที่มีคมเหมือนมีดโกน
ฆณฺฏิก : (ปุ.) คนลาดตระเวน, คนผู้เที่ยวไป ด้วยจักร, คนผู้เที่ยวสดุดีเป็นหมู่. ฆณฺฏฺ ภาสเน, อิโก.
จกฺกงฺกีต : ค. มีเครื่องหมายรูปวงจักร
จกฺกฉินฺน : ค. มีจักรอันขาดแล้ว; มีวงล้อหักเสียหายแล้ว
จกฺกปาณิ : (ปุ.) พระจักกปาณิ (ผู้มีจักรใน พระหัตถ์) ชื่อพระนารายณ์ ชื่อ ๑ ใน ๕ ชื่ออีก๕ ชื่อถือ วาสุเทว หริ กณฺห เกสว. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็นชื่อของพระเจ้า องค์เดียวกัน เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู.
จกฺกปาณี : ป. พระนารายณ์, พระวิษณุ; เทพเจ้าผู้มีมือถือจักร
จกฺกภญฺชนี : ค. ผู้หักรานจักร, ผู้ทำลายความดีความเจริญ
จกฺกเภท : ป. การหักรานจักร, การกำจัดอำนาจ
จกฺกรตน : นป. จักรรัตน, รัตนคือจักร, จักรแก้ว (ของพระเจ้าจักรพรรดิ)
จกฺกราสิ : (ปุ.) จักรราศรี คือทางโคจรรอบดวง อาทิตย์ของดาวนพเคราะห์ แบ่งออกเป็น ส่วนเท่าๆ กัน ๑๒ ส่วน เรียก ๑๒ ราศี.
จกฺกรี : (วิ.) ผู้มีจักร. จกฺก ศัพท์ อี ปัจ. ตทัส- สัตถิตัท. รฺ อาคม.
จกฺกวตฺติ : (วิ.) ผู้ยังจักรให้เป็นไป.
จกฺกวาล จกฺกวาฬ : (ปุ.) ปริมณฑล, จักรวาล, จักรวาฬ. ปัจจุบัน ไทยใช้แต่คำจักรวาล น่าจะคงคำจักรวาฬไว้ด้วย.
จกฺกวาฬมุขวฏฺฏิ : (อิต.) ขอบแห่งปากแห่ง จักรวาฬ.
จกฺกวิทฺธ : นป. ศิลปะแทงจักร, วิธีการยิงลูกศรไปยังเป้าหมายต่างๆ ซึ่งอยู่เป็นวงล้อมให้ลูกศรทะลุเป้าหมายเหล่านั้นแล้วกลับมาตั้งอยู่ในมือของผู้ยิง
จกฺกิก : (ปุ.) คนเที่ยวไปด้วยจักร, คนลาดตระ เวน. ณิกปัจ. อภิฯ ลง อิก ปัจ.
จตุจกฺก : ค. มีจักรสี่ (หมายถึงร่างกายของมนุษย์), มีสี่ล้อ
ทสสหสฺสจกฺกวาฬเทวตา : (อิต.) เทวดาในจักรวาฬมีพันสิบหนเป็นประมาณ (เทวดา ในหมื่นจักรวาล) มี วิ. ดังนี้. – ส. ทิคุ. ทส สหสฺสานิ ทสสหสฺสํ. ฉ. ตุล. ทสสหสส ปมาณ เยส ตานิ ทสสหสฺสปมาณานิ (จกฺกวาฬานิ). ส. ตัป. ทสสหสฺสจกฺกวาเฬสุ เทวตา ทลสหสฺสจกฺกวาฬเทวตา.
ธมฺมจกฺก : (นปุ.) ธรรมเพียงดังจักร, ล้อคือ ธรรม, ลูกล้อคือธรรม , ธรรมจักร. เรียก พระธรรมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าเทศน์ ครั้งแรกว่า พระธรรมจักร เป็นคำเรียก แบบย่อ.
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตน : (นปุ.) การยังจักรคือ ธรรมให้เป็นไป, การยังจักรคือธรรมให้หมุนไป.
พฺรหฺมจกฺก : นป. พรหมจักร, จักรอันประเสริฐหมายถึงธรรม
อฏฺฐมงฺคล : (นปุ.) มงคลแปด, มงคลแปด คือ กรอบหน้าคธาสังข์จักรธงขอช้างโคเผือกและหม้อน้ำ.
อร : (ปุ. นปุ.) ดอกบัว, ซี่, ซี่จักร, กำ (ซี่ของล้อรถหรือเกวียน), ส่วนเวลา, เครื่องเล่น.อรฺคติยํ, อ.ส.อร.
อรหนฺต : (ปุ.) พระอรหันต์.วิ.สํสารจกฺกสฺสอเรหตวาติอรหาอรหํวา(ผู้ขจัดเสียซึ่งซี่แห่งสังสารจักร).อคฺคทกฺขิเณยฺยภาเวณปูชนํอรหตีติอรหา(ผู้ควรซึ่งการบูชาเพราะความเป็นพระทักขิเณยยบุคคลผู้เลิศ).กิเลสารโยมคฺเคนหนีติ อรหา (ผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสท.ด้วยมรรค).นสนฺติเอตสฺสรหาติอรหา (ผู้ไม่มีปาบธรรม).นตฺถิ เอตสฺสรโหคมนํคตีสุปจฺจาชาตีติอรหํ.
อาร : (ปุ.) ซี่, ซี่จักร, กำ(ซี่ของล้อรถหรือเกวียน).ดูอรด้วย.
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
โอปเธย : นป. จักร, ล้อเกวียน
กิจฺจกร : ค. กิจกร, ผู้ทำกิจ, เจ้าหน้าที่
จโกร : (ปุ.) นก ( นกต่างๆ ) นกกด, นกเขา, นกเขาไฟ. วิ. จกตีติ จโกโร. จกฺ ปริวตฺตเน, อุโร, อุสโส.
เวยฺยาวจฺจกร : ป. ผู้ทำการขวนขวายช่วยเหลือ