โลจน : นป. ตา, จักษุ
จิกิจฺฉก : (ปุ.) บุคคลผู้เยียวยา, บุคคลผู้รักษา โรค, คนพยาบาล, หมอ, แพทย์ นาย แพทย์. กิตฺ โรคาปนยเน. ฉ ปัจ และ ณฺวุ ปัจ. เทว๎ภาวะ กิ แปลง กิ เป็น จิ แปลง ตฺ เป็น จฺ
นยนามย : (ปุ.) โรคอันเกิดในดวงตา, จักษุ โรค, จักษุโรคพิเศษ.
อวนท : (ปุ.) คนผู้ให้การรักษา, หมอ, แพทย์.
กาจ : (ปุ.) สาแหรก, จักษุโรค (โรคตาชนิด หนึ่ง), กระจก กาจมโย ปตฺโต ธาเรตพฺโพ. ภิกษุไม่พึงใช้บาตรกระจก ไตร. ๗ / ๓๔. โบราณแปลว่าแก้วหุง. กจฺ พนฺธเน, โณ.
ขิตฺตจกฺขฺ : (วิ.) ผู้มีจักษุอันซัดไปแล้ว, ผู้ไม่ สำรวมจักษุ.
โค : (ปุ.) โคผู้ วิ. คจฺฉตีติ โค. คมฺ คติยํ, โร. รปัจ. มี อำนาจให้ลบที่สุดธาตุแล้วลบตัวเอง. โค แปลว่าวัว ไม่นิยมตัวผู้หรือตัวเมีย มีแบบ แจกวิภัติโดยเฉพาะ ดูวจีวิภาค ภาคที่ ๒ เลขที่ ๗๑. บางคัมภีร์ แปลว่า แม่โคก็มี แต่ส่วนมากใช้เป็นคำกลาง หมายเอาทั้ง โคผู้และโคเมีย ถ้าหมายเอาโคผู้โดยเฉพาะ ใช้ศัพท์โคณ เมื่อหมายเอาตัวเมียใช้ศัพท์ คาวี. โคศัพท์ ยังแปลได้อีก คือ แปลว่า น้ำ อุ. โคสีตจนฺทน, สวรรค์ อุ. ธมฺโม- ปจิเตน คาวํ ปยติ. คนย่อมไปสวรรค์ด้วย ธรรมที่สั่งสมไว้แล้ว. แสงสว่าง รัศมี อุ. คาโว วิคฺคจฺฉนฺติ เทหโต. รัศมีท. ย่อมซ่านออกจากกาย, เพชร อุ. คาเวน ปริชฺเฌยฺย มณิโก. ช่างแก้วเจียระไนด้วย เพชร, ลูกศร อุ. ควํ ฉินฺทนฺติ ตจฺฉกา. ช่างถากท. ย่อมตัดลูกศร, ดวงจันทร์ อุ. คาวํ โอโลเกสิ จกฺขุนา. คนมองดวงจันทร์ ด้วยจักษุ, ตา อุ. คาเวน จนฺทํ อิกฺขติ. คนมองดวงจันทร์ด้วยตา, คำพูด ถ้อยคำ อุ. คาวํ ภาสนฺติ เต ชนา. ชน.ท. เหล่านั้น พากันพูดถ้อยคำ, พื้นดิน อุ. คาเว ฐิโต โอนมิ สาขํ. คนยืนที่พื้นดินโน้มกิ่งไม้, อินทรีย์ อุ. โคจรํ ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง อินทรีย์, พระอาทิตย์ อุ. โค สุริโย.
จกฺขุ : (นปุ.) ตา ( ธรรมชาติที่เห็นรูปได้ ), นัยน์ตา โดยมากหมายเอา แววตา ประสาท ตา. วิ. จกฺขติ รูปนฺติ จกฺขุ จกฺขฺ ทสฺสเน, อุ. กัจฯ และรูปฯ ลง ณุ ปัจ. จกฺขุ ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๕ อย่างคือ พุทฺธจกฺขุ ได้แก่ พุทธญาณ ๑ สมนฺตจกฺขุ ได้แก่พระ สัพพัญญุตญาณ ๑ ปญฺญาจกฺขุ ได้แก่จักษุ คือปัญญา ๑ ธมมจกฺขุ ได้แก่ญาณ ใน มรรคสามเบื้องต้น ๑ มํสจกฺขุ ได้แก่ตา เนื้อ และทิพฺพจกฺขุ ตาทิพ ๑ ส. จกฺษุ.
จกฺขุก : ค. ผู้มีจักษุ, ผู้มีตา, ผู้มีปัญญา
จกฺขุกรณ, - กรณี : ค. ซึ่งกระทำปัญญาจักษุ, ผู้ทำให้เกิดปัญญาจักษุ, ผู้ทำให้เกิดความเห็นชัดด้วยใจ
จกฺขุกรณี : (วิ.) มีปกติสำเร็จซึ่งญาณจักษุ.
จกฺขุท, - ทท : ค. ผู้ให้จักษุ, ผู้ให้ปัญญาจักษุ
จกฺขุทุพฺพล : (วิ.) ผู้มีจักษุมีกำลังอันโทษประ ทุษร้ายแล้ว, ผู้มีตาอ่อนแอ (ตาเสื่อมตา เสีย).
จกฺขุนฺทฺริย : (นปุ.) อินทรีย์คือจักษุ, จักขุน ทรีย์ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเห็น).
จกฺขุปถ : ป. คลองแห่งจักษุ, วิถีแห่งจักษุ, ทัศนวิสัย
จกฺขุปสาท : (ปุ.) ประสาทของตา, จักษุประสาท คือเส้นสำหรับนำความรู้สึกของตา ส่วน สำคัญของตาที่ทำให้มองเห็น.
จกฺขุภูต : (วิ.) (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นเพียงดัง จักษุเป็นแล้วเพราะบรรลุพระปรมัตถธรรม วิ. จกฺขุ อิว ภูโต อยํ ปรมตฺถทสฺสนโตติ จกฺขุภูโต เป็นปฐมอุปมานบุพพบทพหุพ. รูปฯ ๓๔๑.
จกฺขุมนฺตุ : (ปุ.) พระผู้มีจักษุ (มีจักษุ ๕) เป็น พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระนาม ๑ ใน ๓๒ พระนาม, พระพุทธเจ้า.
จกฺขุวิญฺญาณ : นป. จักษุวิญญาณ, ความรู้ที่อาศัยตาเกิดขึ้น
จกฺขุวิญฺเญยฺย : ค. (สิ่ง) ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
จกฺขุสมฺผสฺส : (ปุ.) การถูกต้องพร้อมแห่งตา, การถูกต้องทางตา. จกฺขุสฺส (วิ) เกื้อกูลแก่จักษุ วิ.จกฺขุโน หิต จกฺขุสฺส สฺสปัจโมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๗๑
ทิพฺจกฺขุ : (นปุ.) จักขุอันเป็นทิพย์, ตาทิพย์, ทิพจักษุ, ทิพยจักษุ. ส. ทิวฺยจกฺษุ.
ทิสาจกฺขุก : ค. ผู้มีจักษุสอดส่องไปในทิศ, ผู้มีปัญญารอบรู้ทุกด้าน
ปญฺญาจกฺขุ : นป. จักษุคือปัญญา
พุทฺธจกฺขุ : (นปุ.) จักษุของพระพุทธเจ้า, พุทธญาณ พุทธจักษุ (รู้อินทรีย์อ่อนแก่ที่มีในสันดานของสัตว์และอัธยาศัยของสัตว์).
ภิสกฺก : ป. แพทย์, หมอยา
ภิสก ภิสกฺก ภิสช : (ปุ.) แพทย์, อายุรแพทย์, หมอ. วิปฺพฺโพ, สชฺ วิสชฺชะน, อ. แปลง วิ เป็น ภิ ศัพท์ ที่ ๑ แปลง ช เป็น ก ที่ ๒ แปลง ก เป็น กฺก แปลว่า ศัลยแพทย์ ก็มี.
เภสชฺชกร : (ปุ.) บุคคลผู้ปรุงยา, แพทย์ผู้ปรุงยา, เภสัชกร.
มหาภิสก มหาภิสกฺก มหาภิสช : (ปุ.) แพทย์, อายุรเวช, หมอ, หมอยา.
สมนฺตจกฺขุ : (ปุ.) พระสมันตจักขุ (ทรงรู้ทรงเห็นโดยทั่ว) เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง. บทธรรมที่พระคถาคตไม่ทรงเห็นแล้วไม่มีในโลกนี้ บทธรรมที่ควรรู้ พระคถาคตไม่ทรงรู้แล้วไม่มี ทรงทรางยิ่งซึ่งธรรมเครื่องนำไปทั้งปวง จึงเป็นพระสมันตจักษุ. ไตร. ๓๑ ข้อ ๒๙๑.
สาลากิย : นป. จักษุวิทยา
โสตเวชฺช : (ปุ.) หมอตรวจหู, หมอรักษาหู, โสตแพทย์.
อนิกสฺสน : (นปุ.) ที่ไม่เห็นด้วยจักษุ, อนิทัสสนะ ชื่อของพระนิพพาน, พระนิพพาน.