จกฺกวฺห จกฺกวาก : (ปุ.) นกจักพราก, นกจาก พราก, ห่านแดง. วิ. จกฺก มิจฺจโวฺห ยสฺส โส จกฺกโวฺห. ศัพท์หลัง จกฺกบทหน้า วจฺ ธาตุในความกล่าว ณ ปัจ. ทีฆะ แปลง จ เป็น ก. แปลว่า ห่าน ก็มี.
จกฺขุนฺทฺริย : (นปุ.) อินทรีย์คือจักษุ, จักขุน ทรีย์ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเห็น).
กาลญฺญุตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้รู้ จักกาล. กาลญฺญู+ตา ปัจ. ภาวตัท. รัสสะ ในเพราะตาปัจ.
โกปีนนิทฺทสนี : ค. เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย
จกฺกปาณิ : (ปุ.) พระจักกปาณิ (ผู้มีจักรใน พระหัตถ์) ชื่อพระนารายณ์ ชื่อ ๑ ใน ๕ ชื่ออีก๕ ชื่อถือ วาสุเทว หริ กณฺห เกสว. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็นชื่อของพระเจ้า องค์เดียวกัน เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู.
ทสฺสติ : ๑. ก. เห็น, เข้าใจ;
๒. ก. (ขา) จักให้
ทุตปฺปย : ค. อันบุคคลให้อิ่มได้ยาก, ซึ่งเลี้ยงไม่รู้จักอิ่ม, ซึ่งไม่รู้จักพอ
เทยฺย : (วิ.) อัน...พึงให้, อัน...ควรให้, พึงให้, ควรให้. วิ. ทาตพฺพนติ เทยฺยํ. อัน...ได้ให้ แล้ว. อัน...ย่อมให้, อัน...จักให้ง วิ. อทียิตฺถ ทียติ ทิยิสฺสตี วาติ เทยฺยํ. ทา ทาเน, ณฺย. แปลง ณฺย กับ อา ที ทา เป็น เอยฺย. รูปฯ ๕๔๐.
ปวกฺขติ : ก. จักกล่าว, จักพูด
ปเวกฺขติ : ก. จักเข้าไป
ปหูตภกฺข : ค. กินมาก, กินไม่รู้จักอิ่ม (หมายถึงไฟ)
เปยฺย : (วิ.) อัน...พึงดื่ม, อัน...ควรดื่ม. วิ. ปาตพฺพํ ปิวิตพฺพํ วาติ เปยฺยํ. อัน..ได้ดื่มแล้ว, อัน...ดื่มอยู่, อัน...จักดื่ม. วิ. อปียตฺถ ปียติ ปียิสฺสตีติ เปยฺยํ. ปา ปาเน, โณฺยฺ แปลง อา กับ ณฺย ปัจ. เป็น เอยฺย รูปฯ ๕๔๐.
ภพฺพ : (วิ.) ผู้ควรหลุดพ้น, อันเขาย่อมเป็น, เหมาะ, ควร, ชอบ, มี, เป็น, จักมี, จักเป็น, ดี, งาม. วิ. สมควร, ภูยเตติ ภพฺพํ. ภวนํ วา ภพฺพํ. ภู สตฺตายํ, โณฺย. แปลง ณฺย กับ อู ที่ ภู เป็น อพฺพ รูปฯ ๕๓๙ โมคฯ ลง ย ปัจ.
โภคฺค : (นปุ.) ของควรกิน, ของควรบริโภค, ของอันเขาได้กินแล้ว, ของอันเขาย่อมกิน, ของอันเข้าจักกิน. วิ. อภุชฺชิตฺถ ภุชฺชติ ภุชฺชิสฺสตีติ โภคฺคํ. ภุชฺ อชฺโฌหรเณ, โณฺย รูปฯ ๕๔๐.
มาฆฺย : (นปุ.) คล้า ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นและใบคล้ายข่า ผิวคล้ายหวาย จักผิวเอามาใช้เย็บจากแทนหวาย ผู้กสิ่งของหรือสานเป็นเสื่อ. วิ. มาเฆ ภวํ มาฆฺยํ. ณฺย ปัจ. ตาเสือ ต้นตาเสือ ก็แปล.
เมยฺย : (วิ.) อัน...พึงนับ, อัน...ได้นับแล้ว, อัน...ย่อมนับ, อัน...จักนับ. มา มาเน, ณฺย ปัจ. แปลง ณฺย กับ อา ที่สุดธาตุเป็น เอยฺย รูปฯ ๕๔๐.
วกฺขติ : ก. ย่อมกล่าว, จะกล่าว, จักกล่าว
อกฺขร : (ปุ. นปุ.) คำ, เสียง, ตัวหนังสือ, อักขระ, อักษร (เสียงและตัวหนึ่ง สระและพยัญชนะ). อักขระแปลว่า ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑ คือใช้แทนคำพูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้จักสิ้น และไม่เป็นของแข็งใช้แทนเสียคำพูดนั้น ๆได้เป็นอักขระของชาติใด ภาษาใด ก็ใช้ได้เหมาะสมแก่ชาตินั้นภาษานั้น.วิ. นขรติ น ขียตีติ อกฺขโร. นกฺขรนฺติ นกฺขียนฺตีติ วา อกขรานิ. นปุพฺโพ, ขรฺ วินาเส, อ.ขี ขเย วา อโร. อิโลโป, กฺสํโยโค.ใช้เป็นอิต. โดยความเป็นลิงควิปลาสบ้าง. ส.อกฺษร.
อกริสฺส : ก. จักได้ทำแล้ว
อติโธนจารี : ค. ผู้ไม่รู้จักประมาณ, ผู้เป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย
อปกตญฺญู : ค. อกตัญญู, ผู้ไม่รู้จักบุญคุณที่คนอื่นทำแก่ตน
อปสฺสา : ก. จักได้ดื่มแล้ว
อมตฺตญฺญุตา : อิต. ความไม่รู้จักประมาณ
อมตฺตญฺญู : ค. ผู้ไม่รู้จักประมาณ
อวินิจฺฉยญฺญู : ค. ไม่รู้จักวิธีวินิจฉัย, ไม่รู้จักวิธีตัดสิน
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
จโกร : (ปุ.) นก ( นกต่างๆ ) นกกด, นกเขา, นกเขาไฟ. วิ. จกตีติ จโกโร. จกฺ ปริวตฺตเน, อุโร, อุสโส.
อินฺทฺริยคฺคยฺห : (วิ.) ประจักษ์, ปรากฏ. วิ. อินฺทฺริยํ จกฺ ขาทิกํ เตน คยฺหํ อินฺทฺริยคฺคยฺหํ.
ปิสาจ, - จก : ป. ปีศาจ, ผี, สัตว์มีกายทิพย์จำพวกหนึ่ง
จกฺขายตน จกฺขฺวายตน : (นปุ.) อายตนะ คือตา วิ. จกฺขุ เอว อายตนํ จกฺขายตนํ จกฺขฺวายตนํ วา. จกฺขุ+อายตน ศัพท์ต้นลบ อุ ศัพท์หลัง แปลง อุ เป็น ว.
จกฺกงฺกีต : ค. มีเครื่องหมายรูปวงจักร
จกฺกนฺต : (ปุ.) ดุมแห่งรถ, ดุมรถ.
จกฺกมุข : ป. หมู, สุกร
จกฺกรตน : นป. จักรรัตน, รัตนคือจักร, จักรแก้ว (ของพระเจ้าจักรพรรดิ)
จกฺกราสิ : (ปุ.) จักรราศรี คือทางโคจรรอบดวง อาทิตย์ของดาวนพเคราะห์ แบ่งออกเป็น ส่วนเท่าๆ กัน ๑๒ ส่วน เรียก ๑๒ ราศี.
จกฺกรี : (วิ.) ผู้มีจักร. จกฺก ศัพท์ อี ปัจ. ตทัส- สัตถิตัท. รฺ อาคม.
จกฺกลก : ป. วงกลม, ลงล้อ
จกฺกลิก : นป. ผ้าผืนเล็ก (สำหรับหน้าต่าง), ม่านหน้าต่าง, บังตา
จกฺกลิ, - ลี : อิต. ผ้า, แผ่นผ้า, แผ่นผ้าที่ทำให้มีรูปเหมือนวงล้อเพื่อทำเป็นผ้าเช็ดเท้า
จกฺกวาก : ป. นกจากพราก, ห่านแดง
จกฺกวาฏ : ป. ที่กำหนด, เขตแดน, ที่ตั้งตะเกียง
จกฺกวาต : (ปุ.) ลมบ้าหมู (ลมหมุน)
จกฺกวาลคพฺภ : ป. ห้องแห่งจักรวาล, ภายในจักรวาล
จกฺกวาล จกฺกวาฬ : (ปุ.) ปริมณฑล, จักรวาล, จักรวาฬ. ปัจจุบัน ไทยใช้แต่คำจักรวาล น่าจะคงคำจักรวาฬไว้ด้วย.
จกฺกวาลปพฺพต : ป., นป. จักรวาลบรรพต, ภูเขาล้อมรอบจักรวาล
จกฺกวาลรชฺช : นป. ราชสมบัติในรอบจักรวาล, ความเป็นพระราชาผู้มีอำนาจทั่วจักรวาล
จกฺกวาล, - วาฬ : ป., นป. จักรวาล, สุริยจักรวาล, โลก, ปริมณฑล
จกฺกวาฬมุขวฏฺฏิ : (อิต.) ขอบแห่งปากแห่ง จักรวาฬ.
จกฺกิก : (ปุ.) คนเที่ยวไปด้วยจักร, คนลาดตระ เวน. ณิกปัจ. อภิฯ ลง อิก ปัจ.