โกลงฺโกล : ค. ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล (พระโสดาบัน) ผู้ยังต้องเกิดอยู่ในภพอีก ๒ ภพบ้าง ๓ภพบ้าง จึงจะได้บรรลุพระอรหันต์
เจโตวิมุตฺติ : (อิต.) ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ. ความหลุดพ้นที่มีสมาธิเป็น ปทัฏฐาน คือได้บรรลุฌานมาก่อนแล้วจึง บำเพ็ญวิปัสสนาต่อจนละกิเลสาสวะได้ เรียกว่า เจโตวิมุติ. ลำพังฌาน ไม่สามารถ ละกิเลสาสวะได้เด็ดขาด เป็นแต่สะกดไว้ อย่าเข้าใจผิด.
เฉทนกปาจิตฺติยา : (อิต.) เฉทนกปาจิตตีย์ ชื่ออาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องให้ตัดของที่ทำ เกินกำหนด (ประมาณ) ออกเสียก่อนจึง แสดงอาบัติตก คือจึงจะพ้นจากอาบัติ.
ชีวิตสีสี ชีวิตสทสีสี : (วิ.) ผู้มีกิเลสศรีษะสิ้น พร้อมด้วยชีวิต, ผู้มีกิเลสอันเป็นประธาน สิ้นไปพร้อมกับการสิ้นชีวิต, ผู้สิ้นกิเลส อันเป็นประธานพร้อมกับสิ้นชีวิต. กิเลส ที่เป็นประธานคืออวิชา. คำว่าสิ้นกิเลส พร้อมกับสิ้นชีวิตนั้นมิได้หมายความว่า เกิดพร้อมกันในวิถีจิตเดียวกัน อรหัตต – มัคคจิตเกิดประหาณ อวิชชาแล้ว ชีวิติน- ทรีย์ เจตสิกละรูปจึงดับ แม้ว่าจะห่างกัน หลายวิถีจิตก็จริง แต่เมื่อว่าโดยเวลาแล้ว ความดับกิเลสและสิ้นชีวิตก็กล่าวได้ว่าดับ ลงพร้อมกัน เพราะวิถีจิตเป็นไปเร็วมาก.
ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
ตาปสตรุ : (ปุ.) ต้นสำโรง, เพราะดาบสเอา ผลมาสุมเอาน้ำมันใช้ประโยชน์ จึงชื่อว่า ตาปสตรุ ต้นไม้เป็นประโยชน์แก่ดาบส ต้นจำปา ก็แปล.
ทกฺขิณา : (อิต.) ทักขิณา ทักษิณา ชื่อทาน อันบุคคลเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้ว จึงให้ กมฺมผลํ สทฺทหิตฺวา ทาตพฺพทานํ ทกฺขิณา ชื่อทานเพื่อผลอันเลิศ ชื่อทาน สมบัติอันเจริญ ชื่อทานอันทายกทายิกา บำเพ็ญอุทิศผลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว, ของ ทำบุญ, ใต้, ทิศใต้, เบื้องขวา, ทางขวา, ข้างขวา, ด้านขวา, ด้านใต้. วิ. ทกฺขนฺติ โภคสมฺปทาทีหิ ยาย สา ทกฺขิณา. ทกฺขฺ วุฑฺฒิยํ, อิโณ. เวสฯ ๔๕๔ วิ. ทกฺขนฺติ วหนกมฺเม อทนฺธตาย สิงฺฆํ คจฺฉนฺตีติ ทักขิณา. ต ปัจ. แปลงเป็น อีณ รัสสะ. ส. ทกฺษิณา.
ธมฺมมิลฺล : (ปุ.) ผมที่ถัก (ประกอบด้วยแก้วมุก ดาเป็นต้น) วิ. กุสุมคพฺภา เกสา เกสจูฬา มุตฺตาทินา พหิสํยตา สนฺตตา ธมฺมิลฺโลนาม. เอกโต กตฺวา ธรียติ พนฺธียตีติ ธมฺมิลโล. ธรฺ ธารเณ, อิโล, รสฺส มตฺตํ, ทฺวิตฺตํ, ลสฺส ลลตฺตํ จ. ฎีกาอภิฯ ไม่แปลง ล เป็น ลฺล จึงเป็น ธมฺมิล. ส. ธมฺมิลฺล.
ธมฺมยุตฺติกนิกาย : (ปุ.) ธรรมยุติกนิกาย ชื่อ นิกายสงฆ์ไทยฝ่ายเถรวาท ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชกาลที่๓ ตั้งเป็นนิกายชัดเจนในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. เมื่อนิกายนี้เกิดขึ้น จึงเรียกคณะสงฆ์ไทยดั้งเดิมว่ามหานิกาย.
ปฏิจฺจสมุปฺปาท : ป., ปฏิจจสมุปบาท, การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน, กฏแห่งธรรมที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ซึ่งมีอยู่ ๑๒ ประการ คือ
๑. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
๒. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
๓. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
๔. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
๕. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๖. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
๗. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
๘. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
๙. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
๑๐. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
๑๑.- ๑๒. เพราะชาติ จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
พุทฺธวสฺส : (ปุ. นปุ.) ปีของพระพุทธเจ้า. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑๒ เดือน ครั้ง ๑ เป็นพุทธพรรษ พุทธสก ๑ ในสันสกฤต ได้รูปเป็น พุทธศักราช จึงใช้อักษรย่อปีซึ่งนับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานว่า พ.ศ.
พุทฺธสก : (นปุ.) ปีของพระพุทธเจ้า. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑๒ เดือน ครั้ง ๑ เป็นพุทธพรรษ พุทธสก ๑ ในสันสกฤต ได้รูปเป็น พุทธศักราช จึงใช้อักษรย่อปีซึ่งนับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานว่า พ.ศ.
มหากิริยา : (อิต.) มหากิริยา ชื่อของการกระทำของพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านทำอะไร ก็ทำด้วยจิตบริสุทธิ์ ไม่มีโลภ โกรธหลง ไม่ยึดเอาเป็นบุญเป็นบาป จึงเรียกว่า มหากิริยา.
มหานิกาย : (ปุ.) หมุ่ใหญ่, หมู่มาก, มหานิกาย เป็นคำเรียกคณะสงฆ์ไทยฝ่ายดั้งเดิม คำนี้เกิดขึ้นเมื่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายแล้ว จึงเรียาสงฆ์ที่มีอยู่ดั้งเดิมว่า มหานิกาย.
มหาวิโลกน : (นปุ.) การเลือกเหตุสำคัญ, การตรวจดูเหตุใหญ่, การพิจารณาดูสิ่งใหญ่, มหาวิโลกนะ. มหาวิโลกนะ มี ๕ คือ ๑.กาล จะต้องเป็นช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐ ปี ๒. ทวีป ต้องเป็นชมพูทวีป ๓. ประเทศต้องเป็นมัชฌิมประเทศ ๔. ตระกูลต้องเป็นกษัตริย์ และ ๕. มารดาต้องเป็นหญิงมีเบญจศีล. พระโพธิสัตว์จึงจะมาอุบัติเพื่อตรัสรู้.
ยาคุ : (ปุ.) ข้าวต้ม, ข้าวยาคู ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวอ่อน คือ เกี่ยวเอารวงข้าวที่ยังเป็นน้ำนม คั้นเอาแต่น้ำนมใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยว ใส่น้ำตาล เคี่ยวพอข้นเหนียวจึงยกลง มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย. ยา ปุณเน, คุ. มิสฺสเน วา, คุ, อุสฺสา.
สมนฺตจกฺขุ : (ปุ.) พระสมันตจักขุ (ทรงรู้ทรงเห็นโดยทั่ว) เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง. บทธรรมที่พระคถาคตไม่ทรงเห็นแล้วไม่มีในโลกนี้ บทธรรมที่ควรรู้ พระคถาคตไม่ทรงรู้แล้วไม่มี ทรงทรางยิ่งซึ่งธรรมเครื่องนำไปทั้งปวง จึงเป็นพระสมันตจักษุ. ไตร. ๓๑ ข้อ ๒๙๑.
สมาธิ : (ปุ.) ความตั้งมั่น, ความตั้งใจมั่น, ความตั้งมั่นด้วยดีแห่งจิต, ความตั้งมั่นด้วยดีในจิตในอารมณ์เดียว, ความไม่ส่ายไปแห่งจิต, ความสำรวมใจให้แน่วแน่, การตั้งจิตไว้ด้วยดีในอารมณ์เดียว, สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ ความที่จิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเฉพาะ ความที่จิตเพ่งอยู่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ. วิ. เอกาลมฺพเน สํ สุฏฐุ อาธานํ สมาธิ. สํปุพฺโพ, ธา ธารเณ, อิ. รูปฯ ๕๘๒ วิ. สมฺมา สมํ วา จิตฺตํ อาทธาตีติ สมาธิ. สมาธิใช้เป็นกุศลธรรมเป็นส่วนมากแต่ในที่บางแห่งท่านต้องการให้ชัดจึงเติมศัพท์ที่บ่งชัดไว้ข้างหน้าฝ่ายดี ท่านเติม สมฺมา เป็น สมฺมาสมาธิ ฝ่ายชั่ว ท่านเติม มิจฺฉา เป็นมิจฺฉาสมาธิ ดูคำ สติ ประกอบ. ส. สมาธิ.
สลากภตฺต : (นปุ.) ภัตอันบุคคลยังบุคคลให้จับสลากแล้วจึงให้, ภัตตามสลาก, สลากภัต, ฉลากภัต.
สาหุตฺถิกปโยค : (ปุ.) ประโยคที่ประกอบด้วยมือของตน, ฯลฯ, ประโยคที่ทำเอง. การรักษาศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ก็ตาม ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๓ เป็นต้นไป เป็นสาหัตถิประโยค ทำเองศีลจึงขาด ใช้ให้เขาทำศีลตนเองไม่ขาด.
สิกฺขมานา : (อิต.) นางสิกขมานา ชื่อของสามเณรี ผู้มีอายุครบ ๑๘ ปี แล้ว รักษาสิกขาบทตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ๖ สิกขาบทไม่ให้ขาดครบ ๒ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ถ้าขาดสิกขาบทใดสิกขาบท ๑ ต้องนับตั้งต้นไปใหม่จนครบ ๒ ปี จึงจะอุปสมบทได้. วิ. สิกฺขตีติ สิกฺขมานา สิกฺขฺ วิชฺโชปาทานาเน, มาโน.
อธิกรสุทิน : (นปุ.) อธิกสุรทิน.คือวันที่เพิ่มขึ้นทางสุริยคติอีก ๑ วันท้ายเดือนกุมภาพันธ์ปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์จึงมี ๒๙ วัน
อธิกวาร : (ปุ.) วันเกิน, วันที่เพิ่มเข้ามา, อธิกวารคือวันที่เพิ่มเข้ามาทางจันทรคติอีก ๑ วันท้ายเดือน ๗ ปีนั้นเดือน ๗ จึงมี๓๐ วัน.
อนคฺฆ : (วิ.) มีค่าหามิได้วิ.นตฺถิอคฺโฆเอตสฺสาติอนคฺโฆความหมายแท้จริงหมายความว่า มีค่ามากจนกำหนดค่าไม่ได้ฏีกาเวสฯท่านจึงแก้ว่าโสหิอคฺฆสฺสมหนฺตตฺตาอนคฺโฆติวุตฺโต.ส.อนรฺฆ.
อนาณตฺติก : (วิ.) ไม่ต้องเพราะสั่ง, ไม่ต้องเพราะบังคับ.สิกขาบทใดของบรรพชิตหรือของผู้ครองเรือนใช้ให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ หรือศีลไม่ขาด, ทำเองจึงต้องอาบัติหรือศีลจึงขาด สิกขาบทนั้นเป็นอณาถณัต-ติกะ.เช่นสิกขาบทเกี่ยวกับการประพฤติผิดในกาม.
อสฺสกณฺณ : (ปุ.) อัสสกัณณะชื่อภูเขาลูก๑ใน๗ลูกเป็นลูกที่๗ทั้ง๗ลูกนี้ล้อมเขาสุเมรุจึงเรียกว่า สัตตปริภัณฑ์.
อาหารตฺถก : (ปุ.) อาหารัตถกะ ชื่อคน คนใด บริโภคอาหารจนไม่อาจลุกขึ้นได้โดยธรรมดาของตน จึงกล่าวว่าฉุดมือทีคนนั้น ชื่อ อาหารัตถกะ.
กลฺลหาร : (นปุ.) จงกลณี (บัวดอกคล้ายบวบ ขม) วิ. กสฺส ชลสฺส หารํ วิย โสภากรตฺตา กลฺลหารํ. ก+หาร ลง ลฺ อาคมหลัง ก แปลง ลฺ เป็น ลฺล เป็น ปุ. บ้าง.
อญฺชาหิ : ก. จงหยอด
อตฺถุ : (อัพ. นิบาต) จงยกไว้, ก็ตามแต่ ก็ตามที(ตอบอย่างไมม่พอใจ), โดยแท้.
อินฺทมฺพร อินฺทวร อินฺทิราวร อินฺทีวร : (ปุ.) บัวเขียว, บัวสีน้ำเงิน, นิลจง.
อุตฺติฏฐ : ก. (ท่าน) จงลุกขึ้น
เอหิ : ก. จงมา
เอหิปสฺสิก : (วิ.) ควรซึ่งวิธีว่า อ. ท่านจงมาดู, ควรซึ่งวิธีว่าท่านจงมาดู, ควรเรียกให้มาดู. วิ. เอหิ ปสฺสาติ อิมํ วิธึ อรหตีติ เอหิปสฺ สิโก. ณิก ปัจ. ตรัต๎ยาทิตัท. รูปฯ ๓๖๐. โมคฯ ขาทิกัณฑ์ วิ. เอหิปสฺสวิธึ อรหตีติ เอหิปสฺสิโก.
เอหิภิกฺขุ : (ปุ.) เอหิภิกขุ คำเรียกภิกษุผู้ได้รับ อุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยพระดำรัส ว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ถ้าผู้อุปสมบทยังไม่ บรรลุพระอรหัต จะตรัสเพิ่มอีกว่า จงทำที่ สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
เอหิภิกฺขุปพฺพชา : (อิต.) การบวชด้วยพระ ดำรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด.
เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา : (อิต.) การอุปสมบท ด้วยพระดำรัสว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด, เอหิ ภิกขุ อุปสัมปทา คำเรียกอุปสมบท อย่าง ที่ ๑ ใน ๓ อย่าง เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้า ทรงเอง.