ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
ฉายาโจรกมฺม : (นปุ.) การทำอันเป็นเค้าของ โจร, ฉายาโจรกรรมคือกิริยาที่ทำทรัพย์ ของผู้อื่นให้เสียหายและเป็นสินใช้ตกอยู่ แก่ตน มี ๒ อย่างคือ ผลาญ ทำลายล้างหรือ ทำอันตรายทรัพย์สมบัติของเขา ๑ หยิบฉวย ๑.
ฉายาภมฺภ : (ปุ.) หลักวัดเงาแดด, นาฬิกาแดด.
ฉายามาน : นป. การนับหรือการวัดเงา, การนับเวลา
ฉายารูป : นป. รูปภาพ, รูปถ่าย
นจฺจฉายารูป : (นปุ.) ภาพยนต์.
นจฺจฉายารูปสาลา : (อิต.) โรงภาพยนต์.
ปจฺฉายา : อิต. ร่มเงา, ที่ร่ม
ปฏิจฺฉาย : อิต. รูปภาพ, รูปเทียม
สนฺทจฺฉาย : (วิ.) มีเงาชิด, มีเงาไม่ขาด, ฯลฯ.
ปฏิปฺผรติ : ก. แผ่ออกไป, ฉายแสง, เปล่งออก, โต้, คัดค้าน
ปทีป : (วิ.) ส่อง ( ฉายแสง ), สว่าง, รุ่งเรือง, ให้รุ่งเรือง. ปปุพฺโพ, ทีปฺ ทิตฺติยํ, อ.
ปภาสติ : ก. ส่งแสง, ฉายแสง, สว่าง; กล่าว, พูด, บอก, เจรจา, ประกาศ
อุลฺลสิต : กิต. ส่องแสงแล้ว, ฉายแสงแล้ว