ชน : (ปุ.) สัตว์, คน, ชน ( ผู้ยังกุศลและอกุศล ให้เกิด ). วิ. กุสลากุสลํ ชเนตีติ ชโน. ชนฺ ชนเน, อ. ส. ชน.
ชนกาย : ป. กลุ่มชน, หมู่ชน, ฝูงชน
ชนตา : (อิต.) ประชุมแห่งชน, หมู่แห่งชน, ประชุมชน, ชุมนุมชน. วิ. ชนานํ สมูโห ชนตา.
ชนปาโมกฺข : ค. ผู้เป็นประธานหรือหัวหน้าของกลุ่มชน
ชนกกมฺม : (นปุ.) กรรมอันยังสัตว์ให้เกิด, กรรมอันนำให้สัตว์เกิด, ชนกกรรม (กรรม ที่ยังผู้เคลื่อนจากภพหนึ่งให้เกิดในอีกภพ หนึ่ง กรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีและ ข้างชั่ว).
ชนติ : ก. ทำเสียง, ออกเสียง, ร้อง
ชนวาท : (ปุ.) การกล่าวโทษ. ชส + วาท แปลง ส เป็น น.
ขญฺชน : (ปุ.) นกไส้, นกเป็ดน้ำ. วิ. ปสฺสนตานํ ขํ สุขํ ชเนตีติ ขญฺชโน. ขปุพฺโพ, ชนฺ ชนเน, อ.
คามชน : ป. ชนในบ้าน, ชาวบ้าน
เคหชน : ป. เคหชน, คนที่อยู่ในบ้าน, สมาชิกในครัวเรือน
ชีว : (ปุ.) อาตมะ, อาตมัน, พระพฤหัสบดี, สัตว์, ชน, คน, ความเป็นอยู่, ความมีชีวิต อยู่, ความเกิด, ชีพ (ความเป็นอยู่). ชีวฺ ปาณธารเณ, อ. ส. ชีว.
นานาชน : ป. ชนต่างๆ , คนหลายพวก
นิโยชน : (นปุ.) การส่งไป, การส่งเสริม, การประกอบเข้า, การรวมเข้า, การสั่ง, การสั่งให้ทำ. ยุ ปัจ. ส. นิโยชน.
ปโยชน : (นปุ.) การรับใช้, การส่งไป, สิ่งอันเหตุพึงทำให้สำเร็จ, ผลอันสำเร็จมาจาก เหตุ. วิ. ยํ ผลํ เหตุนา โยเชตพฺพํ ปวตฺตพฺพํ ตสฺมา ตํ ผลํ ปโยชนํ. ปปุพฺโพ, ยุชฺ ปวตฺติยํ, ยุ. สิ่งอันบุคคลพึงประกอบ ( เพราะเป็นสิ่งที่ให้คุณ ) , ความดี, วิ. ปโยเชตพฺพนฺติ ปโยชนํ. ยุชฺ โยเค. ไทย ประโยชน์ ใช้ในความหมายว่า สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้ หรือผลที่ได้ตามต้องการสิ่งที่เป็นผลดี สิ่งที่เป็นคุณ. ส. ปฺรโยชน.
พหุชน : (ปุ.) คนมาก, คนจำนวนมาก, ชนมาก.
สุตชน : (ปุ.) ชนเกิดแต่กษัตริย์กับด้วยนางพรมหมณีชื่อสุตะ.
โสตุชน : (ปุ.) ชนผู้ฟัง, นักศึกษา.
โสภญฺชน : (ปุ.) มะรุม วิ. โสภํ ชเนตีติ โภญฺชโน. โสภปุพฺโพ. ชนฺ ปาตุภเว, อ. โสภติ อญฺชนํ เอเตน เหตุภูเตนาติ วา โสภญฺชโน.
อนฺโตชน : (ปุ.) ชนภายใน, ชนภายในแห่งเรือน
อริยชน : (ปุ.) ชนผู้เจริญ, อารยชน (ชนผู้เจริญด้วยความรู้ความสามารถและขนบธรรม-เนียมอันดีงาม).
อารามิกอารามิกชน : (ปุ.) คนอยู่ในวัด, คนอา-ศัยวัดเป็นอยู่, คนอาศัยวัด, คนงานประจำวัด, คนวัด, อารามิกชน.
อิสฺสรชน : ป. อิสรชน, ผู้เป็นไทย, ผู้มีอำนาจ
กณฺหอญฺชน : นป. การขัดจนเป็นมัน, การขัดให้เป็นเงา
กลฺยาณปุถุชฺชน : (ปุ.) ปุถุชนผู้งาม วิ. เยสํ ขนฺธธาตุอายตนาทีสุ อุคฺคหปริปุจฺฉาปจฺจ เวกฺขณานิ อตฺถิ เต กลฺยาณปุถุชฺชนา.
กสภาชน : นป. ภาชนะทองสัมฤทธิ์
กามสญฺโญชน : นป. กามสัญโญชน์, เครื่องผูกมัดคือกาม
กาฬญฺชน : นป. ยาหยอดตาสีดำ
กุชน : ค. โค้ง, งอ
กุญฺชนที : อิต. ห้วย, ซอกเขาที่มีน้ำไหล
กุลาลภาชน : (นปุ.) ภาชนะอันบุคคลถือเอาซึ่ง ดินกระทำ ฯลฯ
กูชน : นป. เสียงนกร้องเจี๊ยบจ๊าบ
คชฺชน : (นปุ.) การร้อง, การกระหึม, การคำรน, การคำราม, เสียงร้อง (เสียงฟ้า), ฯลฯ, ฟ้าร้อง. คชฺชฺ สทฺเท, ยุ.
คิหิพฺยญฺชน : นป. ลักษณะของคฤหัสถ์
คิหิสโยชน : นป. (กิเลส) เครื่องหน่วงเหนี่ยวของคฤหัสถ์, เครื่องผูกพันของคฤหัสถ์
จตุราสีติโยชนสหสฺสคมฺภีร : (วิ.) อันลึกสิ้นพ้น แห่งโยชน์แปดสิบสี่, มีพันแห่งโยชน์แปด สิบสี่เป็นส่วนลึก, ลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์. เป็น ฉ. ตุล มี ฉ.ตัป และ ส.ทิคู. เป็น ท้อง มีลึกมีพันแห่งโยชน์แปดสิบสี่เป็น ประมาณ ตั้ง วิ. เพิ่ม ฉ.ตุล ต่อจาก ส.ทิคุ อีก ๑ สมาส.
จิตฺตวฺยญฺชน : ค. มีพยัญชนะอันวิจิตร, มีพยัญชนะอันงดงาม
เจติยงฺคณสมฺมชฺชนคนฺธมาลาทิกิจฺจ : (นปุ.) กิจ มีอันกวาดซึ่งลานแห่งเจดีย์และอันบูชาด้วย วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น เป็น วิเสสนบุพ. กัม. มี ฉ. ตัป., ส. ทวัน., ฉ. ตุล., ฉ. ตัป., ส. ทวัน,และฉ.ตุล.เป็นภายใน
ฉตฺตึสโยชนปริมณฺฑล : (วิ.) มีปริมณฑลมี โยชน์สามสิบหกเป็นประมาณ เป็น ฉ. ตุล. มี อ. ทิคุ. และ ฉ. ตุล เป็นท้อง.
ฉิชฺชน : (วิ.) ขาด, ทะลุ, แตก, สลาย, เสียหาย, ผิด. ฉิทฺ ธาตุ ในความตัด, ฯลฯ. ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ยุ ปัจ. แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
ชนี ชเนตฺตี ชเนตฺติกา : (อิต.) แปลเหมือน ชนนี. อี และ อา อิต.
ชิน : (ปุ.) ความเสื่อม, ความสิ้น, ความเสื่อม สิ้น, ความย่อยยับ. ชิ ชานิยํ, อิโน. ผักชี ล้อม ก็ แปล.
ชีน : ค. เสื่อม, ลด, เปลือง, หมดไป
ตณฺหาสโยชน : นป. เครื่องผูกมัดคือตัณหา
ตมฺพภาชน : นป. ถาดทองแดง
ติโยชน : นป., ค. สามโยชน์; นับได้สามโยชน์
ติโยชนภูมิ : (อิต.) ภาคพื้นมีโยชน์สาม.
เตชน : (ปุ.) ไม้แขม. ติชฺ นิสาเน, ยุ.
ทิฏฺฐสโยชน : (นปุ.) กิเลสขาดเครื่องร้อยรัด คือทิฎฐิ, ความร้อยรัดคือทิฎฐิ, คสามร้อยรัดอันเกิดจากทิฎฐิ.
ทิฏฺฐิสโยชน : นป. ทิฎฐิสังโยชน์, กิเลสเครื่องผูกสัตว์ในภพ คือทิฐิ, ความเห็นผิดซึ่งทำให้สัตว์ติดข้องอยู่ในภพ