ตุม : ป. ตน, ตนเอง
ปฏิสยมติ : ก. สำรวม, ระวัง, ควบคุม (ตนเอง) , เหนี่ยวรั้งจิตใจ
สย : (อัพ. นิบาต) เอง, ด้วยตนเอง, โดยตนเอง, อันตนเอง. ใช้เป็นประธานก็มี แปลว่า อ. ตนเอง ที่เป็นราชาศัพท์ แปลว่า อ. พระองค์ หรือ อ. พระองค์เอง.
นิชเทส : ป. ประเทศของตนเอง
นิย, นิยก : ค. ซึ่งเป็นของตนเอง
นิสฺสารชฺช : ค. ไม่ถ่อมตัว, ไว้ใจตนเอง
ปาฏิโมกฺข : ป., นป. พระปาฏิโมกข์, ธรรมเป็นที่อาศัยให้พ้นจากอาบัติ; พระคัมภีร์รวบรวมพระวินัยที่เป็นหลักของภิกษุไว้และต้องสวดในที่ชุมนุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติและสำรวจตนเองว่าได้ปฏิบัติตนเองตามพุทธบัญญัติหรือไม่
สนฺทิฏฺฐิก : ค. ผู้ปฎิบัติควรเห็นด้วยตนเองหมายถึงพระธรรม
สยกต : (วิ.) อันตนเองกระทำแล้ว, กระทำแล้วด้วยตนเอง. วิ. สยํ กตํ สยํกตํ. ต. ตัป.
สาม : (อัพ. นิบาต) เอง, โดยลำพัง, โดยตนเอง, ด้วยตนเอง. อภิฯ ลงใน สยตฺถ รูปฯ ลงในตติยตฺถ.
สาหตฺถิก : ค. ทำด้วยมือของตนเอง
สาหุตฺถิกปโยค : (ปุ.) ประโยคที่ประกอบด้วยมือของตน, ฯลฯ, ประโยคที่ทำเอง. การรักษาศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ก็ตาม ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๓ เป็นต้นไป เป็นสาหัตถิประโยค ทำเองศีลจึงขาด ใช้ให้เขาทำศีลตนเองไม่ขาด.
อตฺตฆญฺญ : นป. การฆ่าหรือทำลายตนเอง
อตฺตทนฺต : ค. ผู้ฝึกฝนตนเองแล้ว
อตฺตทีป : ค. พึ่งตนเอง, เชื่อตนเอง
อตฺตปจฺจกฺข : ค. ประจักษ์ด้วยตนเอง
อตฺตวธ : ป. การฆ่าตนเอง, การทำลายตนเอง
อตฺตาธีน : (วิ.) พึ่งตนเองได้, เป็นไท.
อสย : อ. ไม่ใช่ตนเอง, มิใช่ทำด้วยตนเอง
อสหตฺถา : ก. วิ. ไม่ใช่ด้วยมือของตนเอง
อุกฺกสก : ค. ผู้ยกย่องชมเชยตนเอง
อุกฺกสนา : อิต. การยกย่องตนเอง, การสรรเสริญตนเอง
โอมาน : (ปุ.) ความดูถูก, ความดูหมิ่น, ความดูหมิ่นตนเอง. โอปุพฺโพ, มา ปริมาเณ, ยุ.