สาลิก : (ปุ.) นกสาลิกา (ตัวผู้). นกขุนทองก็แปล.
สาฬิก : (ปุ.) นกสาฬิกา (ตัวผู้). สลฺ คติยํ, ณิโก, สสฺส หตฺตํ. สฬฺ อพฺยตฺเต สทฺเท วา.
กุมฺม กุมฺมก : (ปุ.) เต่า, เต่าตัวผู้. วิ กุจฺฉิโต อูมิเวโค อสฺสาติ กุมฺโม. ณ ปัจ. ตทัส สัตถิตัท. ลบ จฺฉิต อู และ อิที่มิ เหลือเป็น มฺ ลบ ณฺ เหลือ อ รวมเป็น ม ซ้อน มฺ. กโรตีติ วา กุมฺโม. กรฺ กรเณ, รมฺโม. แปลง กรฺ เป็น กุ. กุรตีติ วา กุมฺโม. กุรฺ สทฺเท, รมฺโม. แปลว่า เต่าเหลือง เต้าน้ำ กระบอกน้ำ หม้อ หม้อน้ำ ก็มี.
โกญฺจา : (อิต.) นกกระเรียน.โกญฺจฺ โกฏิลฺยมฺหิ, อ. ใช้ได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย.
โค : (ปุ.) โคผู้ วิ. คจฺฉตีติ โค. คมฺ คติยํ, โร. รปัจ. มี อำนาจให้ลบที่สุดธาตุแล้วลบตัวเอง. โค แปลว่าวัว ไม่นิยมตัวผู้หรือตัวเมีย มีแบบ แจกวิภัติโดยเฉพาะ ดูวจีวิภาค ภาคที่ ๒ เลขที่ ๗๑. บางคัมภีร์ แปลว่า แม่โคก็มี แต่ส่วนมากใช้เป็นคำกลาง หมายเอาทั้ง โคผู้และโคเมีย ถ้าหมายเอาโคผู้โดยเฉพาะ ใช้ศัพท์โคณ เมื่อหมายเอาตัวเมียใช้ศัพท์ คาวี. โคศัพท์ ยังแปลได้อีก คือ แปลว่า น้ำ อุ. โคสีตจนฺทน, สวรรค์ อุ. ธมฺโม- ปจิเตน คาวํ ปยติ. คนย่อมไปสวรรค์ด้วย ธรรมที่สั่งสมไว้แล้ว. แสงสว่าง รัศมี อุ. คาโว วิคฺคจฺฉนฺติ เทหโต. รัศมีท. ย่อมซ่านออกจากกาย, เพชร อุ. คาเวน ปริชฺเฌยฺย มณิโก. ช่างแก้วเจียระไนด้วย เพชร, ลูกศร อุ. ควํ ฉินฺทนฺติ ตจฺฉกา. ช่างถากท. ย่อมตัดลูกศร, ดวงจันทร์ อุ. คาวํ โอโลเกสิ จกฺขุนา. คนมองดวงจันทร์ ด้วยจักษุ, ตา อุ. คาเวน จนฺทํ อิกฺขติ. คนมองดวงจันทร์ด้วยตา, คำพูด ถ้อยคำ อุ. คาวํ ภาสนฺติ เต ชนา. ชน.ท. เหล่านั้น พากันพูดถ้อยคำ, พื้นดิน อุ. คาเว ฐิโต โอนมิ สาขํ. คนยืนที่พื้นดินโน้มกิ่งไม้, อินทรีย์ อุ. โคจรํ ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง อินทรีย์, พระอาทิตย์ อุ. โค สุริโย.
ถิรา : (อิต.) บังโกรยตัวผู้. ถุ คติยํ. อิโร.
ปุงฺคว : ป. โคตัวผู้, โคนายฝูง, บุคคลผู้ประเสริฐ, หัวหน้าที่มีลักษณะดี
ปุพฺพภทฺทปทา : (อิต.) บุรพภัทรบท ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มที่ ๒๕ ใน ๒๗ กลุ่ม, ดาวหัวเนื้อทราย, ดาวราชสีห์ตัวผู้, ดาวเพดาน, ดาวโปฐบท ก็เรียก. วิ. ปุพฺพา จ สาภทฺทปทา เจติ ปุพฺพภทฺทปทา.
พาชี : (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้.
วสภ : ป. วัวตัวผู้
สาลปณฺณี : (อิต.) บังโกรยตัวผู้. สาลปณฺณสทิสวิสฎตาย สาลปณฺณี. สาลํ โสภณยุตฺตํ ปณณ มสฺสาติ วา สาลปณฺณี.
สินฺธว : (ปุ.) ม้าตัวผู้, ม้าที่มีในสินธูชนบท. วิ. สินฺธุมฺหิ ภโว สินฺธโว. ณ ปัจ. ม้าสินธพนี้แต่ก่อนจัดเป็นม้าพิเศษ.
หตฺถิ, - ถี : ป. ผู้มีมือ, ช้างพลาย, ช้างตัวผู้
หย : (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้. วิ. หิโณติ สามิเกน กสาหตาทิกาเรน ปาชิโต สีฆํ คจฺฉตีติ หโย. คติยํ, โณ. หยฺ คติยํ, อ. ส. หย.
อมฺห : (ปุ. อิต.) ฉัน, ข้า, กู, ฯลฯ.คำแทนตัวภิกษุแปลว่าอาตมภาพ, อาตมา, รุป.ลูกพูดกับพ่อแม่แปลว่าลูก, หนู.หญิงพูดกับคนใกล้ชิดหรือคุ้นเคยหรือ คนรักแปลว่าหนูชายพูดกับหญิงที่รักแปลว่าเรียม, พี่. อมฺหศัพท์เป็นคำแทนตัวผู้พูดบาลีไวยากรณ์เป็นบุรุษที่๓ไวยากรณ์ไทยเป็นบุรุษที่๑.
อสฺส : (ปุ.) ม้า, ม้าตัวผู้, อสฺภกฺขเณ, อสุวาเขปเน, โส.อถวา, นปุพฺโพ, สีสเย, อ.ลบอีแปลงน เป็นอซ้อนสฺ. ส. อศฺว.
อาสภี : ค. เข้มแข็ง, ประเสริฐ, กล้าหาญ, เหมือนวัวตัวผู้
อุกฺขตร : ป. วัวใหญ่, วัวตัวผู้