ทว : (ปุ.) การเล่น, กีฬา, ความสนุก, ความเฮ ฮา, ความร่าเริง, ความรื่นเริง. ทวฺ. วิหาเร. อ. ป่า, หมุ่ไม้, ต้นไม้. ทุ คติยํ หึสายํ วา วุทฺธิยํ วา, โณ, เป็น ทวา (อิต.)ก็มีส.ทว,ทาว.
ทฺวนฺท, - ทว : นป., ป. คู่, หมวดสอง, ทวันทวสมาส
ทฺวิ : (ไตรลิงค์) สอง. แปลง ทฺวิ เป็น ทุเว บ้าง. ส. ทฺวิ.
ทุ ทุเว : (ไตรลิงค์) สอง, แปลง ทฺวิ เป็น ทุ. ทุเว. รูปฯ ๓๙๔.
ทวฑาห ทวทาห : (ปุ.) ไฟไหม้ป่า, ไฟป่า.
ทิว : (ปุ.) ทิวะ ชื่อสวรรค์ชื่อที่ ๒ ใน ๕ ชื่อ, สวรรค์, เทวโลก, ฟ้า, ชั้นฟ้า, อากาศ, วัน. ทิวุ กีฬายํ, อ. ส. ทิว, ทิวนฺ.
ทิวิ : (วิ.) อันเป็นทิพ, อันเป็นทิพย์.
ทุเว : (อัพ. นิบาต) สอง, แผลงมาจาก ทฺวิ.
เทว : (ปุ.) เทวะ ชื่อของเทพทั้ง ๓ คือ อุปัตติ เทพ วิสุทธิเทพ และ สมมุติเทพ, เทพ, เทพเจ้า, เทพยะ, เทพยดา, เทพบุตร, เทวดา. วิ. ทิพฺพนติ ปญฺจกามคุณาทีหิ กีฬนฺตีติเทวา. ทิวุ กีฬายํ, โณ. วิ. นี้เฉพาะ อุปัตติเทพ และสมมุติเทพ. เทวะที่หมาย ถึงวิสุทธิเทพ มี วิ. ว่า โลกุตฺตรธมฺเม โลกุตฺตรธมฺเมหิ วา ทิพฺพนฺติ เทโว (ผู้บรรลุโลกุตตรธรรม หรือผู้รุ่งเรืองด้วย โลกุตตรธรรม). ทิวุ คติยํ ชุติยํ วา, โณ.
เทวี : (อิต.) เทวดาผู้หญิง, เทพธิดา, นางพญา, ราชภริยา, นางกษัตริย์, พระราชเทวี.
ทฺวงฺคุล : (นปุ.) องคุลีสอง, สององคุลี. วิ. เทฺว องคุลิโย ทฺวงฺคุลํ . ทฺวิ+องคุลิ แปลง อิ เป็น อ.
ทวถุ : (ปุ.) ความร้อน, ความร้อนใน, ความกระหาย, ความกระหายน้ำ. ทวฺ ฑาเห, ทุ ปริตาเป วา, ถุ. รูปฯ ๖๔๕ วิ. ทเวน นิพฺพตฺโต ทวถุ ทวฺ ทวเน, ถุ. ส. ทวถุ.
ทฺวนฺทว : (ปุ.) ทวันทวะ, ทวันทวสมาส.
ทฺวย : (วิ.) สอง, สองอย่าง, (ส่วน) ทั้งสอง, มีส่วนสอง. วิ เทฺว อํสา อสฺส ทฺวยํ โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๔๙.
ทฺวาทส ทฺวารส พารส : (ไตรลิงค์) สิบยิ่ง ด้วยสอง, สิบสอง. วิ ทฺวีหิ อธิกา ทสาติ ทฺวาทส. เทฺว จ ทส จาติ วา ทฺวาทส. แปลง อิ ที่ ทฺวิ เป็น อา แปลง ท เป้น ร เป็น ทฺ วารส แปลง ทฺวิ เป็น พา เป็น พารส ส. ทฺวาทศ.
ทฺวาปญฺญาส : (ไตรลิงค์) ห้าสิบสอง. ทฺวิ+ปญฺญาส แปลง อิ ที่ ทฺวิ เป็น อา โมคฯ สมาสกัณฑ์ ๙๗.
ทฺวิก : (วิ.) มีปริมาณสอง, มีปริมาณสอง. วิ. เทฺว ปริมาณานิ อสฺสาติ ทฺวิกํ. ก ปัจ.
ทฺวิชิวฺห : (ปุ.) สัตว์มีลิ้นสอง. งู. คนมีลิ้นสอง หมายถึงคนส่อเสียด. วิ. เทฺว ชิวฺหา ยสฺสโส ทวิชิโวฺห.
ทฺวิปท : (นปุ.) เท้าสอง, สองเท้า. วิ. เทฺว ปทานิ ทฺวิปทํ ทฺวิปทานิ วา.
ทฺวิปท ทฺวิปาท : (วิ.) มีเท้าสอง, มีสองเท้า. วิ. เทฺว ปทา ปทานิ วา ปาทา วา ยสฺส โส ทฺวิปโท ทฺวิปาโท วา. ส. ทฺวิปท.
ทฺวิรตฺต : (นปุ.) ราตรีสอง, สองราตรี. วิ. เทฺว รตฺติโย ทฺวิรตฺตํ. เอา อิ ที่ ติ เป็น อ รูปฯ ๓๓๔.
ทฺวิสต : (นปุ.) ร้อยสอง, สองร้อย. วิ. เทฺว สตานิ ทฺวิสตํ ทฺวิสตานิ วา. หมวดสอง แห่งร้อย วิ. สตสฺส ทฺวิกํ ทฺวิสตํ. ฉ. ตัป. ลบ ก แล้ว กลับบท รูปฯ ๓๙๙.
ทาว : (ปุ.) ป่า, ฟืน. ทวฺ เฉทเน, โณ. ส. ทาว.
ทิคุณ : (นปุ.) ชั้นสอง, สองชั้น. วิ. เทฺว คุณา ทิคุณํ.
ทิรตฺต : (นปุ.) คืนสอง, สองคืน. วิ. เทฺว รตฺติโย ทิรตฺตํ. รูปฯ ๓๙๔.
ทิรสญฺญู : (ปุ.) สัตว์ลิ้มรสด้วยลิ้นสองแฉก, งู. วิ. ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ รสํ ญายตีติ ทิรสญฺญู. ทฺวิรสสทฺทุปทํ, ญา อสฺสารทเน, รู. แปลง ทฺวิ เป็น ทิ เป็น ทฺวิรสญฺญู โดยไม่แปลง ทฺวิ บ้าง.
ทิเรท : (ปุ.) สัตว์มีงาสอง, ช้าง, ช้างพลาย. ทฺวิ+รท แปลง ทฺวิ เป็น ทิ.
ทุก : (วิ.) มีปริมาณสอง, มีประมาณสอง. วิ. เทฺว ปริมาณานิ อสฺสาติ ทุกํ.
ทุติย : (วิ.) (ชน) เป็นที่เต็มแห่งชน ท. สอง, สอง ที่สอง, เป็นเพื่อน. วิ. ทฺวินฺนํ ปูรโณ ทุติโย (ชโน). ทฺวินฺนํ ปูรณี ทุติยา (ติถิ). ทฺวินฺนํ ปูรณํ ทุติยํ (กุลํ). ทฺวิ+ติย ปัจ. ปูรณตัท แปลง ทฺวิ เป็น ทุ รูปฯ ๓๙๔.
ทุธา : (อัพ. นิบาต) โดยส่วนสองง ทฺวิ+ธาปัจ. วิภาตตัท. แปลง ทฺวิ เป็น ทุ.
ทุรตฺต : (นปุ.) ราตรีสอง, สองราตรี. วิ. เทฺว รตฺติโย ทุรตฺตํ. แปลง ทฺวิ เป็น ทุ อิ ที่ รตฺติ เป็น อ รูปฯ ๓๙๔.
ทุวงฺค : (นปุ.) องค์สอง, สององค์. วิ. เทวฺ องฺคานิ ทุวงฺศํ. แปลง ทฺวิ เป็น ทุ วฺ อาคม.
ทุวิธ : (วิ.) มีอย่างสอง, มีสองอย่าง. วิ. เทฺว วิธา ยสฺส โส ทุวิโธ.
โทณี : (อิต.) เรือชะล่า โบราณเขียนฉะหล้า, สัดจอง (ทุ่น แพ เรือ), เรือโกลน. วิ. ทวติ วหตีติ โทณี. ทุณฺ คติหึสาสุ, อ, อิตฺถิยํ อี.
โทหฬ : (ปุ.) ฉันทะนี้แห่งบุคคลผู้มีหทัยสอง, ฉันทะอันเป็นการทำแห่งบุคคลผู้มีหทัย สอง, ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, การอยาก, การแพ้ท้อง, ความอยาก, ความปรารถนา, ตัณหา. โทหปุพฺโพ, ลา อาทาเน, อ, ลสฺส ฬตฺตํ ทฺวิปุพฺโพ วา, หลฺ กมฺปเน, อ, ทฺวิสฺสโท, ลสฺส โฬ. ทุฏฐ หทย เมเตนาติ วา โทหโฬ. ทุฏฐสฺส โท, ทหยสฺสหโฬ เทฺว หทยา อสฺส ปรมตฺถสฺสาติ วา โทหโฬ. ทวิสฺส โท, หทยสฺส หโฬ. หรือแปลง ทฺวิ เป็น โท แปลง ท เป็น ฬ ลบ ย. ทุธา หทยํ เอตีติ โทหโฬ. ฎีกาอภิฯ วิ. โทหํ ลาตีติ โทหโฬ. ส. โทหล.
ป : อ. ทั่ว
ปโทล : (ปุ.) กระดอม, ขี้กา, เทพชาลี. วิ. ปํ สีสโรคาทิกํ วา ทวติ ทุโนติ วา หึสติ วินาเสตีติ ปโทโล. ปปุพฺโพ, ทุ หึสายํ, โล, อโล วา.
ปริทฺทว ปริเทว : (ปุ.) การร้อง, การร้องไห้, ร่ำไร, การร้องไห้ร่ำไรรำพัน, การรำพัน, การพิไรรำพัน, การบ่นเพ้อ, การคร่ำครวญ ความร้องไห้, ฯลฯ, เทวษ. ปริปุพฺโพ, เทวฺ เทวเน, อ, ยุ. แปลงปริเทว เป็น ปริทฺทว. ปริเทโว เอว ปริทฺทโว.
ปริเทวน : (นปุ.) การร้อง, การร้องไห้, ร่ำไร, การร้องไห้ร่ำไรรำพัน, การรำพัน, การพิไรรำพัน, การบ่นเพ้อ, การคร่ำครวญ ความร้องไห้, ฯลฯ, เทวษ. ปริปุพฺโพ, เทวฺ เทวเน, อ, ยุ. แปลงปริเทว เป็น ปริทฺทว. ปริเทโว เอว ปริทฺทโว.
ปริเทวนา : (อิต.) การร้อง, การร้องไห้, ร่ำไร, การร้องไห้ร่ำไรรำพัน, การรำพัน, การพิไรรำพัน, การบ่นเพ้อ, การคร่ำครวญ ความร้องไห้, ฯลฯ, เทวษ. ปริปุพฺโพ, เทวฺ เทวเน, อ, ยุ. แปลงปริเทว เป็น ปริทฺทว. ปริเทโว เอว ปริทฺทโว.
พตฺตีส : (อิต.) สามสิบสอง. ทฺวิ+ตึส แปลง ทฺวิ เป็น พา รัสสะ ซ้อน ตฺ.
พารส : (ไตรลิงค์) สิบสอง. ทวิ+ทส แปลง ทฺวิ เป็น พา ท เป็น ร. รูปฯ ๓๙๖.
พาล : (วิ.) ผู้ตัดประโยชน์ทั้งสองอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าประโยชน์ของตนและประโยชน์ของบุคคลอื่น, เขลา, โง่, เซอะ, พาล. วิ. เทฺว อตฺตตฺถปรตฺถสํขาเต อตฺเถลุนาตีติ พาโล. ทฺวิ+ลา ธาตุ ในความตัด อ ปัจ. แปลง ทฺวิ เป็น พา. อ่อน, ไร้เดียงสา, เล็ก. พลฺ ปาณเน, โณ แปลว่า ชั่ว, ร้าย, ดุ, ดุร้าย อีกด้วย.
สกล : ค. ทั่ว, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น
อา : (อัพ. อุปสรรค)ต้อง, ทั่ว, ถึง, พอถึง, จดถึงอุ. อา ปพฺพตา เขตฺตํ.ยิ่ง, ใกล้, มาใกล้, จนถึง, โดยยิ่ง, โดยรอบ, ก่อน, ออก, บน, ปรารถนา, ผูก, จาก, อยู่, เรียก, ถือ, ยาก, น้อย, กลับ, ไม่เลื่อมใส, รบ, ที่อาศัย, รวบรวม, ประมวลมา, เสมอ ๆ, อัศจรรย์, กลับความคือเมื่อนำธาตุแล้วจะกลับความเดิมของธาตุ.
อาสว : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไป ทั่ว ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไปใน ภพทั้ง๓๑ภพ, กิเลสเครื่องหมักดอง, กิเลส, อันตราย, อุปัททวะ, เหล้าอันบุคคลทำด้วย ดอกไม้, น้ำดอง, สุรา, เมรัย. ในที่ต่าง ๆ แปลว่า เมรัย เท่านั้น แต่ อภิฯ แปลว่า สุรา ด้วย. อาปุพฺโพ, สุ ปสเว, โณ.
อุปทฺทว : (ปุ.) อันตรายเครื่องเข้าไปประทุษ ร้าย, อันตรายเครื่องเข้าไปเบียดเบียน, ความคับแค้น, ความลำบากยากแค้น. ความอัปรีย์, ความจัญไร, จัญไร, อันตราย, อุปัททวะ, อุบาทว์. วิ. อุปคนฺตวา ทุโนตีติ อุปทฺทโว. อุปปุพฺโพ, ทุ ปริตาเป หึสายํ วา, อ. อุปคนฺตฺวา ทวตีติ วา อุปทฺทโว. อุปทวนํ วา อุปทฺทโว. ส. อุปทฺรว.
ทิพฺพภูสา : (อิต.) ผ้าอันเป็นทิพย์, ผ้าทิพ, ผ้า ทิพย์, ผ้าทพ ผ้าทิพย์ ชื่อผ้าที่ห้อยตรง หน้าฐานพระพุทธรูป ทำเป็นลายผ้า เมื่อปั้นหุ่นฐานพระพุทธรูป เมื่อเทวัตถุอะไรลงไปตามที่ต้องการก็สำเร็จเป็นผ้าทิพย์พร้อมกับฐานนั้น. อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของพระราชอาสน์พนักพลับพลา.