สมย : (ปุ.) ขณะ, ครั้ง, ครา, คราว, หน, กาล, เวลา, ฤดู, โอกาส. วิ. สํ ปุนปฺปุนํ เอติ อยติ วาติ สมโย. สํปุพฺโพ, อิ อยฺ วา คติยํ, อ. การได้, การถึง, การเห็น, ความเห็น, ลัทธิ, มติ, ทิฏฐิ, ความพร้อมเพรียง, ความพร้อมเพรียงแห่งเหตุ, การณะ, เหตุการประชุม, หมวด, หมู่, กอง, คณะ. วิ. สมนฺตโต อยนํ คติ สมโย. การแทงตลอด, ฯลฯ. วิ. สํสุฎชุ สมฺมา วา อวิปริตากาเรน อยิตพฺโพ ญาตพฺโพติ สมโย. การละ, การสละ, การทิ้ง, การปล่อย, การวาง. ส. สมย.
กุทิฏฐิ : อิต. ความเห็นชั่ว, ความเห็นผิด, มิจฉาทิฐิ
อกิริยทิฏฐิ : (อิต.)ความเห็นว่ากรรมอันบุคคลทำแล้วไม่เป็นอันทำ. ความเห็นว่าบุญหรือบาปที่บุคคลทำแล้วไม่เป็นอันทำ คือเห็นว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว.
อุจฺเฉททิฏฐิ : อิต. ความเห็นว่าตายแล้วขาดสูญ
ติตฺถ : (นปุ.) ท่า, ท่าน้ำ, ท่าเป็นที่ข้าม, ท่า ข้าม, ทิฏฐิ คือความเห็นนอกพุทธศาสนา, ลัทธิ ( นอกพุทธศาสนา), อุบาย ( เหตุ ), น้ำศักดิ์สิทธิ์. ตรฺ ปฺลวนตรเณสุ, โถ, อสฺส อิตฺตํ, ทฺวิตฺตํ ( แปลง ถ เป็น ตฺถ), รโลโป. หรือแปลง รฺ เป็น ตฺ ก็ไม่ต้องแปลง ถ เป็น ตฺถ. ส. ตีรถ.
อกุสลเจตสิกธมฺม : (ปุ.) เจตสิกธรรมอันเป็นอกุศล, อกุศลเจตสิกธรรม มี ๑๔ ดวง คือ โมหะ อหิริกะ อโนตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสามัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ และ วิจิกิจฉา.
นตฺถิกทิฏฺธิ : (อิต.) ความเห็นว่าบุญและบาป ไม่มี วิ. นตฺถิกํ ปุญฺญปาปํ อิติ ทิฏฺฐ นตฺถิกทิฏฺฐ. นัตถิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง มีความเห็นปฏิเสธความดีหรือความชั่วที่คนทำแล้วว่าไม่มีผลแก่ผู้ทำ.
ตชฺชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ ภิกษุผู้อันสงฆ์จะต้องคุกคาม, ตัชนียกรรม เป็นชื่อการลงโทษอย่างหนึ่งตามพระวินัย ซึ่งสงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีความผิด ๓ ประการ คือ เป็นผู้ประพฤติไม่เหมาะสม คือ ๑ . ๑ มักทำการบาดหมาง ทะเลาะ – วิวาท ฯลฯ ๑ . ๒ เป็นพาลมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ . ๓ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่ สมควร เป็นผู้มีศีลวิบัติ อาจารวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ และ ๓. กล่าวติเตียน พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ลงตัชนิยกรรมได้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัติติจตุตถกรรมวาจา ไตร. ๖/๓
ตณฺหามานทิฏฺฐิอิญฺชิต : (วิ.) (กิเลสชาต กิเลส ชาติ) อันบุคคลให้หวั่นไหวคือตัณหาและ มานะ และทิฏฐิ.
ทฺวาสฏฺฐทิฏฺฐ : (อิต.) ทิฏฐิหกสิบสอง, ลัทธิ หกสิบสอง.
ทิฏฺฐวิปตฺติ : (อิต.) ความคลาดเคลื่อนโดยความเห็น, ความคลาดเคลื่อนด้วยความเห็น, วิบัติเพราะความเห็น, ทิฏฐิวิบัติ (เห็นผิดจากความเป็นจริง).
ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ : อิต. ทิฏฐิวิสุทธิ, ความหมดจดแห่งทิฐิ, ความเห็นบริสุทธิ์, ความเห็นถูกต้อง
ปาขณฺฑ : ป. คนมิจฉาทิฏฐิ, คนมีความเห็นผิด
ภว : (ปุ.) ความมี, ความเป็น, ความเจริญ, ความเกิด, การเกิด, การถึง, ธาตุมีกามธาตุเป็นต้น, สังสาร, สัสสติทิฏฐิ, ประเทศที่เกิด, ที่เกิด, ภพ. ภู สตฺตายํ, อ. แปลว่า โลก แผ่นดิน ก็มี.
ภวตณฺหา : (อิต.) ความอยากในความมี, ความอยากในความเป็น, ความอยากในความเกิด, ความปรารถนาในความมี, ฯลฯ, ความอยากมี, ฯลฯ, ตัณหาเป็นไปในภพ, ตัณหาในภพ, ความกำหนัดแห่งจิตอันสหรคตด้วยภวทิฏฐิ, ความอยากเป็นอยู่ในภพ, ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่.
มิจฺฉตฺตนิยตธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและธรรมเป็นนิยตะ, ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน ได้แก่ อนันตริยกรรมและนิยตมิจฉาทิฏฐิ. ไตร. ๓๓.
มิจฉาทิฏฺฐ : (อิต.) ความเห็นผิด, ความเห็นที่ผิด, ลัทธิเป็นเครื่องเห็นผิด. มิจฺฉาทสฺสนํ มิจฺฉาทิฏฺฐ. แก้มิจฉาทิฏฐิ ได้โดย ๑. ธัมมัสสวนะ ฟังธรรม ฟังบรรยายธรรม จากท่านผู้รู้ถูกต้อง เทศน์สอน อ่านหนังสือธรรม ที่ท่านผู้รู้ถูกต้องเขียน ๒. ธัมมานุสสรณะ หมั่นทบทวนคำสอน ๓. ธัมมาสากัจฉา สนทนาธรรมกับท่านผู้รู้ถูกต้อง.
สปฺปุริส : (ปุ.) บุรุษผู้สงบแล้ว, สัปปุรุษ, สัปบุรุษ, สัตบุรุษ(คนสัมมาทิฏฐิ). วิ. สนฺโต ปุริโส สนปฺปุริโส, แปลง สนฺต เป็น ส ซ้อน ปฺ. ส. สตฺปุรุษ.
สมฺมาทิฏฐ : (อิต.) ความเห็นชอบ, ความเห็นโดยชอบ. วิ. สมฺมาทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ความเห็นโดยชอบคือโดยไม่วิปริต วิ. สมฺมา อวิปริตโต ทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ปัญญาอันเห็นชอบ, ปัญญาเห็นชอบ. สมฺมาปุพฺโพ, ทิสฺ เปกฺขเณ, ติ, ติสฺส ฏฐ, สฺโลโป. สัมาทิฆฐิ แบ่งเป็น ๒ คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ อย่าง ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิอย่าง ๑ อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ อย่างธรรมดา ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดี ได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว พ่อ แม่ มีบุญคุณ เป็นต้น สัมมาทิฏฐิอย่างสูง ได้แก่ความเห็นอริยสัจ ๔.
สมฺมาทิฏฺฐก : (วิ.) ผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ, ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ.
สาธุชน : (ปุ.) คนดี, คนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ.
อนุสย : (ปุ.) ความเดือดร้อนในภายหลัง(ปจฺฉาตาป), ความเดือดร้อนใจ (วิปฺปฏิสาร)ความติดตาม (อนุพนฺธ), ความเป็นไปบ่อยๆ, ความเป็นไปเสมอ (ปุนปฺปุนํ ปวตฺตนํ), ธรรมเป็นที่นอนตาม, อนุสัย.วิ.สนฺตาเนอนุเสนฺตีติอนุสยา.อนุรูปํการณํลภิตฺวาเสนฺติอุปฺปชฺชนฺตีติวาอนุสยา.อนุเสตีติวาอนุสโย.สิสีวาสเย, อ.อนุสัยเป็นชื่อของกิเลสอย่างละเอียดมี ๗ คือกามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะและอวิชชาซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่เมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบอายตนะภายในก็ดูเหมือนเป็นคนไม่มีกิเลสแต่ความจริงอนุสัยทั้ง ๗ มีอยู่ จะเรียกคนอย่างนี้ว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้ คำนิพพานที่ใช้ในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสเรียกเฉพาะผู้ที่ละกิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๗ นี้ได้สิ้นเชิงเป็นสมุจเฉทฉะนั้น จะเรียกคนที่มีกายวาจาและใจดูเรียบร้อย แต่ใจยังมีอนุสัย ๗ อยู่ แม้ผู้นั้นจะได้ฌานชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้ง ๘ ชั้นก็ตามว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้.อนุสัย ๗ นี้ละได้ด้วยปัญญา (วิปัสสนา) อย่างเดียว.ส.อนุศย.
อปรนฺตกปฺปิก : ค. ผู้ยึดถือในการกำหนดที่สุดเบื้องปลาย (ในทิฏฐิ ๖๒)
อเหตุกทิฏฺฐิ : (อิต.) ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, ความเห็นว่าหาเหตุมิได้.ความเห็นว่าหาเหตุมิได้.ความเห็นว่าคนเราจะได้ดีหรือว่าได้ร้าย เป็นไปตามเคราะห์ดีหรือเคราะห์ร้ายถึงคราวเคาะห์ดีก็ดีได้เองถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ร้ายได้เองจัดเป็นอเหตตุกทิฏฐิ.
อุจฺเฉทฺทิฏฺฐิ : (อิต.) ความเห็นว่าขาดสูญ, อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่า คนและสัตว์ ตายแล้ว ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ คือขาดสูญ ไม่เกิดอีก ความเห็นนี้ปฏิเสธกัมมวัฏ.
ทฏฺฐ : กิต. (อันเขา) กัดแล้ว, ขบแล้ว, ถูก...กัดแล้ว
ทฏฺฐุ : ป. บุคคลผู้เห็น
ทิฏฺฐ : (ปุ.) ความยินดี, ความพอใจล ความแช่มชื่น. ตุสฺ ตุฎฺฐยํ, โต. แปลง ต เป็น ฎฺฐ ลบ สฺ แปลง อุ เป็น อิ แปลง ตฺ เป็น ทฺ.
ทิฏฺฐิ : อิต. ทิฐิ, ความเห็น, ทฤษฎี, ความเชื่อถือ, หลักสิทธิ; ความเห็นผิด
ทุฏฺฐ : (วิ.) คนอันโทษประทุษร้ายแล้ว, คนฉุนฉียว, ฯลฯ. ทุสฺ โทสเน, โต.
ทุฏฺฐุ : (อัพ. นิบาต) ติเตียน, นินทา, ชั่ว, ร้าย, น่าเกลียด. วิ ทุฏฺฐาติ ปวตฺตติ อสุนฺทรภาเวนาติ ทุฏฺฐุ. ทุปุพฺโพ, ฐา คตินิวุตฺติยํ, อุ. ฏฺสํโยโค.
ทิฏฺฐธมฺม : (ปุ.) สิ่งอันตนเห็นแล้ว, สิ่งอัน...เห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม. คำ ทิฏฐธรรม มีความหมายดังนี้ ความเป็นไปในปัจจุบัน, โลกนี้, ภพนี้, ชาตินี้, ปัจจุบัน; ปัจจุบัน ชาติ, ปัจจุบันภพ. วิ. ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฺฐธมฺโม. ทิฏฺฐธมฺโม นาม ปจฺจกฺข- อตฺตภาโว.
ทุคฺคนฺธ : (วิ.) มีกลิ่นชั่ว, มีกลิ่นเหม็น. วิ. ทุฏฺโฐ กุจฺฉิโต วา คนฺโธ อสฺสาติ ทุคฺคนฺโธ.
ทุทิน ทุทฺทิน : (นปุ.) วันพยับฝน, วันอากาศ ชื้น, วันฟ้าชอุ่ม, วันฟ้าชอุ่มฝน, วันมืด ฝน, วันครึ้มฟ้าครึ้มฝน, ทุรทิน. วิ. ทุฏฺฐุ ทุฎฐ วา ทินํ ทุทินํ ทุทฺทินํ วา.
ทุมน ทุมฺมน : (วิ.) มีใจอันโทษประทุษร้าย แล้ว วิ. ทุฏฺโฐ มโน ยสฺส โส ทุมโน ทุมฺมโน วา. มีใจชั่ว, มีใจชั่วร้าย วิ. ทุ ทฏฺโฐ มโน อสฺสาติ ทุมโน. เสียใจ ยินร้าย วิ. ทุฏฺฐุ ทุกฺขิตํ วา มโน ยสฺส โส ทุมโน. ศัพท์ หลังซ้อน มฺ.
ทุสฺสีล : (วิ.) ผู้มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว. วิ. ทุฏฺฐ สีลํ ยสฺส โล ทุสฺสีโล. ผู้มีศีลชั่ว ผู้มี ศีลเสีย ผู้ทุศีล (ไม่มีศีล). ทุ+สีล ซ้อน สฺ.
อตฺตทิฏฺฐิ : (อิต.) ความเห็นว่าเป็นตน วิ. อตฺตาอิติ ทิฏฺฐิ อตฺตทิฏฺฐิ