เอว : (อัพ. นิบาต) ฉันนั้น, อย่างนั้น, นี้, อย่างนี้, ด้วยประการนี้, ด้วยประการอย่าง นี้, ด้วยประการนั้นเทียว, เท่านั้น, อย่างนั้น. ที่ใช้เป็นประธาน เอวํ อ. อย่างนั้น, อ. อย่างนี้ ที่ใช้เป็นคำถาม เหน็บคำว่า “หรือ”.
ฉพฺพณฺณรสิ : (อิต.) รัศมีมีสีหก. ฉัพพัณณรังษี. รัศมี ๖ ประการนี้ คือ เขียวเหมือนดอก – อัญชัน เรียกนีละ ๑ เหลืองเหมือน หอ – ระดาล เรียก ปีตะ ๑ แดงเหมือน ตะวัน อ่อน เรียก โลหิตะ ๑ ขาวเหมือนแผ่นเงิน เรียก โอทาตะ ๑ สีหงสบาทเหมือนดอก เซ่งหรือดอกหงอนไก่ เรียกมัญเชฏฐะ ๑ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผนึก เรียก ปภัสสร รัศมีทั้ง ๖ นี้ แผ่เป็นวงกลมอยู่ เบื้องหลังพระเศียรของพระพุทธเจ้า. พระ พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้พระอัครสาวก ก็ ไม่มีรัศมีทั้ง ๖ นี้.
เปยฺยาล : (ปุ.) เนื้อความเพื่อความเป็นของอันบัณฑิตพึงรักษาไว้, เนื้อความควรเพื่ออันให้พิสดาร, เนื้อ ความควรเพื่ออันรักษาไว้, เปยยาล, ไปยาล. ในไวยากรณ์ใช้เป็นเครื่องหมายละคำ รูป“ฯ” นี้ เรียกว่า ไปยาลน้อย รูป “ฯลฯ” หรือ “ฯเปฯ” เรียกว่า ไปยาลใหญ่.
พฺยาธิ : (ปุ.) ภาวะอันเสียดแทง, ภาวะที่เบียดเบียน, ภาวะอันบีบคั้นใจ, ภาวะอันทำลาย, ความบีบคั้น, ความเจ็บไข้, โรค, พยาธิ. วิ. วิชฺฌตีติ วฺยาธิ วา. วิธฺ วิชฺฌนาพาธเนสุ, อิ. แปลง อิ ที่ วิ เป็น ย ลง อา อาคม. อภิฯ. คำ พยาธิ ในพจนาฯ ให้อ่านว่า พะยาด และให้ความหมายว่า ได้แก่ตัวเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่เกิดในกายและเชื้อโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากผิวหนัง ผู้เขียนพจนาฯ มคธ นี้ ว่า ที่เป็นชื่อของโรคผิวหนัง อ่านเรียงพยางค์ว่า พะ-ยา-ธิ เหมาะกว่า.
อย : ป., อิต. (คน) นี้
อิม : (ไตรลิงค์) นี้. อยํ ซึ่งสำเร็จรูปมาจาก อิมศัพท์ แปลว่า “ดังต่อไปนี้” ได้ในบาง กรณีย์. ส. อิทมฺ.
อิห : (อัพ. นิบาต) ใน...นี้. อิม ศัพท์ ห ปัจ. แปลง อิม เป็น อิ.
เอตฺถ : (อัพ. นิบาต) ใน...นี้. เอต แปลงมาจาก อิม ถ ปัจ ลบ อ ที่ ต อภิฯ. หรือลง ตฺถ ปัจ. แปลง เอต เป็น เอ.
กจฺฉพนฺธน : (นปุ.) ายกระเบน, หางกระเบน. โจงกระเบน เป็นชื่อชายผ้าที่ม้วนลอดขา แล้วเหน็บไว้ข้างหลัง การนุ่งผ้าแบบนี้เป็น ผืนผ้าธรรมดา กว้าง ๑ หลา ยาว ๒.๕๐ เมตร สำหรับคนเล็กเตี้ยถ้าเป็นคนสูงใหญ่ กว้าง ๑ x ๓ เมตร เอาผืนผ้าโอบรอบตัว จับชายผ้าให้เสมอกัน แล้วห้อยลง เอาหัว เข่าหนีบไว้มิให้ผ้าเลื่อน มือรีดผ้ามาถึงเอว รวบริมผ้าทำเป็นจุกไขว้กันแล้วเหน็บไว้ที่ สะดือ เรียกว่าพกแล้วจับชายผ้าที่หนีบไว้ ขึ้นมาม้วนขวา ค่อย ๆ ม้วน ม้วนไปรีดไป ให้แน่น พอผืนผ้ากระชัยตัวดีแล้ว ดึงลอด ขา โดยยกขาขวา หรือขาซ้ายขึ้นเล็กน้อย ดึงชายสุดที่ม้วนไว้ขึ้นเหน็บไว้ที่กลางหลัง เรียกผ้าที่ม้วนไปเหน็บไว้ อย่างนี้ว่า ชาย กระเบน หรือหางกระเบน.
กฏจฺฉุ : (ปุ.) จวัก ตวัก ของคำนี้เป็นชื่อของ เครื่องใช้สำหรับตักข้าวหรือแกง ทำด้วย กะลามะพร้าว มีด้ามไม้ยาวคล้ายทัพพี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจ่า หรือกระจ่า, ทัพพี, ทรพี, ช้อน, ถ้วย. กฏฺ คติยํ, ฉุ, ทฺวิตฺตํ กฏจฺฉุ ที่มาคู่กับ ทพฺพิ ควรแปล กฏจฺฉุ ว่า ช้อน หรือ ถ้วย.
กมฺมชรูป กมฺมชฺชรูป : (นปุ.) รูปอันเกิดแต่ กรรม, กัมมชรูป กัมมัชชรูป คือรูปที่ กรรมสร้าง มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น เกิด พร้อมกับปฏิสนธิจิต เพราะจิตยังอาศัยรูป นี้อยู่ และเกิดดับเป็นสันตติ จนถึงจุติจิต (มรณสันนวิถี). ส. กรฺมชรูป.
กาก : (ปุ.) กา. นกกา, อีกา (ภาษาพูด). คำ กา นกกา นี้เดิมเขียน กาก์ นกกาก์ ปัจจุบันเขียน กา ตามพจนาฯ วิ. กาติ (กา อิติ) สทฺทํ กโรตีติ กาโก. กาปุพฺโพ, กรฺ กรเณ, กฺวิ. กา สทฺเท วา, โก. กกฺ โลลิเย วา, โณ. ส. กาก.
กากบาท : (ปุ.) เท้าของกา, กากบาท ใช้เรียก รูปวรรณยุกต์ + เมื่อลงวรรณยุกต์นี้แล้ว ออกเสียงจัตวา และใช้เรียกรูป + (บวก) และรูป X (คูณ) คือใช้เรียกได้ทั้งเครื่อง หมายบวกและเครื่องหมายคูณ.
กาสาย กาสาว : (นปุ.) ผ้าอันบุคคลย้อมแล้ว ด้วยรสฝาด, ผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยน้ำ ฝาด, ผ้าย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมด้วยน้ำ ฝาด, ผ้ากาสายะ, ผ้ากาสาวะ, จีวร. วิ. กสาเยน กสาเวน วา รตฺตํ วตฺถํ กาสายํ กาสาวํ วา. ณ ปัจ. ราคาทิตัท. คำจีวรใน ที่นี้ หมายเอาเฉพาะผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดใน ความหมายของพระพุทธศาสนา.
กาฬติปุ : (นปุ.) ตะกั่ว, เหล็กวิลาศ (พจนาฯ เป็นเหล็กวิลาด), ดีบุก. กาฬปุพฺโพ, ติปฺ ปีณเน, อุ. ติปุ ศัพท์เดียวก็แปลเหมือนกันนี้.
กาฬาวก : (ปุ.) กาฬาวกะ ชื่อตระกูลช้าง ตระกูลที่ ๑ ใน ๑๐ ตระกุล วิ. กลมฺพเต สทฺทายเตติ กาฬาวโก. ณฺวุ, มฺโลโป. ฎีกา อภิฯ อีก ๙ ตระกุล คือ คงฺเคยฺย ปณฺฑร ตมฺพ ปิงฺคล มงฺคล เหม อุโปสถ ฉทฺทนฺต, คนฺธ. ทั้ง ๑๐ ตระกูลนี้ ทางพม่าและฏีกา อภิฯ เป็น นปุ.
กิมุ, กิมุต : อ. หรือ, หรือว่า, หรือไม่, อย่างใด, เท่าใด, เหมือนอย่างนี้
กิเลสวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) วนคือกิเลส, กิเลสวัฏ. กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์วนคือท่องเที่ยวหรือ เวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ เพราะเมื่อ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรมเมื่อทำ กรรมแล้วจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เมื่อเสวยผลของกรรมอยู่ กิเลสก็เกิดขึ้น อีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหัตต- มรรคจะตัดให้ขาดลง. ธรรมปริจเฉทที่ ๒.
กึ : (นปุ.) อะไร, ประโยชน์อะไร. เวลาแป คุดคำว่าประโยชน์เข้ามา เช่น กึ อ. ประโยชน์อะไร หรือโยค ปโยชนํ เป็น กึ ปโยชน์ อ. ประโยชน์อะไร. เอสา เต อิตฺถี กึ โหติ. สตรีนี้เป็นอะไรของท่าน?. เอเต มนุสฺสา ตุมฺหากํ กึ โหนฺติ. คนเหล่านี้ เป็นอะไรของท่าน. กึ ศัพท์ในที่นี้เป็น วิกติกกัตตา.
กุกฺกุฏณฺฑ : (นปุ.) ไข่ไก่. กุกฺกุฏ+อณฑ. ไข่ ของสัตว์อื่นดด นักศึกษาพึงประกอบศัพท์ โดยเอาศัพท์นี้เป็นอุ.
กุเวร : (ปุ.) กุเวร ท้าวกุเวร ชื่อท้าวจตุโลกบาล องค์ที่ ๔ ประจำทิศอุดร องค์นี้มี ๔ ชื่อ คือ ยกฺขาธิป เวสฺสวณ กุเวร นรวาหน วิ. กุจฺฉิโต เวโร สรีร มสฺสาติ กุเวโร.
ขาณุ ขานุ ขานุก : (ปุ. นปุ.) ตอ, ตอไม้, หลัก, หลักตอ. อภิฯวิ. ขญฺญติ อวทารียตีติ ขาณุ. ขณุ อวทารเณ, ณุ, ณสฺสา (แปลง ณ ตัวธาตุ เป็น อา). กัจฯ ๖๗๑ วิ. ขณิตพฺโพ อวทาริต- พฺโพติ ขาณุ ขานุ วา. กัจฯ และ รูปฯ ลง ณุ นุ ปปัจ. ตัวนี้ไม่ลบ ศัพท์หลังลง ก สกัด.
คณาจริย : (ปุ.) อาจารย์ของหมู่, คณาจารย์ (อาจารย์ของมหาชน). ภาษาพูด เรียก พระที่มีวิชาอาคมขลังว่าพระคณาจารย์ ซึ่งมีความหมายไม่ตรงกับศัพท์นี้.
คพฺโภทร : (นปุ.) เนื้อนี้ของโค วิ. คุนฺนํ อิทํ มํสํ คพฺยํ. ย ปัจ. โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๓๕. สิ่งนี้มีอยู่ในวัว วิ. คเว ภวํ คพฺยํ. ณฺย ปัจ. ชาตาทิตัท. รูปฯ ๓๖๓.
คุคฺคุล คุคฺคุฬ คุคฺคฬุ คุคฺคุฬุ : (ปุ.) ไม้กำกูน, ไม้กำคูน(สองชื่อนี้ เป็นไม้อย่างเดียวกัน), ภาษาเก่าใช้ว่า คำคูน คำคูล. คูน ต้นคูน (ดอกเป็นช่อยาวสีเหลืองราชพฤกษ์ก็เรียก). โรคหรเณ คุรุโนปิ เวชฺชสฺส คุรุ คุคฺคุฬุ.
คุจฉ : (นปุ.?) พวงมาลัย, ช่อดอกไม้, ฟ่อน- หญ้า, ผ้าผูกคอ, มัด, ห่อ (สองคำนี้เป็น นามนาม). สิ. คุจฺฉ คุชฺช.
เคหวตฺถุ : (นปุ.) บ้านและวัตถุ. บ้าน, เรือน, เหย้า. ๓ คำแปลนี้ วตฺถุ สกัด.
จีวร : (นปุ.) ผ้า วิ. จียตีติ จีวรํ. จิ จเย, อีวโร. ศัพท์จีวร นี้แปลว่าผ้า หมายถึงผ้าทุกชนิด ไทยนำคำจีวรมาใช้ออกเสียงว่า จีวอน ใช้ ในความหมาย ๒ อย่างคือหมายถึงผ้าของ ภิกษุทั้ง ๓ ผืน ได้แก่ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และ ผ้าสังฆาฏิ ได้ในคำว่า บาตรจีวร หรือไตร จีวรอย่าง ๑ หมายเอาเฉพาะผ้าห่มอย่าง เดียวได้ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ นี้อีก อย่าง ๑.
จีวรวส จีวรรชฺชุ : (ปุ.) ราวจีวร, สายระเดียง (ราวสำหรับตากผ้า แขวนผ้า ของพระ ใช้ หวายเป็นดี เพราะไม่เป็นสนิม) ถ้าศัพท์ทั้ง สองนี้มาคู่กัน แปล จีวรวํส ว่า ราวจีวร แปล จีวรรชฺชุ ว่า สายระเดียงจีวร.
ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
ชงฺเคยฺยก : (นปุ.) เครื่องประดับแข้ง, ชังเคยยกะ ชื่อกระทงจีวร เมื่อห่มแล้วกระทงนี้จะอยู่ รอบแข้ง. ชงฺฆา ศัพท์ เณยฺยก ปัจ. แปลง ชงฺฆา เป็น ชงฺคา เป็น ชงฺเฆยฺยก โดยไม่ แปลงบ้าง
ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
ตทคฺเค : ก. วิ. ตั้งแต่นี้ไป
ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
ตาลิส, - สก : นป. ต้นเฉียง ; ต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้ (ได้ผงและน้ำมันมาจากต้นไม้ชนิดนี้)
ตาลีส ตาฬีส : (อิต.) สี่สิบ. แปลง ทส ที่แปล ว่าสี่สิบ ( ทส นี้สำเร็จรูปมาจากสมาสแล้ว) เป็นจตฺตาร ลบ จต เหลือ ตาร แปลง ร เป็น ล ศัพท์หลัง แปลง ล เป็น ฬ ลงโย วิภัตติ แปลง โย เป็น อีส รูปฯ ๒๕๔, ๑๕๖ และ ๓๙๗.
ติจีวร : (นปุ.) ผ้าสามผืน, ผ้าไตร, ไตรจีวร. เครื่องนุ่งห่มของพระมี ๓ ผืน ได้แก่ สบง ผ้าสำหรับนุ่ง ๑ จีวรผ้าสำหรับห่ม ๑ สังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอกสำหรับกันหนาว หรือผ้าทบ ๑ มีพระบรมพุทธานุญาตให้ ภิกษุมีผ้าสามผืนเท่านี้ ผ้านอกนี้จะมีไว้ใช้ ต้องใช้กับของวิกัป.
ติตฺตก : (ปุ.) กระดอม, เทพชาลี, ขี้กา. ทั้ง ๓ ชนิดนี้เป็นไม้เลื้อย ผลมีรสขม ใช้ทำยา ไทย. ติตฺตรสตาย ติตฺตโก. ก สกัด.
ติตฺถิยปริวาส : (ปุ.) ติตฺถิยปริวาส ชื่อของ กรรมวิธีตรวจสอบเดียรถีย์ ผู้ที่จะมาบวช ในพุทธศาสนาว่าจะมีความเลื่อมใสแท้จริง หรือไม่ มีกำหนด ๔ เดือน ดูรายละเอียด ใน โตร. ๔ ข้อ ๑๐๐ วิธีนี้ควรจะเอามา ประยุกต์ใช้กับคนที่จะมาบวชในปัจจุบัน นี้บ้าง.
ติสรณคมนุปสฺปทา ติสรณคมนูปสมฺปทา : (อิต.)การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม, ติสรณคมนุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา คือการอุปสมบทด้วยการปกิญญาณตน ถึงไตรสรณคมน์ เป็นชื่อของวิธีอุปสมบท อย่างที่ ๒ ใน ๓ อย่าง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต วิธีอุปสมบทอย่างที่ ๓ แล้ว ทรงอนุญาตวิธีอย่างที่ ๒ นี้เป็นวิธี บรรพชาการบวชเป็นสามเณร.
ตุณฺห : (วิ.) นิ่ง ( เฉย เงียบ ไม่กระดุกกระดิก ไม่เคลื่อนไหว). ตุหฺอทฺทเน,โณฺห,หโลโป. อทฺทน แปลว่า เบียดเบียน ทำอันตราย ในที่นี้หมายความว่า เบียดเบียนความดัง หรือความเคลื่อนไหว.
ทกฺขิโณทก : (นปุ.) น้ำอันบุคคลพึงให้เพื่อทาน สมบัติอันเจริญ, ทักขิโณทก, ทักษิโณทก. เดิมคำนี้เป็นชื่อของน้ำที่เจ้าภาพถวายแด่ พระก่อนจะฉันภัตตาหาร เพื่อใช้บ้วนปาก ล้างมือหรือชุบมือ ( กรณีฉันด้วยมือ ) แต่ปัจจุบันนี้หมายถึงน้ำที่เจ้าภาพหลั่ง ( เทให้ใหลลงช้าๆ โดยไม่ขาดสาย ) เวลา ทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ล่วงลับไป แล้ว หรือเป็นชื่อของน้ำที่เจ้าของสิทธิ์ หลั่งลง เป็นการแสดงการมอบของที่ไม่ สามารถยกได้ให้เป็นสิทธิ์ขาด อีกอย่าง หนึ่ง เป็นชื่อของเต้าน้ำ ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเต้าษิโณทก คำกลอนมักตัดทักออก ใช้ว่า ษิโณทก.
ทณฺฑาทณฺฑิ : (นปุ.) การรบนี้ตีด้วยท่อนไม้ และตีด้วยท่อนไม้เป็นไป วิ. ทณฺเฑหิ จ ทณฺเฑหิ จ ปหริตฺวา อิทํ ยุทฺธํ ปวตฺตตีติ ทณฺฑาทณฺฑิ. ทีฆะในท่ามกลาง แปลง อ ที่สุดศัพท์เป็น อิ รูปฯ ๓๔๑.
ทานิ : อ. บัดนี้, เดี๋ยวนี้
ทารุ : (นปุ.) ไม้, เปลือกไม้, ท่อนไม้, ชิ้นไม้, ไม้แห้ง, ฟืน. วิ. ทรียตีติ ทารุ. ทรียนฺเต เอเตหีติ วา ทารุ. วิ. หลังนี้ จากโมคฯ. ทรฺ วิทารเณ, ณุ. ทารุ. ที่มาคู่กับไม้ไม่มีแก่น แปล ทารุ ว่าไม้จริง (ไม้มีแก่น). ส. ทารุ
ทิฏฺฐธมฺม : (ปุ.) สิ่งอันตนเห็นแล้ว, สิ่งอัน...เห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม. คำ ทิฏฐธรรม มีความหมายดังนี้ ความเป็นไปในปัจจุบัน, โลกนี้, ภพนี้, ชาตินี้, ปัจจุบัน; ปัจจุบัน ชาติ, ปัจจุบันภพ. วิ. ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฺฐธมฺโม. ทิฏฺฐธมฺโม นาม ปจฺจกฺข- อตฺตภาโว.
ทิฏฺฐธมฺมเวทนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอัน... พึง รู้ (เสวย) ในธรรมอัน...เห็นแล้ว, กรรมให้ผลในภพนี้, กรรมให้ผลในปัจจุบัน, กรรมให้ผลทันตาเห็น, กรรมให้ผลเห็น ทันตา.
ทีฆ : (วิ.) ยาว, นาน, ช้า, ช้านาน, ยั่งยืน ยืน นาน (สิ้นความเสื่อม). คำนี้ มักเขียนผิด เป็นทีฆ พึงระวัง. ที ขเย, โฆ. ส. ทีรฺฆ.
ทุจฺจริต : (นปุ.) ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติเสียหาย, บาป. วิ. ทุ กุจฺฉิตํ จริตํ ทุจฺจริตํ. สารัตถทีปนี วิ. ทุฏฐ จริตํ ทุจฺจริตํ. วิเสเสหิ วา ทูสิตํ จริตนฺติ ทุจฺจริตํ. ทูสิต นั้นคือ ทุสฺ โทสเน, โต, อิอาคโม, ทีโฆ. คำ ทุจจริตนี้ ไทยใช้ว่า คดโกง, ฯลฯ. ส. ทุรฺศฺจริต ทุรฺจริต.
ทุพภาสิตาปตฺติ : (อิต.) อาบัติทุพภาษสิต. ต้องอาบัตินี้ เพราะพูดล้อเล่น เย้าเล่น กับ อุปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน กระทบวัตถุมีชาติเป็นต้น พูดเจาะตัวหรือเปรยก็ตาม.