จตุปจฺจย : (ปุ.) เครื่องอาศัยเป็นไปสี่, เครื่อง อาศัยเลี้ยงชีวิตสี่อย่าง, ปัจจัยสี่. ปัจจัยสี่ คือจีวร (ผ้า) บิณฑบาต ( ข้าวปลาอาหาร ) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และคิลานเภสัช (ยารักษาโรค).
กฏาห : (นปุ.) กะโหลก, กระทะ, อ่าง, กระเบื้อง. ฆฏิกฏาเหน ปิณฺฑาย จรนฺติ. ภิกษุท. ใช้กระเบื้อง หม้อบิณฑบาต. ไตร. ๗/๕๒. ส. กฏาห.
โคจรคาม : (ปุ.) บ้านเป็นที่เที่ยวแห่งภิกษุราว กะว่าที่เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค, โคจรคาม คือ บ้านที่ภิกษุไปบิณฑบาตเสมอหมู่บ้านที่เป็นที่เที่ยวไปบิณฑบาตเสมอ หมู่บ้านที่ เป็นที่เที่ยวไปบิณฑบาตของสมณะ.
จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺช ปริกฺขาร : (ปุ.) จีวรและบิณฑบาตและ เสนาสนะและยาอันเป็นปัจจัยเพื่อภิกษุ ไข้และบริขาร.
ปิณฺฑปาต : ป. การบิณฑบาต, การยังก้อนข้าวให้ตกไป (ในบาตร)
ปิณฺฑปาติก : ค. ภิกษุผู้ถือการฉันอาหารที่ได้มาจากบิณฑบาตเป็นปกติ
ปิณฺฑปาติกตฺต : นป. ความเป็นแห่งภิกษุผู้ถือการฉันอาหารที่ได้มาจากการบิณฑบาต
ปิณฺโฑล : ค. ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต, ผู้แสวงหาบิณฑบาต
ปิณฺโฑลฺย : นป. การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต
ภิกฺขาจาร : (ปุ.) การเที่ยวไปเพื่ออันขอ, การเที่ยวไปเพื่ออันขออาหาร, การเที่ยวขออาหาร, การเดินบิณฑบาต, การเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษาจาร. ส. ภิกฺษาจาร.
โอสารณา : (อิต.) โอสารณา ชื่อของวินัยกรรม อันสงฆ์ทำคือ : การเรียก (รับ) สามเณรผู้กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย ถูกสงฆ์นาสนะผู้กลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว ให้เข้าหมู่ได้ โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีอปโลกนกรรม. การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งได้รับการไล่เรียง (ซักซ้อม) อันตรายิกธรรม ที่นอกเขตประชุมสงฆ์ (ห่างจากสงฆ์) ๑๒ ศอกแล้ว ให้เข้าหมู่สงฆ์ได้โอสาร- ณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติกรรม. การหงายบาตรแก่คฤหัสถ์ผู้ประพฤติให้ร้ายแก่พระศาสดา (ศาสนา)ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือไม่คบ ไม่รับกิจนิมนต์ ไม่รับบิณฑบาต ภายหลังรู้สึกตนกลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติทุติยกรรม. ๔. การยกโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ซึ่งถูกสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมผู้ กลับประพฤติดีแล้ว โอสารณานี้สงฆ์ ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม.