คณฺฐิปาย : ป. แร้ว, บ่วง, เหยื่อล่อ
ปาส : ป. มวยผม; บ่วง, แร้ว; รูลูกดม
พนฺธน : (นปุ.) การผูก, ฯลฯ, การจำ, การจองจำ, เครื่องผูก, เครื่องจองจำ, จั่น, ห่วง, บ่วง, แร้ว. ยุ ปัจ.
วากรา, (วาคุรา) : อิต. ตาข่าย, บ่วง
พทฺธ : (ปุ.) บ่วง. พนฺธฺ พนฺธเน, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบ นฺธฺ.
มิคพนฺธนี มิควนฺธนี มิคพนฺธีนี : (อิต.) เครื่องดัก, บ่วง. วิ. มิเค พนฺธตีติ มิคพนฺธินี, มิคปุพฺโพ, พนฺธฺ พนฺธเน, ยุ, อิตฺถิยํ อี, อินี วา. ศัพท์ที่ ๒ แปลง พ เป็น ว.
คณฺฐิปาส : (ปุ.) บ่วง, แร้ว, จั่น. คณฺฐิ+ปาส.
คณฺฐิปาส : ป. บ่วง, แร้ว, จั่น, เครื่องล่ามเท้า
พนฺธ : (ปุ.) บ่วง, บ่วงผูก.
มิคพนฺธินี : อิต. บ่วง, เครื่องดัก
อุจจาลิงฺค : (ปุ.) บ่วง, แร้ว, จั่น.
กลิงฺค : (ปุ.) นกกระแวน, นกกาแวน, นก แซงแซวหางบ่วง, นกแพน ก็เรียก. วิ. กาฬวณฺณตาย กุจฺฉิตํ ลิงฺคํ ยสฺส โส กลิงฺโค.
ขลิกา : (อิต.) โยนห่วง, โยนบ่วง.
คทฺทุ (ทู) ล : ป. สายหนัง, บ่วงหนัง; เครื่องผูกสุนัข
คฬุล : (ปุ.) เครื่องผูกสุนัข, บ่วงผูกสุนัข, โซ่ ผูกสุนัข. คฬฺ รกฺขเณ, อุโล.
ตณฺหาชาล : นป. บ่วงคือตัณหา, ข่ายคือตัณหา
นาคปาส : (ปุ.) บ่วงที่เป็นงู, นาคบาส ชื่อ อาวุธของท้าววรุณ. ส. นาคปาศ.
ปาสิก : ค. มีบ่วง, เนื่องด้วยบ่วง, ซึ่งติดบ่วง
พทฺธราว : ป. เสียงร้องของสัตว์ที่ติดบ่วง
มจฺจุเธยฺย : (นปุ.) วัฏฏะเป็นที่ทรงแห่งมัจจุ, วัฎฎะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ, บ่วงแห่งมัจจุ.
มจฺจุปาส : ป. บ่วงแห่งความตาย
มาร : (ปุ.) สภาพผู้ฆ่า, สภาพผู้ทำลาย (ความดี), มาร, มารคือกามเทพ. วิ. สตฺตานํ กุสลํ มาเรตีติ มาโร (ยังความดีของสัตว์ให้ตาย). กุสลธมฺเม มาเรตีติ วา มาโร (ยังกุศลธรรมให้ตาย). มรฺ ปาณจาเค, โณ. ทางศาสนาจัด กิเลสกาม เป็นมารวัตถุกาม เป็นบ่วงแห่งมาร.
มารเธยฺย : (นปุ.) ที่เป็นที่ตั้งแห่งมาร, ที่อันมารพึงทรงไว้, ที่อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากิเลสวัฏเป็นที่ทรงแห่งมาร, วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมาร, บ่วงแห่งมาร.
มารพนฺธน : (นปุ.) เครื่องผูกของมาร, เครื่องมัดของมาร, บ่วงของมาร, เครื่องผูกคือมาร, ฯลฯ.
วาคุริก : ค. ผู้ใช้ข่ายหรือบ่วงดักสัตว์
หตฺถปาส : (ปุ.) บ่วงแห่งมือ, บ่วงมือ, หัตถบาส ชื่อของระเบียบปฏิบัติสำหรับภิกษุสงฆ์ผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรม จะต้องอยู่ในหัตถบาสของกันและกัน คืออยู่ในระหว่าง ๒ ศอก-คืบ ถ้ายืนก็ห่างกันประมาณ ๑ ศอก ถึง ๑ ศอกคืบ ถ้านั่งก็ห่างกัน ๑ คืบ ต่อ ๆ กันไป และยังใช้เกี่ยวกับคฤหัสถ์ผู้ประเคน (ถวาย) ของแด่ภิกษุสงฆ์ด้วย จะต้องเข้ามาในหัตถบาส คือห่างจากภิกษุผู้รับ ๑ ศอก สำหรับสุภาพสตรีเข้าไปประเคน (ถวาย) อยู่ในระยะ ๑ ศอกนี้ ดูไม่งาน เช่นบางกรณีคือ ถวายของในพิธีมงคลสมรส.
อมจฺจุเธยฺย : นป., ค. ไม่ใช่บ่วงของมาร, ไม่ใช่เขตของความตาย
อมารเธยฺย : ค. ผู้ไม่อยู่ในบ่วงของมาร, ผู้ไม่อยู่ในอำนาจของมาร
อสิปาส : ค. มีดาบเป็นบ่วง (เทวดาจำพวกหนึ่ง)
อุตฺตรปาส : (ปุ.) บ่วงข้างบน, ห่วงข้างบน.