ปฏิปทา : อิต. ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติ, แนวทางความประพฤติ, ทางปฏิบัติ
กณฺหปฏิปทา : อิต. ปฏิปทาอันเลวทราม, ทางที่ชั่ว
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา : (อิต.) ปฏิปทาอัน ยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์, ทางดำเนินอันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๔.
มชฺฌิมาปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง, มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางคือมรรค (อริยมรรค) มีองค์ ๘.
อริยวสปฏิปทาทิ : (วิ.) มีปฏิปทาอันเป็นไปตามซึ่งวงศ์แห่งพระอริยะเป็นต้น.
โมเนยฺยปฏิปทา : (อิต.) ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความเป็นมุนี.
อปณฺณกปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติไม่ผิด.
ทุกฺขนิโรธคามินี : ค. (ปฏิปทา) ซึ่งยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์
นิพฺพานคามินี : (อิต.) ปฏิปทาเป็นเครื่อง ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งพระนิพพาน. ข้อปฏิบัติ ให้สัตว์ถึงพระนิพพาน.
นิพฺพานสมฺปทา : อิต. ปฏิปทาให้ถึงพระนิพพาน, การบรรลุพระนิพพาน
สิกฺขา : (อิต.) ปฏิปทาอันบุคคลพึงศึกษา, ปฏิปทาอันเขาพึงศึกษา, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ข้อที่ควรศึกษา, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, หัวข้อที่ควรศึกษา. วิ. สิกฺขิตพฺพนฺติ สิกฺขา, ปฏิปทาอันเขาย่อมศึกษา, ฯลฯ. วิ. สกฺขิยตีติ สิกฺขา, การศึกษา, การเล่าเรียน, การสำเหนียก (เอาใจใส่ กำหนดจดจำ). วิ. สิกขนํ สิกฺขา. อ ปัจ. อา อิต. พระพุทธศาสนาวางข้อ (เรื่อง) ที่ควรศึกษาไว้ ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา.
อิทฺธิปาท : (ปุ.) ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึง ความสำเร็จ, คุณเครื่องให้สำเร็จ, คุณ เครื่องให้สำเร็จความประสงค์ตามเป้า หมาย, ปฏิปทาแห่งความสำเร็จ.