ปรม : (วิ.) ยอด, ยอดเยี่ยม, ยอดยิ่ง, อย่างยิ่ง, อย่างเยี่ยม, อย่างยอด, เป็นยอด, สูงสุด, ที่สุด, สนิท, เต็มเปี่ยม, อุดม, บรม. วิ. นตฺถิ อญฺญ ปรํ เอตสฺมาติ ปรมํ. ม ปัจ. แทน นตฺถิ. ปรํ ปจฺจนีกํ มาเรตีติ ปรมํ. ปกฏฺฐภาเว รมตีติ วา ปรมํ. อถวา, ปรติ อตฺตโน อุตฺตมภาวํ ปาเลติ ปูเรติ วาติ ปรมํ. ปรฺปาลเน, โม. ลง อ ปัจ. ประจำ หมวดธาตุ แล้ว ลง ม ปัจ.
ปรมตฺต : (ปุ.) ตนอย่างยิ่ง. ปรม+อตฺต.
ปรมฏฺฐ : กิต. (อันเขา) ถูกต้องแล้ว, จับต้องแล้ว, ลูบคลำแล้ว, ยึดมั่นแล้ว, กอดรัดแล้ว
ปรมตฺถ : (ปุ.) ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความอย่างยิ่ง, ฯลฯ, อรรถอย่าง ยิ่ง, ปรมัตถ์ คือพระอภิธรรม.
ปรมตฺถคติ : อิต. คติอันสูงสุด, ทางไปแห่งชีวิตอันยอดเยี่ยม ได้แก่ ปนุปาทิเสสนิพพาน
ปรมตฺถโชติกา : อิต. ชื่อคัมภีร์อรรถกถาแห่งขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
ปรมตฺถโต : อ. โดยปรมัตถ์, โดยความหมายอย่างสูงสุด, โดยความหมายที่จริงแท้
ปรมตฺถทีปนี : อิต. อรรถกถาที่อธิบายปรมัตถธรรม; ชื่ออรรถกถาแห่งเถรคาถา, เถรีคาถา, วิมานวัตถุ, เปตวัตถุ, อุทาน, อิติวุตตกและปัญจปกรณ์แห่งอภิธรรมปิฎก
ปรมตฺถธมฺม : (ปุ.) ธรรมมีเนื้อความอย่างยิ่ง, ธรรมมีเนื้อความอันประเสริฐ, ธรรมมี เนื้อความอันลึกซึ้ง, ธรรมมีอรรถอย่างยิ่ง, ฯลฯ, ปรมัตถธัม คือ จิต ๘๙ ดวง หรือ๑๒๑ ดวง เจตสิก ๕๒ ดวง รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑. เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระอภิธรรม ได้แก่ หระอภิธัมมปิฎก.
ปรมตฺถปารมี : (อิต.) บารมีชั้นสูงสุด.
ปรมตา : อิต. ความเป็นอย่างยิ่ง, ประมาณสูงสุด
ปรมทุกฺกร : (วิ.) อัน...ทำได้โดยยากอย่างยิ่ง.
ปรมวิสุทฺธสทฺธาพุทฺธิวิริยปฏิมณฺฑิต : (วิ.) ผู้ประดับประดาแล้วด้วยศรัทธาและปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้และความเพียรอันหมดจด อย่างยิ่ง.
ปทปรม : (วิ.) มีบทเป็นอย่างยิ่ง, ปทปรมะ ( โง่จนสั่งสอนไม่ได้ ) .
ปุริม : (วิ.) เกิดแล้วในก่อน, เกิดในก่อน, มีในก่อน, มีในเบื้องหน้า, ต้น, เดิม. ปุร+อิม ปัจ. ชาตาทิตัท.
วจีปรม : ค. ผู้ดีแต่พูด, พูดดีแต่ทำไม่ดี
จกฺขุภูต : (วิ.) (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นเพียงดัง จักษุเป็นแล้วเพราะบรรลุพระปรมัตถธรรม วิ. จกฺขุ อิว ภูโต อยํ ปรมตฺถทสฺสนโตติ จกฺขุภูโต เป็นปฐมอุปมานบุพพบทพหุพ. รูปฯ ๓๔๑.
โทหฬ : (ปุ.) ฉันทะนี้แห่งบุคคลผู้มีหทัยสอง, ฉันทะอันเป็นการทำแห่งบุคคลผู้มีหทัย สอง, ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, การอยาก, การแพ้ท้อง, ความอยาก, ความปรารถนา, ตัณหา. โทหปุพฺโพ, ลา อาทาเน, อ, ลสฺส ฬตฺตํ ทฺวิปุพฺโพ วา, หลฺ กมฺปเน, อ, ทฺวิสฺสโท, ลสฺส โฬ. ทุฏฐ หทย เมเตนาติ วา โทหโฬ. ทุฏฐสฺส โท, ทหยสฺสหโฬ เทฺว หทยา อสฺส ปรมตฺถสฺสาติ วา โทหโฬ. ทวิสฺส โท, หทยสฺส หโฬ. หรือแปลง ทฺวิ เป็น โท แปลง ท เป็น ฬ ลบ ย. ทุธา หทยํ เอตีติ โทหโฬ. ฎีกาอภิฯ วิ. โทหํ ลาตีติ โทหโฬ. ส. โทหล.
ปรมนฺน : (นปุ.) ข้าวปายาส ( ข้าวระคนด้วย น้ำนม ) วิ. เทวนฺนตฺตา ปรมญฺจ ตํ อนฺนญฺเจติ ปรมนฺนํ.
อารติ : (อิต.) การงด, การเว้น, การงดเว้น, การเลิก, การหยุด, ความงด, ฯลฯ.วิ.ทูรโตวิรมณํอารติ.อาปุพฺโพ, รมุอุปรมเน, ติ, มุโลโป.ส.อารติ.
ปรมาภิเธยฺย : (นปุ.) ชื่ออย่างยิ่ง, ชื่อ, ปรมา- ภิไธย (ชื่อ ) ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน.
ติจีวร : (นปุ.) ผ้าสามผืน, ผ้าไตร, ไตรจีวร. เครื่องนุ่งห่มของพระมี ๓ ผืน ได้แก่ สบง ผ้าสำหรับนุ่ง ๑ จีวรผ้าสำหรับห่ม ๑ สังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอกสำหรับกันหนาว หรือผ้าทบ ๑ มีพระบรมพุทธานุญาตให้ ภิกษุมีผ้าสามผืนเท่านี้ ผ้านอกนี้จะมีไว้ใช้ ต้องใช้กับของวิกัป.
ปุริมวสฺส : (ปุ. นปุ.) พรรษต้น, วันเข้าพรรษาต้น. การอธิษฐานเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมพรรษา บุริมพรรษา. ถ้าหากมีความจำเป็นเข้าไม่ทันมีพระบรมพุทธานุญาตให้อธิษฐานเข้าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เรียกปัจฉิมพรรษา.
เมตฺเตยฺย : (ปุ.) พระเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ซึ่งจะมาตรัสรู้ต่อจากพระสมณโคดม.