อุปสมฺผสฺสติ : ก. กอด, รัด, สัมผัส
กายประสาท, - ยปฺปสาท : ป. กายประสาท, ความรู้สึกทางกาย
ผสฺสติ : ก. ถูกต้อง, สัมผัส; ได้รับ; ถึง, บรรลุ
ผุสติ : ก. ถูกต้อง, สัมผัส, บรรลุ, ได้รับ; เป็นประกาย; โปรย, พรม
ผุสียติ : ก. (อันเขา) ถูกต้อง, สัมผัส
อินฺทิย อินฺทฺริย : (นปุ.) ความเป็นใหญ่, ร่าง กาย, ร่างกายและจิตใจ, กำลัง, กำลังกาย, อำนาจ, ความรู้สึก, สติปัญญา, ประสาท, หน้าที่, อินทรีย์ (ความเป็นใหญ่ในกิจ นั้น ๆ). วิ. อินฺโท อตฺตา, ตสฺส ลิงฺคํ อินฺทิยํ อินฺทริยํ วา. อิย ปัจ. อินฺทติ ปรมิสฺสริยํ กโรตีติ วา อินฺทิริยํ. อิทิ ปรมิสฺสริเย, อิโย. ศัพท์หลังแปลง ท เป็น ทฺร. ส. อินฺทริย.
ปสาท : ป., นป. ความผ่องใส, ความเบิกบาน, ความบริสุทธิ์, ความยินดี, ความพอใจ, จิตที่มีความสุขผ่องแผ้ว, ศรัทธา, ความสงบระงับ; ประสาท เช่น “ประสาทตา” เป็นต้น
ฆานปสาท : (ปุ.) ประสาทของจมูก, ฆาน- ประสาท (เส้นใยสำหรับรับความรู้สึก ทางจมูก).
จกฺขุ : (นปุ.) ตา ( ธรรมชาติที่เห็นรูปได้ ), นัยน์ตา โดยมากหมายเอา แววตา ประสาท ตา. วิ. จกฺขติ รูปนฺติ จกฺขุ จกฺขฺ ทสฺสเน, อุ. กัจฯ และรูปฯ ลง ณุ ปัจ. จกฺขุ ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๕ อย่างคือ พุทฺธจกฺขุ ได้แก่ พุทธญาณ ๑ สมนฺตจกฺขุ ได้แก่พระ สัพพัญญุตญาณ ๑ ปญฺญาจกฺขุ ได้แก่จักษุ คือปัญญา ๑ ธมมจกฺขุ ได้แก่ญาณ ใน มรรคสามเบื้องต้น ๑ มํสจกฺขุ ได้แก่ตา เนื้อ และทิพฺพจกฺขุ ตาทิพ ๑ ส. จกฺษุ.
ปญฺจกามคุณ : ป. กามคุณห้า (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส)
ผุสน : (นปุ.) การถูก, การถูกต้อง, ธรรมชาติอันบุคคลพึงถูกต้อง, สัมผัส.
ผุสนา : (อิต.) การถูก, การถูกต้อง, ธรรมชาติอันบุคคลพึงถูกต้อง, สัมผัส.
กายวิญฺญาณ : นป. ความรู้สึกในกายสัมผัส, ความรู้แจ้งอารมณ์ด้วยกายคืออาการที่รู้ว่าสัมผัส
กายวิญฺเญยฺย : ค. ซึ่งควรรู้ชัดด้วยกาย, ซึ่งสัมผัสทางกาย
กายสมฺผสฺส : ป. การสัมผัสด้วยกาย, ความรู้สึกทางสัมผัส
กายสสคฺค : ป. การจับต้องกาย, การสัมผัสกาย, การเกี่ยวข้องทางกาย
ฆานสมฺผสฺส : (ปุ.) การถูกต้องทางจมูก, ฆานสัมผัส.
ฆานายตน : นป. ฆานายตนะ, ฆานประสาท, สื่อกลางที่จมูกรับรู้กลิ่น
จกฺขุธาตุ : (ปุ. นปุ.) ธาตุคือตา. หมายเอาแววตา ประสาทตา.
จกฺขุปสาท : (ปุ.) ประสาทของตา, จักษุประสาท คือเส้นสำหรับนำความรู้สึกของตา ส่วน สำคัญของตาที่ทำให้มองเห็น.
จกฺขุวิญญาณ : (นปุ.) ความรู้อันอาศัยประสาท ตาเกิดขึ้น, ความรู้ทางตา.
เจโตสมฺผสฺส : ป. การสัมผัสทางใจ, การถูกต้องด้วยใจ
ชิวฺหาปสาท : ป. ชิวหาประสาท, ความรับรู้รส
ชิวฺหายตน : (นปุ.) อายนะคือลิ้น, ชิวหาประ สาท (หมายเอาประสาทรับรู้รส).
ชิวฺหาสมฺผสฺส : ป. การกระทบด้วยลิ้น, ความสัมผัสทางลิ้น
ทุกฺขสมฺผสฺส : ค. มีสัมผัสเป็นทุกข์
ทุกฺขสมฺผสฺสตา : อิต. ความเป็นสิ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์
ธมนิ, - นี : อิต. เส้นเลือด, เส้นเอ็น, เส้นประสาท
ธมนี : (อิต.) เอ็น, เอ็นนำรสไป, เส้นเอ็น, เส้นประสาท. วิ. ธมนฺติเอเตน วีณาทโยติธมนี. ธมฺ สทฺเท. ยุ. อนิ วา, อิตฺถิยํ อี.
ปรามส : ป. การถูกต้อง, การจับต้อง, การลูบคลำ, การจับฉวย, การยึดมั่น, การกอดรัด, สิ่งสัมผัสอันเป็นภัย, โรคติดต่อ
ปริญฺญา : (อิต.) ธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนดรู้, ปัญญาเป็นเครื่องกำหนดรู้, ความกำหนดรู้, ความรู้รอบ, ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบคอบ. ปริ+ญา+อ ปัจ. ซ้อน ญฺ อา อิต. ไทย ปริญญา หมายถึงชั้นความรู้ ที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ซึ่งมีกฎหมาย กำหนดให้ให้ปริญญาได้ ประสาทให้แก่ผู้ที่ สอบความรู้ได้ตามที่กำหนดไว้. ส. ปรีชฺญา.
ปุฏฺฐ : ค. อัน...ถามแล้ว, ถูกถามแล้ว; อัน...เลี้ยงแล้ว; อัน...ถูกต้องหรือสัมผัสแล้ว
ปุฏฺฐวนฺตุ : ค. ผู้ถูกต้องหรือสัมผัส
ผสฺสกาย : ป. หมวดแห่งสัมผัส
ผสฺสสมฺปนฺน : ค. ถึงพร้อมด้วยสัมผัสที่น่ารัก
ผสฺสิต : ค. ซึ่งถูกต้อง, ซึ่งสัมผัส, ซึ่งได้รับ, ซึ่งบรรลุ
ผสฺเสติ : ก. สัมผัส, ถูกต้อง, ได้รับ, ถึง
ผุฏฺฐ : ค. ซึ่งถูกต้อง, ซึ่งสัมผัส, ซึ่งกระทบ, ซึ่งแผ่ซ่าน, ซึ่งเสียวซ่าน
ผุสิตุ : อ. (ปฐ., จตุ.) การถูกต้อง, การสัมผัส; เพื่อถูกต้อง, เพื่อสัมผัส
โผฏฺฐ : ค. ซึ่งถูกต้อง, ซึ่งสัมผัส
มมฺม, มมฺมฏฺฐาน : นป. จุดสำคัญของร่างกาย, ที่รวมประสาท
มุต : ๑. นป. การรับรู้แห่งสัมผัส;
๒. กิต. รู้
รสคฺคสา : อิต. เส้นประสาท
สมฺผสฺสชาเวทนา : (อิต.) ความเสวยอารมณ์อันเกิดจากสัมผัส, ความเสวยอารมณ์ที่เกิดจากสัมผัส.
โสตายตน : (นปุ.) ที่เป็นต่อคือ หู, เครื่องติดต่อคือหู, อายตนะคือหู ประสาทหู (หมายเอาประสาทรับรู้เสียง).
โสมนสฺส : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีใจดี, ความเป็นผู้มีใจดี, ความปลาบปลื้ม, ความเบิกบาน, ความสุขทางใจ, ความสุขทางใจ, ความโสมนัส, โสมนัส คือเสวยอารมณ์ที่สบายอันเกิดแต่เจโตสัมผัส. วิ. สุมนสฺส ภาโว โสมนสฺสํ. สุมน+ณฺย ปัจ. ภาวตัท. แปลง อุ เป็น โอ ลบ ณฺ ลงสฺ อาคม แปลง ย เป็น ส รูปฯ ๓๗๑.
อปฺผุฏ, - ผุต : ค. ซึ่งมิได้สัมผัส, ซึ่งไม่แตะต้อง
อผสฺสิต : ค. ไม่สัมผัส, ไม่ถูกต้อง
อผุสิต : กิต. ไม่ถูกต้องแล้ว, ไม่ได้สัมผัสแล้ว
อรูปธมฺม : (ปุ.) ธรรมมิใช่รูป, ธรรมที่ไม่มีรูป, อรูปธรรม, นามธรรม (ภาวะที่สัมผัสด้วยอายตนะคือ ตาหูจมูกลิ้นและกายไม่ได้สัมผัสสะได้แต่ใจ).