รฏฺฐมนฺตี : (ปุ.) คนมีความคิดของบ้านเมือง, คนมีความรู้ของบ้านเมือง, รัฐมนตรี ชื่อบุคคลผู้รับ ผิดชอบในนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นที่ปรึกษาการบ้านเมือง ผู้เป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ในกระทรวง.
สาลา : (อิต.) เรือน, โรง, สาลา, ศาลา คือ เรือนที่ปลูกไว้ในวัด สำหรับเป็นที่ทำบุญประชุมฟังธรรมและศึกษาเล่าเรียน หรือเป็นที่ทำการของรัฐ เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลากระทรวง เป็นต้น หรือที่ปลูกไว้ริมทางเพื่อเป็นที่พักของคนเดินทาง สลฺ คมเน, อ, อิตฺถิยํ อา.
เสนาปติ : (ปุ.) บุคคลผู้เป็นใหญ่แห่งเสนา, บุคคลผู้เป็นเจ้าแห่งเสนา, ขุนพล, นายพล, เสนาผู้ใหญ่, เสนาบดี ชื่อตำแหน่ง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้าของกระทรวง ปัจจุบันเรียกว่ารัฐมนตรี. ส. เสนาปติ.
ปฏิวาเปติ : ก. เปลื้อง, ปลดปล่อย, ชำระ
ปมุญฺจ : ป. การเปลื้อง, การปลดปล่อย
ปมุญฺจติ : ก. เปลื้อง, แก้, ปลดปล่อย; เปล่ง; สะบัด
ปมุตฺต : ค. ผู้ถูกปลดปล่อย, ผู้ถูกเหวี่ยง, ผู้ถูกสลัดไปแล้ว; ผู้หลุดพ้น, ผู้เป็นอิสระ
ปมุตฺติ : อิต. การปลดปล่อย, ความหลุดพ้น, ความเป็นอิสระ
ปโมกฺข : ป. การเปลื้อง, การปลดปล่อย, การเปล่ง, การหลั่งไหล; ความหลุดพ้น
ปโมจน : (นปุ.) การหลุด, การพ้น, การปลด, การเปลื้อง, การปล่อย, การแก้, การปลดเปลื้อง, การปลดปล่อย, ปปุพฺโพ, มุจฺ วิโมกฺเข, ยุ.
ปโมเจติ : ก. เปลื้อง, ปลดปล่อย, แก้
ปริมุตฺติ : อิต. ความพ้น, ความปลดปล่อย
โมจน : (นปุ.) การปลด, ฯลฯ, ความปลด, ฯลฯ, การแก้. มุจ+ยุ ปัจ. แปลง อุ เป็น โอ.
โมจนเวลา : (อิต.) เวลาเป็นที่ปลด, ฯลฯ.