อติสรติ : ก. แล่นเลยไป, ฝ่าฝืน, บุกรุก
อปรชฺชติ : ก. ทำผิด, ฝ่าฝืน, ทำอันตราย, เสียดแทง
นิติ : (อิต.) แบบ, แบบแผน, แบบอย่าง, กระบวน ขบวน (แบบแผน), ประเพณี, กฎหมาย, นิติ, นีติ, เนติ. นิ นเย, ติ.
นิติกร : (ปุ.) คนผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกฎหมาย, คนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชา กฎหมาย.
ปุโรหิต : (ปุ.) พราหมณ์ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลแก่บุรี, อำมาตย์ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่บุรี, ปุโรหิต ประโรหิต ผู้เป็นที่ปรึกษาในทางนิติ คือ กฎหมาย ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ผู้ดำรงตำแหน่งพระอาจารย์. ปุร+หิต แปลง อ ที่ ร เป็น โอ.
อปราเธติ : ก. ฝ่าฝืน, ละเมิด
กติกา : (อิต.) การทำ, กฤษฎีกา. กติศัพท์ ก สกัด อา อิต. กติกา ไทยใช้ในความหมายว่า การนัดหมาย ข้อตกลง ข้อ บังคับ เงื่อนไขที่กำหนดไว้ สัญญาบัง เกิดแต่การทำ. กฤษฏีกา (แผลงมาจาก กติกา) ใช้เป็นชื่อของกฎหมาย ซึ่งฝ่าย บริหารบัญญัติออกใช้เมื่อคราวจำเป็นใน นามของพระมหากษัตริย์ เรียกว่าพระราช กฤษฎีกา.
กุโฬร : (ปุ.) กฎหมาย, ตรา?
จาริตฺต : (นปุ.) ความประพฤติ, ความสมสู่ อู่. จาริตฺตํ อาปชฺชิตฺวา ถึงความสมสู่, จารีต. รูปฯ ๖๕๑ ให้ วิ. ว่า จริตานํ คโณ จาริตฺตํ. อถวา, จรนฺติ ตสฺมึ ปริปูริการิตายาติ จาริตฺตํ. จรฺ จรเณ, ณิตฺตปจฺจโย. ไทย จารีต คือสิ่งที่ประพฤติต่อๆ กันมาประเพ ณีที่ถือสืบต่อกันมาหรือการปฏิบัติที่ทำเป็น ประจำ มักพูดว่า จารีตประเพณีใครฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
เทสปญฺญตฺติ : (อิต.) บัญญัติของท้องถิ่น, เทส+ปญฺญตฺติ, บัญญัติของเทศบาล, เทสปาล+ปญฺญตฺติ. เทศบัญญัติ คือ กฎหมายของเทศบาล มีผลบังคับอย่างเดียวกันกับกฎหมาย แต่ใช้บังคับเฉพาะ ของเทศบาลนั้นๆ.
ธมฺมชีวี : (ยิ.) ผู้เป็นอยู่โดยปกติโดยธรรม, ผู้เป็นอยู่ตามธรรมโดยปกติ, ผู้มีปกติเป็น อยู่โดยธรรม, ผู้เป็นโดยอยู่ธรรม, ผู้เป็น อยู่ตามกฎหมาย.
ธมฺมนาฏก : ค. นักฟ้อนโดยธรรม, นักฟ้อนโดยกฎหมาย, นักฟ้อนที่พระราชาทรงอนุญาติให้เป็นสาธารณะโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ธมฺมนาถ : (ปุ.) ชนผู้มีธรรมเป็นใหญ่, ชนผู้ รักษากฎหมาย
ธมฺมนุญฺญ : (ปุ.) ธรรมนูญ พระธรรมนูญ ชื่อว่ากฎหมายว่าด้วยระเบียบการ เช่นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ชื่อกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย. ธมฺม+มนุญฺญ ลบ อักษร ที่เสมอกันเสียตัวหนึ่ง.
ธมฺมปาฐก : (วิ.) ผู้สอนซึ่งธรรม, ผู้สอนธรรม, ผู้สอนกฎหมาย. ส. ธรฺมปาฐก.
ธมฺมสตฺถ : (นปุ.) ตำราแห่งกฎหมาย, ธรรม ศาสตร์. ส. ธรฺมศาสฺตฺร.
นาวิกสาสน : (นปุ.) ข้อบังคับเกี่ยวกับการเดินเรือ, กฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ ในน่านน้ำทั่วไป, นาวิกศาสน์. ส. นาวิกศาสน.
นิติกมฺม : (นปุ.) การกระทำตามกฎหมาย, นิติกรรม.
นิติธมฺม : (ปุ.) หลักแห่งกฎหมาย, นิติธรรม.
นิตินย : (ปุ.) ทางแห่งกฎหมาย, ทางกฎหมาย.
นิติปญญตฺติ : (อิต.) การแต่งตั้งกฎหมาย, การตรากฎหมาย, นิติบัญญัติ.
นิติปณฺฑิต : (ปุ.) คนมีความรู้ในกฎหมาย, นักปราชญ์ทางกฎหมาย, เนติบัณฑิต ใช้ เรียกผู้ที่สอบได้ปริญญาทางกฎหมาย.
นิติปุคฺคล : (ปุ.) บุคคลโดยกฎหมาย, บุคคล ตามกฎหมาย, นิติบุคคล. ไทย นิติบุคคล หมายถึงองค์การหรือคณะบุคคล ซึ่ง กฎหมายสมมุติให้เป็นบุคคลมีสิทธิและ หน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย.
นิติภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลตาม กฎหมาย, ภาวะตามกฎหมาย, นิติภาวะ. ไทย นิติภาวะคือ ความเป็นผู้มีอายุตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ให้มีความสามารถ เต็มที่ตามกฎหมาย.
นีติสตฺถ : นป. ตำรากฎหมาย
ปริญฺญา : (อิต.) ธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนดรู้, ปัญญาเป็นเครื่องกำหนดรู้, ความกำหนดรู้, ความรู้รอบ, ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบคอบ. ปริ+ญา+อ ปัจ. ซ้อน ญฺ อา อิต. ไทย ปริญญา หมายถึงชั้นความรู้ ที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ซึ่งมีกฎหมาย กำหนดให้ให้ปริญญาได้ ประสาทให้แก่ผู้ที่ สอบความรู้ได้ตามที่กำหนดไว้. ส. ปรีชฺญา.
มิจฺฉาอาชีว : (ปุ.) ความเป็นอยู่ผิด, การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด, อาชีพผิด, มิจฉาอาชีวะ มิจฉาชีพ คือการหาเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบกิจที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม.
รฏฺฐมฺมนุญฺญ : (นปุ.) รัฐธรรมนูญ ชื่อกฏหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายอันเป็นที่พึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั้งประเทศอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้. รฏฺฐ+ธมฺม+มนุญฺญ ลบอักษรที่เสมอกันสามตัวเสียตัวหนึ่ง.
สิทฺธิ : (อิต.) คำสั่ง, คำสั่งสอน. สิธุ สาสเน. ความเจริญ, มงคล. สิธุ มงฺคเ ลฺย. การบรรลุ, การบรรลุผล, การสมความปรารถนา, ความสมปรารถนา, ความสำเร็จ. สิธฺ สํสิทฺธิยํ, ติ. แปลง ติ เป็น ทฺธิ ลบที่สุดธาตุเป็น ทฺ. ไทย สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่จะทำอะไรได้ตามกฎหมาย. ส. สิทฺธิ.
อคมนียวตฺถุ : (นปุ.) วัตถุอันสตรีและบุรุษไม่พึงถึง, วัตถุอันสตรีและบุรุษไม่ควรล่วงวัตถุไม่ควรถึง, วัตถุต้องห้าม, อคมนียวัตถุ ได้แก่หญิงหรือชายที่กฎหมายหรือศีลธรรมระบุไว้มิให้ชายหรือหญิงผู้รักษาศีลธรรมล่วงละเมิดทางประเวณี.
อาปตฺติ : (อิต.) โทษชาติที่ภิกษุต้อง, โทษชาติที่ภิกษุล่วงละเมิด, โทษที่เกิดเพราะความละเมิดพระวินัย, ความถึง, ความต้อง, อาบัติคือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม (จากนวโกวาท)กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตนอยู่ (วินัยมุขหน้า๑๑) การฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามและไม่ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต(เฉลย สนามหลวง).ส.อาปตฺติ.