ธาตุ : (วิ.) ผู้ทรงไว้. ธา ธารเณ, ดุ. ผู้ตั้งไว้, ผู้ดำรงอยู่. ฐา คตินิวุตฺติยํ, ตุ. แปลง ฐา เป็น ธา.
ธาตุก : ค. มีธาตุ, ประกอบด้วยธาตุ
ธาตุกถา : อิต. ธาตุกถา, อธิบายเกี่ยวกับเรื่องธาตุ, ชื่อคัมภีร์อภิธรรมเล่มที่สาม
ธาตุกุสล : ค. ผู้ฉลาดหลักแหลมในเรื่องธาตุ
ธาตุโขภ : ป. ความกำเริบแห่งธาตุ
ธาตุฆร : นป. ที่บรรจุพระธาตุ, เรือนพระธาตุ
ธาตุเจติย : (นปุ.) เจดีย์อันบุคคลบรรจุพระ ธาตุ, เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
ธาตุนานตฺต : นป. ความเป็นต่างๆ กันแห่งธรรมชาติหรือธาตุ
ธาตุวิภาค : ป. การแยกธาตุ, การจำแนกธาตุ; การแจกหรือแบ่งพระธาตุ
ธาตุสณฺณา : (อิต.) ความสำคัญว่าธาตุ, ความรู้ว่าธาตุ, ความหมายรู้ว่าธาตุ, ความกำหนดว่าธาตุ.
ธาตุกุจฺจิ : อิต. มดลูก
ธาตุปล : (นปุ.) ดินสอพอง.
มนฺธาตุ : (ปุ.) มันธาตุ ชื่อของพระราชา, พระราชาพระนามว่ามันธาตุ, พระเจ้ามันธาตุราช ชื่อของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งสามารถบันดานให้ฝนตกเป็น กหาปณะ มํ+ธาตุ (ผู้ทรงไว้ซึ่งสิริ).
มหาธาตุ : (ปุ. อิต.) ธาตุใหญ่, ทองคำ, มหาธาตุ เป็นคำเรียกสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นคำเรียกวัด ซึ่งมีสถูปหรือสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น.
กามธาตุ : อิต. กามธาตุ, ธาตุแห่งกาม, โลกที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการเสพกาม
กายธาตุ : อิต. กายธาตุ, หมวดกาย, ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายคือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ
เกสธาตุ : อิต. ธาตุคือพระเกศ, พระเกศธาตุ (ของพระพุทธเจ้า)
ขนฺธธาตุอายตนาทิเภท : (วิ.) อันต่างด้วย ธรรมมีขันธ์และธาตุและอายตนะเป็นต้น. เป็น ต.ตัป. มี ส. ทวัน. และ ฉ. ตลุ เป็นท้อง.
คนฺธธาตุ : อิต. คันธธาตุ, ของหอม
ฆานธาตุ : อิต. ฆานธาตุ, ธาตุแห่งการรับรู้กลิ่น
จกฺขุธาตุ : (ปุ. นปุ.) ธาตุคือตา. หมายเอาแววตา ประสาทตา.
จตุธาตุววฏฐาน : (นปุ.) การกำหนดซึ่งธาตุสี่, ความกำหนดธาตุสี่.
เตชธาตุ : อิต. ธาตุไฟ
เตธาตุก : นป. (โลก) อันประกอบด้วยธาตุสามอย่าง
ธมฺมธาตุ : (ปุ.) ชนผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, พระ ธรรมธาดา หมายเอาพระบรมศาสดา.
นิพฺพานธาตุ : อิต. นิพพานธาตุ, ธาตุแห่งความสงบเย็น
นิโรธธาตุ : อิต. นิโรธธาตุ, ความดับ
ปฐวีธาตุ : อิต. ปฐวีธาตุ, ธาติดิน, ธาตุที่เข้มแข็ง, ธาตุที่กินเนื้อที่, ของแข็ง
มโนธาตุ : อิต. พลังแห่งใจ, มโนธาตุ
อมตธาตุ : อิต. พระนิพพานธาตุ, ธาตุแห่งพระนิพพาน
อรูปธาตุ : อิต. อรูปธาตุ, สภาพที่ไม่มีตัวตน
อสงฺขตธาตุ : (นปุ.) อสังขตธาตุชื่อของพระนิพพาน, พระนิพพาน.
อากาสธาตุ : อิต. อากาศธาตุ, ที่ว่าง, สภาพที่ว่างเปล่า
อาโปธาตุ : (ปุ. นปุ.) ธาตุน้ำ.เมื่อลบวิภัติแล้วเอาอเป็นโอ.รูปฯ ๔๘.
คิริธาตุ : ป. พื้นดินสีแดง, หินทราย
ทาฐาธาตุ : อิต. พระเขี้ยวแก้ว (ของพระพุทธเจ้า)
ธาต : ค. อันเขาเลี้ยงดูแล้ว
ปฏิสนฺธาตุ : ป. เชื่อมสัมพันธ์, ผู้สมาน, ผู้ไกล่เกลี่ย
พธิรธาตุก : ค. ผู้หูหนวกมาแต่กำเนิด
สนฺธาตุ : ป. ผู้คืนดีกัน
กกุธ : (ปุ.) ไม้รกฟ้าขาว, ไม้กุ่ม. วิ. กํ วาตํ กุฏติ นิวาเรตีติ กกุโธ. เอกักขรโกสฎีกา. อภิฯ และ เวสฯ เป็น กกฺ ธาตุ อุธ ปัจ. แปลว่า ไม้รังไก่ ก็มี.
กณฺณชปน : (นปุ.) การพูดที่หู, การกระซิบที่หู (การทำให้เขาแตกกัน). กณฺณ+ชปฺ ธาตุ ยุ ปัจ.
กปฺปิต : (วิ.) มีการตกแต่งเกิดแล้ว วิ. กปฺปา กปฺปนา สญฺชาตา ยสฺมึ โส กปฺปิโต. ชาตตฺเถ อิโต. อันแต่งแล้ว. กปฺปฺ ธาตุ ต ปัจ. อิ อาคม.
กรก : (ปุ.) ทับทิม, ต้นทับทิม, คนโทน้ำ, ภาชนะน้ำของนักบวช, กรก, ธมกรก (กระบอกกรองน้ำของพระ), กะลา. กรฺ ธาตุ ณฺวุ ปัจ. ส. กรก.
กิณ : (นปุ.) การซื้อ. กี ธาตุ ณา ปัจ. ประจำ หมวดธาตุ อ ปัจ. นามกิตก์ รัสสะ อี เป็น อิ รูปฯ ๖๓๐.
กิริย กฺริย : (นปุ.) การทำ, ความทำ, อาการ (ท่าทาง), กิริยา, กริยา. วิ. กรณียํ กิริยํ. กิริยา วา กิริยํ. กรฺ ธาตุ ริริย ปัจ. ลบ รฺรฺ ของปัจ. รูปฯ ๕๘๕ ศัพท์หลัง ลบ อ ที่ ก และลบ อิ ตัวต้นของ ปัจ. หรือลง อิย ปัจ.
กิส กิสล : (วิ.) ผอม, บาง, ซูบ, น้อย. กิสฺ ตนุกรเณ สาเน วา, อ. อภิฯ ลง ณ ปัจ. กัจฯ ๖๗๓ วิ. กิตพฺพนฺติ กิสํ. กิ หึสายํ. อิส ปัจ. ศัพท์หลัง กิสฺ ธาตุ อล ปัจ.
กุตูหล กุตุหฬ โกตูหล โกตูหฬ : (นปุ.) การตื่น, การตื่นข่าว, ความแตกตื่น, ความเอกเกริก. วิ. กุ ปาปํ ตุลยตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุลฺ อุมฺมาเณ, อ. หฺ อาคมกลาง ธาตุ. เวสฯ วิ. กุ ปาหํ โตชตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุชฺ หึสายํ, อโล แปลง ช เป็น ห. เป็น กุตุหล กุโตหล โดยไม่ทีฆะ บ้าง.
กุลตฺถ : (ปุ.) พืชที่ตั้งอยู่ในการพัน, พืชที่เลื้อย- พัน, ถั่วพู. กุล+ถ ซ้อน ตฺ ถ มาจาก ฐา ธาตุ แปลง ฐ เป็น ถ.
ขาท : (วิ.) ขุด, เจาะ, ไช. ขณุ ขนุ ธาตุ ท ปัจ.