ปมาทปาฐ : ป. ข้อความที่เขียนด้วยพลั้งเผลอ, ข้อความคลาดเคลื่อน
ขลิต : (นปุ.) กรรมอันพลาดพลั้งแล้ว, ความพลั้งพลาด.
ฉล : (นปุ.) การล่อลวง, การโกง, การพลั้ง – พลาด, ความล่อลวง, ฯลฯ. ขลฺ จลเน, อ, ขสฺส โฉ. ส. ฉล.
ปมชฺชติ : ก. ประมาท, มัวเมา, เลินเล่อ, เผลอสติ, ปล่อยปละละเลย; ลูบคลำ, ลูบไล้, ถู; เช็ด, ถูออก
ปมตฺต : ค. ผู้ประมาท, ผู้มัวเมา, ผู้เลินเล่อ, ผู้เผลอสติ, ผู้ปล่อยปละละเลย, ผู้เพิกเฉย
ปมาท : (ปุ.) ความมัวเมา, ความเลินเล่อ, ความลืมตน, ความเผลอ, ความไม่เอาใจใส่, ความลืมสติ, ความประมาท. วิ. ปมชฺชนํ ปมาโท. ปปุพฺโพ, มทฺ อุมฺมาเท, โณ. ไทย ใช้ ประมาท เป็นกิริยาในความว่าขาด ความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทนงตัว และดูหมิ่น ใช้เป็นนามว่า ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง.
มุฏฺฐสจฺจ : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีสติอันเผลอแล้ว, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีสติอันลืมแล้ว, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีสติอันหลงแล้ว, ความเป็นคนเผลอสติ, ฯลฯ. มุฏฺฐ+สติ+ณฺย ปัจ. ลบ อิ แปลง ตฺย เป็น จฺจ.
สมฺมุสฺสนตา : (อิต.) ความเผลอเลอ, ความเลินเล่อ, ความหลงลืม, สํปุพฺโพ, มุสฺ สมฺโมเส, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง สฺย เป็น สฺส ยุ เป็น อน ตา ปัจ. สกัด.
สมฺโมส : (ปุ.) ความเผลอเรอ, ฯลฯ. สํปุพฺโพ, มุสฺ สมฺโมเส, โณ.
อุทฺธจฺจ : (นปุ.) ความฟุ้งซ่าน, ความคิดพล่าน, อุทธัจจะ (ความคิดพล่านไปในอารมณ์ ต่าง ๆ อย่างเผลอตัว). วิ. อุทฺธํ หนตีติ อุทฺธโต. อุทิธํปุพฺโพ, หนฺ คติยํ, โต, หนสฺส โธ (แปลง หน เป็น ธ), อสรูปทฺวิตตํ (แปลง ธ เป็น ทฺธ และ ลบ ทฺธํ ที่บทหน้า). อุทฺธตสฺส ภาโว อุทฺธจฺจํ. ณฺย ปัจ. กัจฯ และ รูปฯ ลง ย ปัจ.
เผคฺคุ : (วิ.) ว่าง, เปล่า, หาแก่นมิได้, ไร้สาระ. วิ. ผลติ นิปฺผลํ คจฺฉตีติ เผคฺคุ (ถึงซึ่งความมีผลออกแล้ว ไม่มีผล). ผลฺ นิปฺผตฺติยํ, คุ, อสฺเส, ลสฺส โค.
อนิปฺผล : (วิ.) มีผลออกแล้วหามิได้, ไม่ไร้ผล, มีผล.วิ.นตฺถินิกฺขมิตฺวาผลเมตฺถาติอนิปฺผลํ.
อวฺยตฺตตา : อิต. ความเป็นผู้ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ; ความไม่แสดงผลออกมาให้ปรากฏ
อุปปีฬกกมฺม : (นปุ.) กรรมบีบคั้น, กรรม เบียดเบียนกรรมอื่น ๆ (ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘), อุปปีฬกกรรม (กรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมซึ่งให้ผลอยู่ แล้วให้มีกำลังลดลง กรรมที่เบียดเบียนรูป นามซึ่งเกิดจากชนกกรรมให้มีกำลังลดลง).