พล : (นปุ.) ใบ, ใบไม้, ส่วน, ส่วนแบ่ง,ฝัก, ฝักดาบ, ท่อน, ตอน, กลีบ, กลีบดอกไม้. วิ. ทลตีติ ทลํ วิกสเน, อ. เป็น ทลฺล บ้าง ส. ทล.
พลจกฺก : ๑. นป. พลจักร์, ความเป็นไปหรือแผ่ไปแห่งอำนาจ;
๒. ค. ซึ่งมีอำนาจสูงสุด, มีอำนาจในการปกครอง
พลนายก : (ปุ.) บุคคลผู้นำพล, แม่ทัพ.
พลโกฏฺฐก : (นปุ.) เขตทหาร.
พลคุมฺพ : ป. แถวทหาร
พลชา : อิต. หญิงงาม; ภาคพื้น, แผ่นดิน
พลตา : อิต. ความมีกำลัง, ความมีอำนาจ
พลติ : ก. อยู่
พลทาน : นป. มีกำลัง, มีอำนาจ
พลทายี : ป. เทพผู้ให้กำลัง
พลเทว : ป. พลเทพ, เป็นชื่อของบุตรคนที่สองของนางเทวคัพภาและอุปราชชื่อสาคร
พลวาหน : นป. ทหารและยานพาหนะ, กองทัพ
พลวีร : ป. ผู้มีกำลังยิ่ง, ผู้มีกำลังมาก, ผู้เป็นเยี่ยมในทางมีกำลัง
พลหา : อิต. เสลด
พลี : (วิ.) มีกำลัง. พล+อี ปัจ. ตทัสสัตถิตัท.
กมฺพล : (ปุ.) ผ้าทอด้วยขนสัตว์, ผ้าขนสัตว์, ผ้ากัมพล (ผ้าขนสัตว์ชนิดหนึ่ง), กัมพล ชื่อนาคที่อยู่เชิงเขาสุเมรุ. กมุกนฺติยํ, อโล, พฺอาคโม. อภิฯ กัจฯ และรูปฯ เป็น กมฺพฺ สญฺจลเน, อโล. ส. กมฺพล.
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
ทสพล : (ปุ.) พระทสพล พระนามของพระ พุทธเจ้าทั้งปวง อภิฯ วิ. ทานสีลขนฺตฺ- ยาทโย ฐานาฐานญฺญทาโย วา ทส พลานิ อสฺเสติ ทสพโล. รูปฯ ๓๓๗ วิ. ทส พลานิ อสฺสาติ ทสพโล (มีกำลังสิบ). ฉ พหุพ.
ทุพฺพล : (วิ.) มีกำลังอันโทษประทุษร้ายแล้ว, มีกำลังชั่ว, มีกำลังเสีย, มีกำลังทราม, ไม่มีกำลัง, ทรพล, ทรพล. ส. ทุรฺพล, ทุรฺพฺพล.
ทุพฺพลภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่ง...ผู้มีกำลัง อันโทษประทุษร้ายแล้ว, ฯลฯ, ความเป็นคนทุรพล, ความเป็นผู้ทุรพล. วิ.ทุพฺพลสฺส ภาโว ทุพฺพลภาโว. ไทยใช้คำทุพพลภาพ ในความว่า ไม่มีกำลังที่จะประกอบการงาน ความเสื่อมถอยกำลัง อ่อนเพลียไม่สมประกอบ.
พลกาย พลนิกาย : (ปุ.) หมู่แห่งกำลัง, หมู่แห่งพล, กองแห่งกำลัง, กองพล, กองทัพ, กองทัพบก.
พิล : (นปุ.) ปล่อง, ช่อง, โพรง, รู, ส่วน, ชิ้น, เสา. พิลฺ เภทเน นิสฺสเย วา, อ.
กมฺพลสิลาสน : นป. กัมพลศิลาอาสน์, แท่นหินที่ปูลาดด้วยผ้ากัมพลใช้เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ
กมฺพลสุตฺต : นป. ด้ายขนสัตว์
กมฺมพล : นป. กำลังแห่งกรรม, อำนาจของกรรม
กายพล : นป. กำลังกาย, พลังกาย
เกสกมฺพล : นป. ผ้ากัมพลทำด้วยผม, ผ้าห่มทำด้วยผมมนุษย์
ขนฺติพล : (วิ.) ผู้มีกำลังอันบัณฑิตนับพร้อม แล้วว่าขันติ วิ. ขนฺติสํขาตํ พลํ อสฺส อตฺถีติ ขนฺติพโล. ณ ปัจ. ตทัสสัตถิตัท.
จกฺขุทุพฺพล : (วิ.) ผู้มีจักษุมีกำลังอันโทษประ ทุษร้ายแล้ว, ผู้มีตาอ่อนแอ (ตาเสื่อมตา เสีย).
ชงฺฆพล : นป. กำลังแข้ง
ตถาคตพล : นป. พระปรีชาสามารถของพระตถาคต
ทสพลจตุเวสารชฺชาทิสพฺพคุณปฏิมณฺฑิต : (วิ.) (พระสัพพัญญุตาญาณ) อันประดับเฉพาะแล้วด้วยคุณทั้งปวงมีญาณแห่งพระพุทธเจ้าผู้มีกำลังสิบและญาณคือ ความเป็นแห่งพระพุทธเจ้าผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้วสี่เป็นต้น. เป็น ต. ตัป. มี ฉ. ตุล., ฉ.ตัป., ฉ. ตุล., ณฺยปัจ. ภาวตัท., ส.ทิคุ., อว.กัม., อ.ทวัน., วิเสสนบุพ. กัม. ฉ..ตุล. และ วิเสสนบุพ. กัม. เป็นภายใน. ลบ ญาณ ทั้งสองศัพท์.
ทสพลูเปต : (วิ.) ประกอบแล้วด้วยพระ ทศพลญาณ.
นาคพล : นป., ค. กำลังแห่งช้าง; มีกำลังเท่ากับช้าง, มีกำลังเพียงดังกำลังแห่งช้าง
ปฏิพล : ค. สามารถ, ชำนิชำนาญ
ปฏิสงฺขานพล : นป. กำลังแห่งการพิจารณา, ธรรมที่เป็นกำลังคือการพิจารณา, อำนาจการพิจารณา
ปณฺฑุกมฺพล : นป. ผ้ากัมพลสีเหลือง; ชื่อชนบทแห่งหนึ่งในอินเดีย
ปณฺฑุกมฺพลสิลาสน : นป. แท่นศิลาที่มีสีเหมือนผ้ากัมพล, ชื่อแท่นที่ประทับนั่งของพระอินทร์
พลิ : (ปุ.) ภาษี, อากร (ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งรัฐบาลเรียกเก็บ). วิ. พลนฺติ อเนนาติ พลิ. ปาณเน, อิ.
พาหาพล : นป. กำลังแขน
พุทฺธพล : นป. กำลังของพระพุทธเจ้า
มหพฺพล : (วิ.) มีกำลังมาก, ฯลฯ.
ยถาพล : ก.วิ. ตามกำลังแห่งตน
รตฺตกมฺพล : (นปุ.) ผ้ากัมพลแดง, ผ้ากัมพลสีแดง.
สกพล : นป. กำลังของตน, คำข้าวในปากของตน
สมฺพล : นป. เสบียง
อนุพล : นป. กำลังสนับสนุน, การสนับสนุน, การช่วยเหลือ; บริวาร
อสพล : ค. ไม่มีจุด, ไม่ด่างพร้อย
อิทฺธิพล : (นปุ.) กำลังแห่งความสำเร็จ, กำลัง อันยังผลให้สำเร็จ, อิทธิพล (กำลังอำนาจ). คำอิทธิพล ไทยใช้ทั้งในทางดีและทางเสีย ทางดี เช่น อิทธิพลของดวงดาว ทางเสีย เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยินยอม.