พุทฺธลีลา : อิต. ความสง่างามในการเคลื่อนไหวของพระพุทธเจ้า
พุทฺธ : (วิ.) ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้. พุธฺ โพธเน, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบที่สุดธาตุ.
ลีลา : อิต. การเยื้องกราย, กิริยา, มรรยาท, วิลาส, ความสวยงาม
พุทฺธเทยฺย : (วิ.) ควรถวายแด่พระพุทธเจ้า วิ. พุทฺธสฺส เทยฺยํ พุทฺธเทยฺยํ. รูปฯ ๓๓๖.
พุทฺธกร, พุทฺธการก : ค. (ธรรม) ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
พุทฺธการกธมฺม : (ปุ. นปุ.) ธรรมอันทำความเป็นพุทธะ, พุทธการกธรรม คือ บารมี ๑๐.
พุทฺธกาล : (ปุ.) กาลแห่งพระพุทธเจ้า, เวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.
พุทฺธกิจฺจ : นป. กิจหรือหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
พุทฺธกุล : นป. ตระกูลของพระพุทธเจ้า, พุทธสกุล
พุทฺธโกลาหล : นป. ความแตกตื่นอยากดูเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมา
พุทฺธเขตฺต : นป. เขตของพระพุทธเจ้า, เขตที่อำนาจของพระพุทธเจ้าแผ่ไปถึง
พุทฺธคาถา : อิต. พระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่เป็นคำกวี
พุทฺธคุณ : ป. พระพุทธคุณ, พระคุณของพระพุทธเจ้า
พุทฺธจกฺก : (นปุ.)อาณาจักรของพุทธะ, เขตแดนของพุทธะ, เขตแดนของพระพุทธเจ้า, เขตแดนของพระพุทธ ศาสนา, พุทธจักร คือ ขอบเขตการปกครองในพระพุทธศาสนา วงการของพระพุทธศาสนา ฝ่ายพระพุทธศาสนา.
พุทฺธจกฺขุ : (นปุ.) จักษุของพระพุทธเจ้า, พุทธญาณ พุทธจักษุ (รู้อินทรีย์อ่อนแก่ที่มีในสันดานของสัตว์และอัธยาศัยของสัตว์).
พุทฺธญาณ : นป. ญาณของพระพุทธเจ้า, ความรู้ที่กว้างขวางไม่มีขอบเขตจำกัด
พุทฺธตา : อิต. ความเป็นพระพุทธเจ้า, ความเป็นแห่งผู้รู้
พุทฺธเตช : ป. เดชของพระพุทธเจ้า, อำนาจของพระพุทธเจ้า
พุทฺธธมฺม : ป. ธรรมของพระพุทธเจ้า, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พุทฺธปฏิมากร : (ปุ.) ช่างปั้นพระพุทธรูป, ช่างหล่อพระพุทธรูป.
พุทฺธปมุข : (วิ.) มีพระพุทธเจ้าเป็นหัวหน้าโดยความเป็นประธาน, มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
พุทฺธปุตฺต : ป. บุตรของพระพุทธเจ้า; อริยสาวก
พุทฺธพล : นป. กำลังของพระพุทธเจ้า
พุทฺธภาสิต : (วิ.) อันพระพุทธ เจ้าตรัสแล้ว.
พุทฺธภูมิ : อิต. พุทธภูมิ, ขั้นแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า
พุทฺธวิสย : (ปุ.) วิสัยของพระพุทธเจ้า.
พุทฺธสก : (นปุ.) ปีของพระพุทธเจ้า. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาครบ ๑๒ เดือน ครั้ง ๑ เป็นพุทธพรรษ พุทธสก ๑ ในสันสกฤต ได้รูปเป็น พุทธศักราช จึงใช้อักษรย่อปีซึ่งนับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานว่า พ.ศ.
พุทฺธสาสน : (นปุ.) ศาสนาแห่งท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, ศาสนาของพระ พุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ, พุทธศาสนา, พุทธสาสนา, โดยมากใช้รูปสันสกฤต คือ พุทธศาสนา.
พุทฺธสาสนิก : (วิ.) ผู้นับถือพระพุทธศาสนา.
พุทฺธสุขุมาล : ป. พระพุทธเจ้าผู้ละเอียดอ่อน, ผู้มีเชื้อชาติดี, ผู้ละเมียดละไม
นิพฺพุทฺธ : (นปุ.) การชกกัน วิ. อโธภาคํ พนฺธนํ วา กตฺวา ยุชฺฌนฺตฺยเตฺรติ นิพฺพุทฺธํ. นิปุพฺโพ, ยุธฺ สมฺปหาเร, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบที่สุดธาตุ แปลง ยุ เป็น พุ. อญญมญญสฺส เวธํ นิพฺเพเธฺนฺตฺยเตฺรติ วา นิพฺพุทฺธํ เวธฺ เวธเน โต, เอสฺสุ.
ปจฺเจกพุทฺธ : ป. ท่านผู้ตรัสรู้เฉพาะตัวมิได้สอนผู้อื่น, พระปัจเจกพุทธเจ้า
ปฏิพุทฺธ : ค. ผู้ตื่นแล้ว
ปพุทฺธ : ก. ผู้ตื่น, ผู้ตรัสรู้แล้ว
สมฺพุทฺธ : กิต. ตรัสรู้เอง
สมฺมาสมฺพุทฺธ : (วิ.) ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ, ตรัสรู้เองโดยชอบ.
อนุพุทฺธ : ๑. กิต. ตื่นตามแล้ว, ตรัสรู้ตามแล้ว, เข้าใจตามแล้ว;
๒. ป. อนุพุทธะ, ผู้ตรัสรู้ตาม
อปลิพุทฺธ : ก. ไม่ถูกขัดขวาง, ไม่ถูกกีดกัน, เป็นอิสระ
อภิสมฺพุทฺธ : (วิ.) ผู้รู้พร้อมแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งผู้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง.
จกฺขุ : (นปุ.) ตา ( ธรรมชาติที่เห็นรูปได้ ), นัยน์ตา โดยมากหมายเอา แววตา ประสาท ตา. วิ. จกฺขติ รูปนฺติ จกฺขุ จกฺขฺ ทสฺสเน, อุ. กัจฯ และรูปฯ ลง ณุ ปัจ. จกฺขุ ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๕ อย่างคือ พุทฺธจกฺขุ ได้แก่ พุทธญาณ ๑ สมนฺตจกฺขุ ได้แก่พระ สัพพัญญุตญาณ ๑ ปญฺญาจกฺขุ ได้แก่จักษุ คือปัญญา ๑ ธมมจกฺขุ ได้แก่ญาณ ใน มรรคสามเบื้องต้น ๑ มํสจกฺขุ ได้แก่ตา เนื้อ และทิพฺพจกฺขุ ตาทิพ ๑ ส. จกฺษุ.
เทสนาวิลาส : ป. ความไพเราะแห่งเทศนา, ทำนองเทศน์อันไพเราะ, ลีลาการแสดงธรรมอันจับใจ
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
พุทฺธานุภาว : ป. พุทธานุภาพ, อานุภาพของพระพุทธเจ้า
พุทฺธานุสฺสติ : อิต. สติอันเป็นไปในพระคุณของพระพุทธเจ้า, การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
พทฺธ : (ปุ.) บ่วง. พนฺธฺ พนฺธเน, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบ นฺธฺ.