พฺรหฺมจารี : (วิ.) ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอันประเสริฐ. วิ. พฺรหฺมํ จรตีติ พฺรหฺมจารี. ณี ปัจ. ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ วิ. พฺรหฺมจริยํ จรตีติ พฺรหฺมจารี. ผู้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ, ฯลฯ. คำแปลและ วิ. อีก ดู ธมฺมจารี เทียบ.
จารี : ค. ผู้มีปกติประพฤติ, ผู้มักเที่ยวไป
พฺรหฺม : (วิ.) เลิศ. ประเสริฐ, ประเสริฐสุด. พฺรหฺ วุทฺธิยํ, โม.
พฺรหฺมจาริณี พรหฺมจารี : (อิต.) หญิงผู้ประพฤติประเสริฐ, หญิงผู้ประพฤติเหมือนพรหม, หญิงพรหมจารี. พรหมจาริณี พรหมจารี ไทยใช้หมายถึงหญิงที่ยังบริสุทธิ์เรื่องเพศ.
อาราจาร, - จารี : ค. ผู้มีปกติประพฤติห่างไกลจากกาม
พฺรหฺมจริย : (นปุ.) ความประพฤติซึ่งธรรมอันประเสริฐ, ความประพฤติประเสริฐ, ความประพฤติเพียงดังพรหม, ความประพฤติเหมือนพรหม, ความหนักแน่น, ความตั้ง ใจมั่น, ทาน, อัปปมัญญา, สาสนะ, พรหมจรรย์ (การถือบวช การถือพรตเว้นเมถุนธรรม). ความสิ้นราคะ โทสะและโมหะ เป็นที่สุดของพรหมจรรย์ ไตร. ๑๙/๓๐/๙.
พฺรหฺมจินฺติต : ค. อันพรหมคิดแล้ว
พฺรหฺมชาติ : (อิต.) พรหมชาติ ชื่อตำราหมอดูอย่างหนึ่ง มีกฏเกณฑ์การทำนายโดยเลข ๗ ตัว เป็นหลักใหญ่ ยังไม่ถึงขั้นโหราศาสตร์.
พฺรหฺมทายาท : ป. ทายาทแห่งพรหม, ผู้รับมรดกอันประเสริฐ
พฺรหฺมเทยฺย : นป. พรหมเทยย์, ของที่ได้รับพระราชทานจากพระราชา
พฺรหฺมเทฺยฺย : (นปุ.) รางวัลอันบุคคลผู้ประเสริฐพึงให้, รางวัลอันบุคคลผู้เพียงดังพรหมพึงให้, รางวัลอันประเสริฐ.
พฺรหฺมเทวตา : อิต. เทวดาในสวรรค์ชั้นพรหม
พฺรหฺมปรายน : ค. มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า, มีเหตุอันจะต้องเข้าถึงความเป็นพรหม
พฺรหฺมปริสา : อิต. บริษัทแห่งพรหม, บริวารแห่งพรหม, การประชุมแห่งพวกพรหมในพรหมโลก
พฺรหฺมปาริสชฺช : (ปุ.) พรหมปาริสัช ชื่อ พรหมชั้นที่ ๑ ใน ๒๐ ชั้น.
พฺรหฺมปุโรหิต : (ปุ.) พรหมปุโรหิต ชื่อ รูปพรหมชั้นที่ ๒ ชื่อพรหมผู้เป็นปุโรหิตของมหาพรหม.
พฺรหฺมพนฺธุ : (ปุ.) ชนผู้เป็นพวกพ้องแห่งพรหม, พราหมณ์.
พฺรหฺมยาน : นป. พรหมยาน, ยานอันประเสริฐ, ทางแห่งความดีอันประเสริฐ
พฺรหฺมยานิย : ค. ซึ่งนำไปสู่ความเป็นพรหม
พฺรหฺมโลก : (ปุ.) โลกเป็นที่อยู่ของพรหม, พรหมโลก.
พฺรหฺมวิมาน : นป. วิมานแห่งพรหม
พฺรหฺมวิหาร : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่, ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, พรหมวิหาร ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง มี ๔ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา.
พฺรหฺมสม : ค. เสมอด้วยพรหม, คล้ายพรหม
พฺรหฺมจกฺก : นป. พรหมจักร, จักรอันประเสริฐหมายถึงธรรม
พฺรหฺมจริยา : อิต. การประพฤติพรหมจรรย์
พฺรหฺมชาล : นป. ข่ายที่เลิศ, ข่ายที่ประเสริฐ
พฺรหฺมภูต : ค. อันประเสริฐ, เลิศ
พฺรหฺมวาท : ป. วาทะอันประเสริฐ, คำพูดอันประเสริฐ
เขมจารี : (วิ.) ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอันเกษม วิ. เขมํ จรตีติ เขมจารี, ผู้ประพฤติซึ่งธรรมอัน อันเกษมโดยปกติ วิ. เขมํ จรติ สีเลนาติ เขมจารี. ผู้มีความประพฤติซึ่งธรรมอัน เกษมเป็นปกติ. ผู้มีปกติประพฤติซึ่งธรรม อันเกษม วิ. เขมสฺส จรณสีโลติ เขมจารี.
ธมฺมจารี : (วิ.) ผู้ประพฤติซึ่งธรรม วิ. ธมฺมํ จรตีติ ธมฺมจารี. ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ. วิ. ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารี. ผู้มีความประพฤติซึ่งธรรมเป็นปกติ วิ. ธมฺมํ จริดฺ สีล มสฺสาติ ธมฺมจารี. ผู้มีปกติ ประพฤติซึ่งธรรม วิ. ธมฺมสฺส จรณสีโลติ ธมฺมจารี. ธมฺมปุพฺโพ, จรฺ จรเณ, ณี.
ปมตฺตจารี : (ปุ.) ผู้ประพฤติประมาทโดยปกติ, ฯลฯ. ดู ธมฺมจารี เทียบ.
มหาพฺรหฺม : (ปุ.) มหาพรหม ชื่อพรหมชั้นที่ ๓ ใน ๑๖ ชั้น ชื่อภพเป็นที่เกิดที่อยู่ของพรหมชั้นที่ ๓ นั้น (มหาพรหม).
จาร : (ปุ.) คนสอดแนม, การเที่ยวไป, การเป็น ไป, ความประพฤติ. จรฺ จรเณ, โณ.
ปุเรจารี : (วิ.) ผู้ไปก่อน, ฯลฯ. ดู ปุเรคามี เทียบ.
มิจฺฉาจารี : ป. ผู้ประพฤติผิด
รถาจารี : ป. นายสารถี
สปทานจารี : ป. ผู้เที่ยวไปตามลำดับ
สพฺรหฺมจารี : (ปุ.) บุคคลผู้มีปกติประพฤติซึ่งธรรมอันประเสริฐเสมอกัน.
เสริจารี : ป. ผู้ประพฤติตามความพอใจตน
อติโธนจารี : ค. ผู้ไม่รู้จักประมาณ, ผู้เป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย
อนุจารี : (ปุ.) ชนผู้เที่ยวไปโดยลำดับโดยปกติ, ชนผู้เที่ยวไปโดยลำดับเป็นปกติ, ชนผู้มีปกติเที่ยวไปโดยลำดับ.
อนุธมฺมจารี : (ปุ.) คนผู้มีอันประพฤติซึ่งธรรมอันสมควร, ฯลฯ.
อมฺพุจารี : ป. ปลา, สัตว์ที่มีปกติท่องเที่ยวไปในน้ำ
อากาสจารี : ค. ผู้เที่ยวไปในอากาศ
อาคุจารี : ป. ผู้มีปกติประพฤติผิด, ผู้ประพฤติชั่ว
อุปถจารี : (ปุ.) ชนผู้ประพฤติผิดทางโดยปกติ, ชนผู้มีปกติประพฤติผิดทาง, คนมีการประพฤติผิดทางเป็นปกติ.
พฺรหาหฺมณ : (ปุ.) พราหมณ์ มีความหมายดังนี้.- ๑. เป็นชื่อของชนวรรณะหนึ่ง วิ. พฺรหฺมํ อณตีติ พฺราหฺมโณ. มนฺเต สชฺชายตีติ อตฺโถ, พฺรหฺมปุพฺโพ, อณฺ สทฺเท, โณ. พฺรหฺมุโน อปจฺจํ พฺราหฺมโณ. ณ ปัจ. โคตตตัท. นฺ อาคม แปลง นฺ เป็น ณฺ. เขาถือว่า พวกเขาเกิดจาก อุระ หรือปากของพระพรหม.และ ๒. เป็นชื่อของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ พาหิตปาปตฺตา พฺราหฺมโณ ชื่อ พระอรหันต์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว (ละบาปได้แล้ว).
พาหุช : (ปุ.) กษัตริย์. พฺรหฺมพาหุโต ชาตตฺตา พาหุโช (เกิดจากแขนพระพรหม).