ภ : (ปุ.) ผึ้ง, แมลงภู่.
ภกมฺปิ : (นปุ.?) หวั่นไหว. ปปุพฺโพ, กปิ จลเน, อิ. แปลง ป เป็น ภ.
ภยานก : (ปุ.) ภยานกะ ชื่อนาฏยรสอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง. ภโยปจยสภาโว ภยานโก.
ภกุฏิ : (อิต.) สยิ้วหน้า. ปปุพฺโพ, กุฏฺ โกฏิลฺเล, อิ.
ภคนฺทลา : อิต. โรคริดสีดวง
ภควนฺตุ : (ปุ.) พระผู้มีพระภาคเจ้า. ศัพท์นี้ใช้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าเท่านั้น และใช้เป็น ๓ วจนะ คือ เอกวจนะ ท๎วิวจนะ และ พหุวจนะ ใช้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวงด้วย ที่เป็น อาลปนะ แปลว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้. พระนามนี้มีอรรถมากตามธาตุ. ภชฺ เสวายํ ภาชเน จ ทาเน จ. ภญฺชฺ อวมทฺทเน, วนฺตุ ปัจ. แปลง ช เป็น ค ถ้าตั้ง ภญฺชฺ ธาตุ พึงลบ ญฺ สังโยค. ไตร. ๒๙, ๓๐.
ภติก : (วิ.) ผู้เลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง, ผู้ทำซึ่งค่าจ้าง. ภติ+กรฺ+กฺวิ ปัจ.
ภทนฺต, ภทฺทนฺต : ค. ท่านผู้เจริญ, พระผู้เป็นเจ้า, พระคุณเจ้า (ใช้สำหรับพระสงฆ์)
ภทนฺตุ : (ปุ.) บุคคลผู้เจริญ, ท่านผู้เจริญ.
ภทนฺเต : (อัพ. นิบาต) ดู ภนฺเต.
ภมติ : ก. หมุน, กลึง
ภยงฺกร : (วิ.) ทำซึ่งภัย, กระทำซึ่งภัย, น่ากลัว, น่าสพึงกลัว. ทุ. ตัป. อลุตตสมาส.
ภยงฺกร ภยานก : (นปุ.) สิ่งอันน่าสพึงกลัว. ความขลาด, ฯลฯ.
ภยูปรต : (วิ.) ผู้มีความกลัวยังไม่สิ้น, ผู้ยังมีความกลัว. ภย+อุปรต.
ภวงฺค : (นปุ.) องค์แห่งภพ, ภวังค์ คือส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ อีกอย่างหนึ่ง คือภพของจิต ที่อยู่ของจิต.
ภวงฺคจิตตฺ : (นปุ.) จิตเป็นองค์แห่งภพ, จิตตกลงสู่กระแสภวังค์, จิตเป็นภวังค์, ภวังคจิต คือ จิตตกลงสู่กระแสภวังค์ เป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว สืบต่อไว้ซึ่งภพ บังเกิดติดต่อกันดุจกระแสน้ำไหล ทำหน้าที่รักษาภพชาติให้ดำรงอยู่ อีกบรรยายหนึ่งจิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิ จิตทำหน้าที่รักษาภพชาติให้ดำรงอยู่เท่าที่อายุของสังขารจะอยู่ได้ในภพที่ปฏิสนธิ (เกิด) นั้น เกิดดับโดยไม่ขาดสายจนกว่าจะถึงจุติจิต (ตาย) จิตนั้นจะขาดจากภวังค์เมื่อขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ ก็ขาดจากภวังค์ เมื่อรับอารมณ์แล้ว จิตก็ตกกระแสภวังค์ต่อไป วนอยู่อย่างนี้.
ภวนฺต : (วิ.) ผู้เจริญ. ถ้าเป็นวิเสสนะของนาม อิต. เป็น โภตี.
ภวนฺตคู : ค. ถึงที่สุดแห่งภพ, ไม่เกิดอีก
ภวนฺตุ : (ปุ.) ปูชารหบุคคล, พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระพุทธเจ้า (ชิน).
ภวนิกฺขมน : (นปุ.) อันออกไปจากภพ, ความออกไปจากภพ.
ภวนิสฺสรณ : (นปุ.) ธรรมชาติเป็นเครื่องออกไปจากภพ, ธรรมชาติเป็นเครื่องสกัดออกจากภพ.
ภวาภว : (ปุ.) ความเป็นอยู่และภาวะมิใช่ความเป็นอยู่, ภพแลภพอันเจริญ, ภพและภาวิมิใช่ภพ, ภพน้อยภพใหญ่, ความเจริญและความเสื่อม.
ภวาสว : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไปในภพ, กิเลสเครื่องหมักดอกในภพ, อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น, อาสวะ คือ ภพ, ภาสวะ (ความหมกมุ่นอยู่ในภพ).
กุมฺภถูณ กมฺภถูน : (ปุ. นปุ.) เถิดเทิง (กลองยาว) กุมฺโภ จ โส ถูโณ จาติ กุมฺภถูโณ. อถวา, กุมฺภสณฺฐานตฺตา กุมฺโภ จ ถูณนคเร สมฺภูตตฺตา ถูณญฺจาติ กุมฺภูณํ. ฎีกาอภิฯ เป็น กุมฺภถุณ ตั้ง ถุ อภิตฺถเว, โณ. ไม่ลบ ณ ปัจ. หรือ ถุณฺ ปูรเณ, อ.
กุสุมฺภ : (ปุ.) บ่อเล็ก, หลุมเล็ก. กุ คือ ขุทฺทก + สุมฺภ.
ภคณฺฑ ภคนฺท : (วิ.) รด, ราด, โปรย, รดน้ำ. ภคณฺฑฺ ภคนฺทฺ จ เสจเน, อ.
ภคณฺฑล ภคนฺทล : (นปุ.) ริดสีดวง, บานทะโรค. ภคณฺฑ ภคนฺทฺ ธาตุ อล ปัจ. อภิฯ เป็น ภคนฺทฬา และ แปลง ล เป็น ร เป็น ภคนฺทร บ้าง.
ภคณฺฑลา ภคนฺทลา : (อิต.) ริดสีดวง, บานทะโรค. ภคณฺฑ ภคนฺทฺ ธาตุ อล ปัจ. อภิฯ เป็น ภคนฺทฬา และ แปลง ล เป็น ร เป็น ภคนฺทร บ้าง.
กุมฺภ : (ปุ.) หม้อ, หม้อน้ำ, ขวด, ขวดน้ำ, ตุ่ม, ตุ่มน้ำ. วิ. เกน ชเลน อุมฺภียตีติ กุมโภ. กปุพฺโพ, อุมฺภฺ ปูรเณ, อ, สฺสุ. อถวา, อุภฺ ปูรเณ, อ, นิคฺคหิตาคโม.
กุมฺภการ : (ปุ.) คนทำหม้อ, คนปั้นหม้อ, ช่างหม้อ
กุมฺภการสาลา : อิต. โรงช่างหม้อ
กุมฺภการิกา : อิต. ตุ่มดินขนาดใหญ่ (ที่คนสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้)
กุมฺภถูณ : ป. กลองชนิดหนึ่ง
กุมฺภทาสี : อิต. นางกุมภทาสี, หญิงสาวที่รับใช้ตักน้ำ, หญิงสาวใช้ที่นำหม้อน้ำไป
กุมฺภทูหน : นป. การรีดนมด้วยหม้อ, การรีดนมลงในภาชนะ
กุมฺภภารมตฺต : ค. ซึ่งจุประมาณหนึ่งหม้อ; มีปริมาตรหนึ่งหม้อ
กุสุมฺภรา : อิต. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
โกสุมฺภ : (นปุ.) ผ้าย้อมด้วยดอกคำ วิ. กุสุมฺเภน รตฺตํ โกสุมภํ. ณ ปัจ. ราคาทิตัท.
คชกุมฺภ : ป. กระพองช้าง
คีวาภรณ : (นปุ.) เครื่องประดับคอ, สายสร้อย, สายสร้อยคอ.
ตุสิตภวน : (นปุ.) ภพชื่อดุสิต, ภพดุสิต.
ทารภรณ : นป. การเลี้ยงดูภรรยา
ทิวสภติมตฺต : (วิ.) สักว่าค่าจ้างในวัน.
ทุกฺขลาภ : (ปุ.) การได้ด้วยความลำบาก, การได้โดยยาก, ลาภที่ได้โดยยาก.
ทุกฺขานุภวน : นป. การเสวยทุกข์, การได้รับความทุกข์ทรมาน
เทวภวน : นป. ที่อยู่ของเทวดา, เทพวิมาน
นาคภวน : นป. นาคพิภพ, ภพของนาค, ที่อยู่ของนาค, นาคโลก
นิรุมฺภติ : ก. ปราบปราม, ระงับ, ทำให้เงียบ, นิ่งเงียบ
ปุณฺณกุมฺภ, ปุณฺณฆฏ : ป. หม้ออันเต็มด้วยน้ำ, หม้อมีน้ำเต็ม