มหนฺต : (วิ.) ใหญ่, ยิ่ง, มาก, นัก, โต, ผู้ใหญ่, แก่. มหฺ วุฑฺฒิยํ, อนฺโต.
มห : (วิ.) ใหญ่, ยิ่ง, มาก, นัก. มหฺ วุฑฺฒิยํ, อ. หรือ มหนฺต ศัพท์แปลงเป็น มห.
มหานส : (นปุ.) โรงมีวัตถุอันบุคคลพึงกินมาก, สถานที่หุง, โรงครัว, เรือนครัว, ครัว. วิ. มหนฺตานิ พหูนิ อสิตพฺพานิ ภวนฺติ เอตฺถาติ มหานสํ. มหนฺตปุพฺโพ, อสฺ ภกฺขเณ, ยุ. แปลง ยุ เป็น อน แล้ว แปร น ไว้หน้า ส. และแปลง มหนฺต เป็น มหา.
อุตฺตรกุรุ : (ปุ.) อุตตรกุรุ ชื่อทวีปใหญ่ ๑ ใน ๔ ทวีป วิ. ธมฺมตา สิทฺธสฺส ปญฺจสีลสฺส อานุภาเวน กํ สุขํ อูรุ มหนฺต เมตฺถาติ กุรุ. กุ ปาป รุนฺธนฺติ เอตฺถาติ วา กุรุ. กวิ. อุตฺตโร อุตฺตโม กุรุ อุตฺตรกุรุ.
อูรุ : (วิ.) ใหญ่, หนา, มาก. วิ. อรติ มหนฺต ภาวํ คจฺฉตีติ อูรุ. อรฺ คมเน, อุ, อสฺสู (แปลง อ เป็น อู).
มาตงฺค : (ปุ.) ช้าง, ช้างพลาย. วิ. มหนฺตํ องฺคํ เอตสฺสาติ มาตงฺโค (สัตว์มีตัวใหญ่). มหนฺต+องฺค ลบ หนฺต แปลง อ ที่ ม เป็น อา.
มหนฺตี : (วิ.) ใหญ่. วิเสสนะที่แต่ง อิต.
มหารห : (วิ.) ควรค่ามาก. มหนฺต+อคฺฆ+อรห.
มหาสน : (นปุ.) แปลเหมือน มหานส. มหนฺต+อส. ธาตุ ในความกิน ยุ ปัจ.
มหาสย : (วิ.) มีความปรารถนาใหญ่, ฯลฯ, มีใจกว้าง, มีใจกว้างขวาง, ใจกว้าง. มหนฺต+อาสย.
ขตฺติมหาสาล : (ปุ.) กษัตริย์ผู้มหาศาล วิ. มหนฺโต ธนสาโร เยสํ เต มหาสาลา. แปลง ร เป็น ล. ขตฺติโย จ โส มหาสาโล จาติ ขตฺติยมหาสาโล.
ทฺวชมหาสาล ทฺวิชมหาสาฬ : (ปุ.) พราหมณ์ มหาสาล วิ . มหนฺโต ธนสาโร ยสฺส โส มหาสาโล. แปลง ร เป้น ล. ทฺวิโช จ โส มหาสาโล จาติ ทฺวิชมหาสาโล. ศัพท์หลัง แปลง ล เป็น ฬ.
มหาลิ : (วิ.) ผู้ถือเอาซึ่งประโยชน์ใหญ่. วิ. มหนฺตํ อตฺถํ ลาตีติ มหาลิ. อิ ปัจ.
มหาวิเรก : (ปุ.) โรคลงท้อง, โรคท้องร่วง. วิ. พหุโส สรณตฺตา มหนฺโต วิเรโก มหาวิโรโก.
มหินฺท : (ปุ.) มหินทะ ชื่อของพระอินทร์ชื่อ ๑ ใน ๒๐ ชื่อ, พระอินทร์. วิ. มหตํ เทวานํ อินฺโท ราชาติ มหินฺโท. มหนฺโต จ โส อินฺโท จาติ วา มหินฺโท.
มเหสี : (ปุ.) มเหสี พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระนาม ๑ วิ. มหนฺเต สีลกฺขนฺธาทิเก เอสตีติ มเหสี. มหนฺตปุพฺโพ, เอสฺ คเวสเน, อี.
มโหทธิ : (ปุ.) ประเทศทรงไว้ซึ่งน้ำมาก, ทะเลใหญ่, มหาสมุทร. วิ. มโหทกํ ทธาตีติ มโหทธิ. มหนฺตํ มุทกํ ธียติ เอตฺถาติ มโหทธิ. อิ ปัจ.
มโหสธ : (นปุ.) ขิง, ขิงแห้ง. วิ. ติกฺขรสตฺตา มหนฺตํ โอสธํ มโหสธํ. ชะเอมต้น วิ. มหาวิริยํ โอสธํ มโหสธํ.