Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มัชฌิมาปฏิปทา, มัชฌิมา, ปฏิปทา , then ปฏปทา, ปฏิปทา, มชฌมา, มชฌมาปฏปทา, มชฺฌิมา, มชฺฌิมาปฏิปทา, มัชฌิม, มัชฌิมะ, มัชฌิมา, มัชฌิมาปฏิปทา .

ETipitaka Pali-Thai Dict : มัชฌิมาปฏิปทา, 23 found, display 1-23
  1. ปฏิปทา : อิต. ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติ, แนวทางความประพฤติ, ทางปฏิบัติ
  2. มชฺฌิมาปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติอันมีในท่ามกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง, ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง, มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางคือมรรค (อริยมรรค) มีองค์ ๘.
  3. มชฺฌิมา : (อิต.) นิ้วกลาง, นิ้วนาง. วิ. มชฺเฌ ติฏฺฐตีติ มชฺฌิมา.
  4. กณฺหปฏิปทา : อิต. ปฏิปทาอันเลวทราม, ทางที่ชั่ว
  5. ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา : (อิต.) ปฏิปทาอัน ยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์, ทางดำเนินอันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๔.
  6. อริยวสปฏิปทาทิ : (วิ.) มีปฏิปทาอันเป็นไปตามซึ่งวงศ์แห่งพระอริยะเป็นต้น.
  7. โมเนยฺยปฏิปทา : (อิต.) ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความเป็นมุนี.
  8. อปณฺณกปฏิปทา : (อิต.) การปฏิบัติไม่ผิด.
  9. ทุกฺขนิโรธคามินี : ค. (ปฏิปทา) ซึ่งยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์
  10. กณฺหมคฺค : ป. ดู กณฺหปฏิปทา
  11. นิพฺพานคามินี : (อิต.) ปฏิปทาเป็นเครื่อง ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งพระนิพพาน. ข้อปฏิบัติ ให้สัตว์ถึงพระนิพพาน.
  12. นิพฺพานสมฺปทา : อิต. ปฏิปทาให้ถึงพระนิพพาน, การบรรลุพระนิพพาน
  13. สิกฺขา : (อิต.) ปฏิปทาอันบุคคลพึงศึกษา, ปฏิปทาอันเขาพึงศึกษา, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ข้อที่ควรศึกษา, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, หัวข้อที่ควรศึกษา. วิ. สิกฺขิตพฺพนฺติ สิกฺขา, ปฏิปทาอันเขาย่อมศึกษา, ฯลฯ. วิ. สกฺขิยตีติ สิกฺขา, การศึกษา, การเล่าเรียน, การสำเหนียก (เอาใจใส่ กำหนดจดจำ). วิ. สิกขนํ สิกฺขา. อ ปัจ. อา อิต. พระพุทธศาสนาวางข้อ (เรื่อง) ที่ควรศึกษาไว้ ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา.
  14. อิทฺธิปาท : (ปุ.) ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึง ความสำเร็จ, คุณเครื่องให้สำเร็จ, คุณ เครื่องให้สำเร็จความประสงค์ตามเป้า หมาย, ปฏิปทาแห่งความสำเร็จ.
  15. นิกาย : (ปุ.) ที่อยู่, เรือน. วิ. นิจิยฺยเตฉาทิยเตตี นิกาโย. นิปุพโพ, จิ จเย, โย. แปลง จิ เป็น กาในเพราะยปัจ. ฝูง, หมู่, พวก, ประชุม, กอง, คณะ, สภา, บริษัท, นิกาย ชื่อหมวด คัมภีร์ในพระสุตตันตปิฎก มี ๕ นิกาย คือ ๑. ทีฆนิกาย ๒. มัชฌิมนิกาย ๓. สังยุตตนิกาย ๔. อังคุตตรนิกาย และ ๕. ขุททกนิกาย ชื่อหมู่ชนผู้มีธรรมร่วม กันประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น มหานิกาย. วิ. นิพฺพิเสเสน จิโนติ อวยเวติ นิกาโย. กุลํ สธมฺมีนํ สมานธมฺมานเมว ชนฺตูนํ คโณ นิกาโย นาม. ส. นิกาย.
  16. มชฺฌเทส : (ปุ.) ประเทศอันตั้งอยู่แล้วในท่ามกลาง, มัชฌิมประเทศ, มัธยมประเทศ.
  17. มชฺฌิมเทส มชฺฌิมปเทศ : (ปุ.) มัชฌิมประเทศ, มัธยมประเทศ.
  18. มชฺฌิมนิกาย : (ปุ.) มัชฌิมนิกาย ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งสุตตันตปิฎก.
  19. มชฺฌิมโพธิ : (อิต.) เวลาเป็นที่ตรัสรู้มีในท่ามกลาง, มัชฌิมโพธิ คือช่วงระยะเวลาตอนกลาง.
  20. มชฺฌิมโพธิกาล : (ปุ.) กาลเป็นที่ตรัสรู้มีในท่ามกลาง, มัชฌิมโพธิกาล คือกาลเป็นไประหว่างปฐมโพธิกาลและปัจฉิมโพธิกาลได้แก่ เรื่องพระพุทธประวัติระหว่างปฐมโพธิกาลและปัจฉิมโพธิกาล.
  21. มชฺฌิมภูมิ : (อิต.) ชั้นมีในท่ามกลาง, ฐานะมีในท่ามกลาง, มัชฌิมภูมิ คือชั้นหรือฐานะของคนชั้นกลางในพระพุทธศาสนาหมายถึงความรู้ชั้นกลางคือนักธรรมชั้นโท หรือหมายถึงพระชั้นกลางมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ พรรษา.
  22. มชฺฌิมสสาร : (ปุ.) สังสาร (การเวียนตายเวียนเกิด) อันมีในท่ามกลาง ได้แก่ การท่องเที่ยวไปในกามสุคติภูมิ ๗ (มนุษย์และสวรรค์ ๖ ชั้น) พระอนา -คามีตัดมัชฌิมสังสารได้ขาด.
  23. มหาวิโลกน : (นปุ.) การเลือกเหตุสำคัญ, การตรวจดูเหตุใหญ่, การพิจารณาดูสิ่งใหญ่, มหาวิโลกนะ. มหาวิโลกนะ มี ๕ คือ ๑.กาล จะต้องเป็นช่วงระยะเวลาที่มนุษย์มีอายุขัย ๑๐๐ ปี ๒. ทวีป ต้องเป็นชมพูทวีป ๓. ประเทศต้องเป็นมัชฌิมประเทศ ๔. ตระกูลต้องเป็นกษัตริย์ และ ๕. มารดาต้องเป็นหญิงมีเบญจศีล. พระโพธิสัตว์จึงจะมาอุบัติเพื่อตรัสรู้.
  24. [1-23]

(0.0666 sec)