มูล : (วิ.) เป็นที่ตั้ง, เป็นที่พึ่ง, เป็นที่อาศัย, เป็นต้น, เป็นเดิม, ใกล้, เป็นทุน, เป็นมูล, เป็นเหตุ, ใหญ่, มูลฺ ปติฏฺฐายํ, อ.
มูลา : (อิต.) มูลา ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มที่ ๑๙ มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย. ติฏฺฐติ สุภาสุภผล เมตฺถาติ มูลํ มูลา วา. มูลฺ ปติฏฺฐายํ, อ. อภิฯ ฎีกาอภิฯ.
มล : (นปุ.) ธรรมชาตอันตัดเสียซึ่งความเป็นของอันยังใจให้เจริญ, สิ่งอันตัดเสียซึ่งความเจริญของใจ. มน+ลุ ธาตุ อ ปัจ.
มูล มูลก : (ปุ.) มัน, เผือก. มูลฺ ปติฏฺฐายํ โรปเน. วา, อ. เป็น นปุ. ก็มี.
มูลวิภุช : (ปุ.) รถ วิ. มูลานิ วิภุชตีติ มูลวิภุโช. มูลปุพฺโพ, วิ+ภุชฺ โกฏิลฺเล, อ.
มุลาล มุฬาล : (ปุ. นปุ.) รากเหง้า. วิ. มูเลชายตีติ มุลาโล มุฬาโล วา. มูล+อล ปัจ. รัสสะ. มูลฺ ปติฏฺฐายํ, อโล, รสฺโส. มีลฺนิมีลเน วา, อโล. แปลง อี เป็น อุ. ศัพท์หลัง แปลง ล เป็น ฬ.
มูลปริยาย : (ปุ.) การเล่าเรื่องเดิม, การเล่าเรื่องเกี่ยวกับมูลเหตุของธรรมทั้งหลาย.
มลวิส : (นปุ.) พิษอันเกิดจากความมัวหมอง, พิษอันเกิดจากอากาศไม่บริสุทธิ์.
มูลก : ป. เผือก, มัน
มูลกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฏฐานเดิม, กัมมัฏฐานอันเป็นเดิม, ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ซึ่งพระอุปัชฌาย์ให้เมื่อขอบรรพชาอุปสมบท.
มูลคนฺธ : ค. มีกลิ่นที่ราก
มูลพีช : นป. พืชเกิดจากราก
มูลย : นป. ค่าจ้าง, บำเหน็จ
กมฺมมูล : ค. มีกรรมเป็นมูลเหตุ
กมฺมมูลก : ค. ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีกรรมเป็นมูล
กรณี : (อิต.) คดี, เรื่อง, เรื่องเดิม, มูล, เหตุ. ส. กรณี.
การณ : (นปุ.) เหตุ, มูล, เค้า, มูลเค้า, วิ. กโรติ ผลนฺติ การณํ. อตฺตโน ผลํ กโรตีติ วา การณํ. กรฺ กรเณ, ยุ. ส. การณ.
ทลามล : (ปุ.) ต้นไม้. วิ ทลํ อามลติ รฤขตีติ ทลามโล (ทรงคือรักษาความสดชื่นไว้). มลฺ ธารเณ, อ.
โทสมูล : (วิ.) มีโทษะเป็นมูล วิ. โทโส มูลํ อสฺสาติ โทสมูลํ.
นิมล นิมฺมล : (วิ.) มีความมัวหมองออกแล้ว, ไม่มีความมัวหมอง, หมดความมัวหมอง, มีมลทินออกแล้ว, ไม่มีมลทิน, หมดมลทิน, สะอาด, ใส, บริสุทธิ์. ส. นิรฺมล.
กณฺณมล : นป. ขี้หู
กณฺณมลหรณี : (อิต.) ไม้แคะหู.
กณฺณมูล : นป. โคนหู, กกหู
กุฑฺฑมูล : นป. รากไม้ชนิดหนึ่ง
กุฑุมล, - ก : ป. ดอกไม้ตูม, ดอกไม้ที่กำลังจะแย้มบาน
กุมฺมล : ป. ตา, หน่อ, ช่อ
กุสลมูล : (นปุ.) รากเหง้าแห่งความดี, ฯลฯ.
ขีรมูล : นป. ค่าน้ำนม, เงินสำหรับซื้อน้ำนม
คพฺภมล : นป. มลทินแห่งครรภ์, รก (เครื่องสำหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูกมีสายล่ามมาที่สะดือเด็ก)
ชชฺฌริมูล : (ปุ.?) มันเสา.
ชิวฺหามูลย : ป. ลิ้นไก่
ตณฺหามูลก : ค. เป็นรากเง่าแห่งตัณหา
ตมฺพกมูล : นป. มันแดง, เผือก
ตุมูล : ค. ยิ่งใหญ่, กว้างใหญ่
ทิสามูลฬฺห : ค. ผู้หลงในทิศ, ผู้หลงทาง
ธญฺญมูล : (นปุ.) น้ำส้มพะอูม.
นิมฺมล : ค. ซึ่งไม่มีมลทิน, สะอาด, บริสุทธิ์
นิมฺมูล : ค. ซึ่งปราศจากราก
ปาทมูล : นป. พื้นเท้า, ฝ่าเท้า
พหุมล : ค. มีมลทินมาก, มีเครื่องเศร้าหมองมาก
พาหุมูล : (นปุ.) รักแร้. วิ. พาหูนํ ภุชานํ มูลํ พาหุมูลํ.
พาหุมูลวิภูสน : (นปุ.) ทองต้นแขน, กำไลแขน, กำไลมือ.
โพธิมูล : นป. โคนโพธิ
มลิ มลิกา : (อิต.) มะลิ, มะลิซ้อน.
โมลิ โมฬิ : (ปุ. อิต.) ผมจุก, มวยผม, เทริด, รัดเกล้า, มงกุฏ, จอม, ยอด.
สุขุมมูล : (นปุ.) รากฝอย.
หตฺถกมฺมมูล : (นปุ.) ค่าจ้าง, ค่าบำเหน็จ.
อกุสลมูล : (นปุ.) รากเหง้าแห่งความชั่ว, รากเหง้าแห่งบาป, รากเหง้าแห่งอกุศล มี ๓ คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ.
อสิมล : นป. สนิมดาบ, วิธีขับไล่สนิมดาบ, (วิธีบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง)