วจี : อิต. คำพูด, ถ้อยคำ, คำกล่าว
วจีกมฺม : นป. วจีกรรม
วจีวิญฺญตฺติ : อิต. วจีวิญญัติ, การกำหนดหมายให้รู้โดยทางคำพูด
วจีสุจริต : นป. วจีสุจริต, การประพฤติชอบทางวาจา
วจีคุตฺต : ค. ผู้สำรวมคำพูดได้
วจีทุจฺจริต : นป. ความประพฤติชั่วทางวาจา
วจีปรม : ค. ผู้ดีแต่พูด, พูดดีแต่ทำไม่ดี
วจ : ป., นป. คำพูด, การกล่าว
กายวาจาทิ : (วิ.) มีกายกรรมและวจีกรรม เป็นต้น. ลบ กมฺม หลัง กาย, วาจา ออก. มีกายทวาร และวจีทวาร เป็นต้น. ลบ ทฺวาร ออก.
กุสลกมฺมปถ : (ปุ.) ทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล, กรรมอันเป็นคลองอันเป็นกุศล, ทางแห่ง การสร้างความดี, กุศลกรรมบถ ชื่อ ธรรม สำหรับสร้างความดี มี ๑o อย่าง คือ กาย สจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓.
โค : (ปุ.) โคผู้ วิ. คจฺฉตีติ โค. คมฺ คติยํ, โร. รปัจ. มี อำนาจให้ลบที่สุดธาตุแล้วลบตัวเอง. โค แปลว่าวัว ไม่นิยมตัวผู้หรือตัวเมีย มีแบบ แจกวิภัติโดยเฉพาะ ดูวจีวิภาค ภาคที่ ๒ เลขที่ ๗๑. บางคัมภีร์ แปลว่า แม่โคก็มี แต่ส่วนมากใช้เป็นคำกลาง หมายเอาทั้ง โคผู้และโคเมีย ถ้าหมายเอาโคผู้โดยเฉพาะ ใช้ศัพท์โคณ เมื่อหมายเอาตัวเมียใช้ศัพท์ คาวี. โคศัพท์ ยังแปลได้อีก คือ แปลว่า น้ำ อุ. โคสีตจนฺทน, สวรรค์ อุ. ธมฺโม- ปจิเตน คาวํ ปยติ. คนย่อมไปสวรรค์ด้วย ธรรมที่สั่งสมไว้แล้ว. แสงสว่าง รัศมี อุ. คาโว วิคฺคจฺฉนฺติ เทหโต. รัศมีท. ย่อมซ่านออกจากกาย, เพชร อุ. คาเวน ปริชฺเฌยฺย มณิโก. ช่างแก้วเจียระไนด้วย เพชร, ลูกศร อุ. ควํ ฉินฺทนฺติ ตจฺฉกา. ช่างถากท. ย่อมตัดลูกศร, ดวงจันทร์ อุ. คาวํ โอโลเกสิ จกฺขุนา. คนมองดวงจันทร์ ด้วยจักษุ, ตา อุ. คาเวน จนฺทํ อิกฺขติ. คนมองดวงจันทร์ด้วยตา, คำพูด ถ้อยคำ อุ. คาวํ ภาสนฺติ เต ชนา. ชน.ท. เหล่านั้น พากันพูดถ้อยคำ, พื้นดิน อุ. คาเว ฐิโต โอนมิ สาขํ. คนยืนที่พื้นดินโน้มกิ่งไม้, อินทรีย์ อุ. โคจรํ ที่เป็นที่เที่ยวไปแห่ง อินทรีย์, พระอาทิตย์ อุ. โค สุริโย.
ทุพฺพจ : (วิ.) อัน...ว่าได้โดยยาก, ว่ายาก, สอนยาก. วิ. ทุกเขน วจียเตติ ทุพพโจ.
ปโยค : (ปุ.) การประกอบ, ฯลฯ, การประกอบเข้า, ความพยายามเป็นเครื่องประกอบ, ความพยายาม, ฯลฯ, ประโยคเป็นชื่อของคำพูดที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ อย่าง ๑ เป็นชื่อของความรู้เช่นเปรียญธรรม ๓ ประโยค อย่าง ๑ เป็นชื่อของการทำทางกายทางวาจา เรียกว่า กายประโยค วจีประโยค อย่าง ๑ วิ. ปยุชฺชนํ ปโยโค. ป+ยุชฺ+ณ ปัจ. แปลง ช เป็น ค. ส. ปฺรโยค.
มุสาวาทาเวรมณีอาทิ : (วิ.) (วจีสุจริต) มีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ เป็นต้น.
สมฺผปฺปลาป : (วิ.) (วจีประโยค) เป็นเครื่องกล่าวซึ่งคำอันทำลายเสียซึ่งประโยชน์, เป็นเครื่องกล่าวซึ่งถ้อยคำอันไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น, กล่าวซึ่งคำอันโปรยเสียวซึ่งประโยชน์, กล่าวคำเพ้อเจ้อ. วิ. สมฺยํ นิรตฺถกํ ปลปติ เปเตนาติ สมฺผปุปลาโป. สมฺผปุพฺโพ, ปปุพฺโพ จ, ลปุ วจเน, โณ. ปสํโยโค.
อกรณียกิจฺจ : (นปุ.) กิจอัน....ไม่พึงทำ, กิจอัน....ไม่ควรทำ, อกรณียกิจ.กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ (ทำไม่ได้) มี๔ อย่าง.ความเป็นจริงกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำทั้งสิ้น ชื่ออกรณียกิจ ที่ท่านยกขึ้นกล่าวเพียง ๔ อย่างนั้นกล่าวเฉพาะข้อที่สำคัญซึ่งล่อแหลมต่อการขาดจากความเป็นบรรพชิตและเพื่อให้เหมาะแก่เวลาเมื่ออุปสมบทเสร็จ.อกรณียกิจของคนทั่วไปได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต.
อกุสลกมฺมปถ : (ปุ.) ทางแห่งกรรมมิใช่กุศล, ทางแห่งความชั่ว, อกุศลกรรมบถ มี ๑๐ คือกายทุจริต๓ วจีทุจริต๔ มโนทุจริต๓.
อทฺธา : (ปุ.) ทาง, ทางยืดยาว, ทางไกล, กาล, ทางยืดยาว.มีที่ใช้แต่ เอก. ป. อทฺธา ทุ.อทฺธนา ต. อทฺธุนา จ ฉ.อทฺธุโน ส.อทฺธาเนบาลีไวยากรณ์วจีวิภาค รูปฯ ๒๘๔เป็นอทฺธเน.ส.อธฺวน.
อโนก : (วิ.) ไม่ให้โอกาส, ไม่เปิดโอกาส.วิ.อภิสงฺขารสหคตวิญฺญาณสฺสโอกาสํนกโรตีติอโนโก.อถวา, กายทุจฺจริตสฺสวจีทุจฺจริตสฺสมโนทุจฺจริตสฺสโอกาสํนกโรตีติอโนโก.
วีจิ : อิต. คลื่น, ลูกคลื่น
ทุวจ : (วิ.) ผู้อัน...ว่าได้โดยยาก (ว่ายากสอน ยาก). ทุกฺข+วจฺ ธาตุ อ ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ข ปัจ. ลบ กฺข. ผู้มีวาจาอันโทษประทุษร้ายแล้ว ทุฏฺฐ+วจ. ผู้มีถ้อยคำชั่ว ผู้มีถ้อยคำหยาบ ทุ + วจ หรือ ทุฏฺฐ+วจ.
จกฺกวฺห จกฺกวาก : (ปุ.) นกจักพราก, นกจาก พราก, ห่านแดง. วิ. จกฺก มิจฺจโวฺห ยสฺส โส จกฺกโวฺห. ศัพท์หลัง จกฺกบทหน้า วจฺ ธาตุในความกล่าว ณ ปัจ. ทีฆะ แปลง จ เป็น ก. แปลว่า ห่าน ก็มี.
นิรุตฺต : (นปุ.) ภาษา, คำพูด. นิจฺฉย หรือ นิสฺเสส บทหน้า วจฺ ธาตุ ต ปัจ. ลบ จฺ แปลง ว เป็น อุ แปลง ต เป็น ตฺต รฺ อาคม. รูปฯ ๖๑๓.
สพฺพจ : (วิ.) อัน...พึงรู้ตามได้โดยง่าย, ผู้อัน...พึงว่าได้โดยง่าย, ผู้อัน...พึงสอนได้โดยง่าย. วิ. สุเขน วจิตพพฺโพติ สุพฺพโจ. สุข ปุพฺโพ, วจฺ วิยตฺติยํ วาจายํ, โข, วสฺสโพ, พสํโยโค.
โหรา : (อิต.) วิชากล่าวด้วยเหตุในเบื้องหน้าและเหตุในอดีต วิ. หุรํ การเณน จ อดีตการเณน จ วจตีติ โหรา. ณ ปัจ. ราคาทิตัท.
อิสฺสา : (อิต.) ความเกียดกัน, ความชิงชัง, ความหึงหวง, ความริษยา (นิสัยที่เห็นเขา ได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ คิดตัดรอนเขา คิด ทำลายเขา). วิ. อิสฺสติ สตฺเตสุปิ คุเณสุ วจสา มนสา วา โทสาโรปนํ กโรตีติ อิสฺสา. อิสฺส อิสฺสายํ, อ. อิสฺ อิสฺสายํ วา, โส. ไทยนำคำ อิจฉา ซึ่งแปลว่าความหวัง เป็นต้น มาใช้ในความหมายว่าริษยา ดังคำ ว่า อิจฉาตาร้อน. ส. อีรฺษยา.
อุตฺติ : (อิต.) ถ้อยคำ. วิ. วุจฺจเตติ อุตฺติ. วจฺ ธาตุ ติ ปัจ. แปลง ว เป็น อุ จฺ เป็น ตฺ รูปฯ ๖๑๓.