วิธิ : ป. การทรงไว้อย่างวิเศษ; แบบ, กฎ, ธรรมเนียม
กมฺมวิธิ : (ปุ.) แบบอย่างแห่งการทำ, วิธี ดำเนินการ, พิธีดำเนินการ. ส. กรฺมวิธิ.
อกฺขวิธิ : (ปุ.) แบบแห่งอักษร, แบบอย่างแห่งอักษร, กฎเกณฑ์แห่งอักษร, อักขวิธีตำราว่าด้วยวิธีเขียนและออกเสียงอ่านหนังสือให้ถูกต้อง.
เมตฺตมฺพเสกวิธิ : (ปุ.) พิธีอันรดลงด้วยน้ำ คือ เมตตา.
วธ : ป. การฆ่า
อิทฺธิวิธิ : (ปุ.) การสร้างฤทธิ์, การแสดงฤทธิ์, การแสดงฤทธิ์ได้.
พหุพฺพิหิ : (วิ.) (สมาส) ชื่อพหุพพิหิ (มีวิธีมาก) วิ. พหู วิธโย ยสฺส พหุพฺพิหิ (สมาส). พหู+วิธิ แปลง วิ เป็น พิ ธิ เป็น หิ ซ้อน พฺ.
เทสนาวิธีกุสลตา : (อิต.) ความที่แห่ง...นั้น เป็นผู้ฉลาดในวิธีแห่งการแสดง, ความที่ แห่งพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ฉลาดในวิธี แห่งเทศนา.
นย : (ปุ.) ภาวะเป็นเครื่องนำไป วิ. นยติ เอเตนาติ นโย. ภาวะอัน... ย่อมนำไป วิ. นียตีติ นโย. การนำ, การนำไป, การดำเนินไป, การแนะนำ, การสั่ง, คำสั่ง, ความไป, ความเป็นไป, ความดำเนินไป, ความควร, ความสมควร, ความชอบ, ความถูกต้อง, ความสมเหตุสมผล, ความสมเหตุผล, ความคาดคะเน, อาการ, อุบาย, เล่ห์เหลี่ยม, วิธี, ทาง, แบบ, แบบอย่าง, นัย ( ข้อความข้อเค้า เค้าความใจความ เนื้อความ). วิ. นยนํ ปวตตนํ คมนํ วา นโย. นิ นี นย. วา นยเน, อ. ส. นย, นาย.
นิยาม : (ปุ.) การกำหนด, ความกำหนด, เหตุ เป็นเครื่องกำหนด, ทาง, หนทาง, มรรค, แบบ, อย่าง, วิธี, ทำนอง. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, โณ. ไทยใช้นิยามเป็นกิริยาใน ความหมายว่า กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน หรือให้ความหมายอย่าง กะทัดรัด.
นีหาร : ป. การนำออก, การขับไล่; ลักษณะ, วิธี, อาการกิริยา
ปการ : ป. การทำทั่ว, วิธี, อาการ, อย่าง, ชนิด
ปฏิปชฺชนวิธี : ป. วิธีปฏิบัติ, วิธีดำเนินการ
อาการ : (ปุ.) การทำยิ่ง, ความทำโดยยิ่ง, มรรยาทเครื่องทำโดยยิ่ง, ความเป็นอยู่, การณะ, สัณฐาน, ส่วน, ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, วิธี, ทำนอง, ท่าทาง.วิ.อากรณํอากาโร.ส.อาการ.
อุปายตฺต : นป. อุบาย, วิธี
ปาณวธ : ป. การทำลายชีวิต, การฆ่าสัตว์
วธู : อิต. หญิงสาว
วิธ : อ. อย่าง, ชนิด
วิธุ : ป. พระจันทร์
เวธ : ป. การเจาะ, การแทง
เวธี : ป. ผู้ยิง, ผู้เจาะ
อนุวิธียติ : ก. เอาตาม, เอาอย่าง, เลียนแบบ
อนุวิธียนา : อิต.การเลียนแบบ,การเอาอย่าง,การตามอย่าง
นโยปาย : (ปุ.) หนทางเป็นเครื่องนำไป, วิธี เป็นเครื่องนำไป, อุบายเป็นเครื่องนำไป, วิธีดำเนินการ. วิ. นโย อุปาโย นโยปาโย. ไทย นโยบาย ใช้ในความหมายว่า หลัก และวิธีปฏิบัติที่ถือเป็นแนวดำเนินการ.
พาธิ : (ปุ.) การเบียดเบียน, ความเบียดเบียน, การกระทบ, การฆ่า, การทำลาย. หนฺ หึสายํ, ณิ แปลง หนฺ เป็น วธ ทีฆะ อ ที่ ว เป็น อา.
มจฺฉพนฺธ : (ปุ.) บุคคลผู้จับซึ่งปลา, ชาวประมง. วิ. มจฺเฉ พนฺธติ ชาเลนาติ มจฺฉพ-นฺโธ. มจฺฉปุพฺโพ, พนฺธฺ พนฺธเน, อ. คนผู้ฆ่าปลา, ชาวประมง, พรานปลา. วิ. มจฺเฉ วธตีติ มจฺฉพนฺโธ. หนฺ หึสายํ. ลง นิคคหิตอาคม แปลง หน เป็น วธ แปลง นิคคหิต เป็น นฺ ว เป็น พ.
มิคพฺพธ มิคพฺยธ : (ปุ.) คนฆ่าเนื้อ, พรานเนื้อ. มิคปุพฺโพ, หนฺ หึสายํ, อ. แปลง หน เป็น วธ แปลง ว เป็น พ ซ้อน พฺ ศัพท์หลัง ดู มิควฺยธ.
กินฺติ : อ. โดยวิธีใด, อย่างไร, ว่าอย่างไร
ขาราปตจฺฉิก : ป. การทรมาน, การลงโทษวิธีหนึ่ง โดยการใช้มีดสับร่างกายแล้วเอาแผลจุ่มน้ำกรดทำให้เนื้อหนังเอ็นหลุดไปให้เหลือแต่โครงกระดูก
ขิปีต : ๑. นป. การจาม, การแสดงการดูถูกโดยวิธีย่นจมูก;
๒. กิต. ขว้างไปแล้ว
คุณสขฺยา : (อิต.) การนับด้วยวิธีคูณ, การคำนวนด้วยวิธีคูณ.
จกฺกวิทฺธ : นป. ศิลปะแทงจักร, วิธีการยิงลูกศรไปยังเป้าหมายต่างๆ ซึ่งอยู่เป็นวงล้อมให้ลูกศรทะลุเป้าหมายเหล่านั้นแล้วกลับมาตั้งอยู่ในมือของผู้ยิง
ฉนฺทสา : อิต. วิธีแต่งฉันท์
ฉนฺโทวิจิติ : (อิต.) ฉันโทวิจิติ ชื่อวิธีเรียนพระเวท อย่าง ๑ ใน ๖ อย่าง คือรู้จัก คณะฉันท์ และแต่งฉันท์ได้.
เฉทนก : ๑. นป. สิ่งที่ต้องตัดให้ถูกต้องตามวินัยกรรม, วิธีการตัดให้ถูกต้องตามวินัยกรรม ;
๒. ผู้ตัด, ผู้บั่น, ผู้ทอน, ผู้ฉีก
ชจฺจนฺธ : (วิ.) บอดแต่กำเนิด, บอดโดยกำเนิด. วิ ชาติยา อนฺโธ ชจฺจนฺโธ. ชาติ+อนฺธ สำเร็จโดยวิธีสนธิดังนี้ แปลง อิ เป็น ย เป็น ชาตฺย แปลง ตฺย เป็น จฺจ รัสสะ อา เป็น อ รวมเป็น ชจฺจนฺธ รูปฯ ๓๓๖.
โชติสตฺถ : (นปุ.) ตำราดาว, โชติศาสตร์ ชื่อ วิธีเรียนเวทอย่าง ๑ ใน ๖ อย่าง ให้รู้จัก ดาว หาฤกษ์ และผูกดวงชตา.
ตชฺชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ ภิกษุผู้อันสงฆ์จะต้องคุกคาม, ตัชนียกรรม เป็นชื่อการลงโทษอย่างหนึ่งตามพระวินัย ซึ่งสงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีความผิด ๓ ประการ คือ เป็นผู้ประพฤติไม่เหมาะสม คือ ๑ . ๑ มักทำการบาดหมาง ทะเลาะ – วิวาท ฯลฯ ๑ . ๒ เป็นพาลมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ . ๓ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่ สมควร เป็นผู้มีศีลวิบัติ อาจารวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ และ ๓. กล่าวติเตียน พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ลงตัชนิยกรรมได้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัติติจตุตถกรรมวาจา ไตร. ๖/๓
ตสฺสปาปิยสิกา ตสฺสปาปิยฺยสิกา : (อิต.) ตัสสปาปิยสิกา ชื่อวิธีระงับอาบัติอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง
ติณวตฺถารก : (ปุ.) ติณวัตถาระกะ ชื่อวิธีระงับ อธิกรณ์อย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง คือการประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม.
ติตฺถิยปริวาส : (ปุ.) ติตฺถิยปริวาส ชื่อของ กรรมวิธีตรวจสอบเดียรถีย์ ผู้ที่จะมาบวช ในพุทธศาสนาว่าจะมีความเลื่อมใสแท้จริง หรือไม่ มีกำหนด ๔ เดือน ดูรายละเอียด ใน โตร. ๔ ข้อ ๑๐๐ วิธีนี้ควรจะเอามา ประยุกต์ใช้กับคนที่จะมาบวชในปัจจุบัน นี้บ้าง.
ติสรณคมนุปสฺปทา ติสรณคมนูปสมฺปทา : (อิต.)การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม, ติสรณคมนุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา คือการอุปสมบทด้วยการปกิญญาณตน ถึงไตรสรณคมน์ เป็นชื่อของวิธีอุปสมบท อย่างที่ ๒ ใน ๓ อย่าง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต วิธีอุปสมบทอย่างที่ ๓ แล้ว ทรงอนุญาตวิธีอย่างที่ ๒ นี้เป็นวิธี บรรพชาการบวชเป็นสามเณร.
นิพฺพุทฺธ : (นปุ.) การชกกัน วิ. อโธภาคํ พนฺธนํ วา กตฺวา ยุชฺฌนฺตฺยเตฺรติ นิพฺพุทฺธํ. นิปุพฺโพ, ยุธฺ สมฺปหาเร, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบที่สุดธาตุ แปลง ยุ เป็น พุ. อญญมญญสฺส เวธํ นิพฺเพเธฺนฺตฺยเตฺรติ วา นิพฺพุทฺธํ เวธฺ เวธเน โต, เอสฺสุ.
นิพฺเพธ : (ปุ.) การเจาะ, การเจาะออก, การชำแรก, การแหวก, ความเจาะออก, ฯลฯ, ความบรรลุ, ความตรัสรู้. นิปุพฺโพ, วิธฺ วิชฺฌเน, อ.
นิยสกมฺม : (นปุ.) นิยศกรรม นิยสกัม คือ การถอดยศ ทำด้วยวิธีญัตติจตุถกรรม. ไตร. ๖.
นิโรธสมาปตฺติ : (อิต.) การเข้าสู่นิโรธ (เป็น วิธีพักผ่อนของท่านผู้ได้ฌาน.) นิโรธ ในคำนี้ได้แก่การดับสัญญาและเวทนา.
ปฏิปชฺชน : นป. การปฏิบัติ, การดำเนินไป, วิธีปฏิบัติ, ทางที่ดำเนินไป
ปพฺพาชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำ แก่ภิกษุผู้อันสงฆ์พึงขับไล่, กรรมอันสงฆ์ พึงทำแก่ภิกษุผู้มีอธิกรณ์อันสงฆ์พึงขับไล่, การขับไล่, ปัพพาชนียกรรม ชื่อกิจที่สงฆ์ พึงทำแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลหรือ ประพฤติลามกให้ออกไปเสียจากหมู่ (วัด) ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม. ไตร. ๖.
ปโยควิปตฺติ : อิต. ความวิบัติแห่งความพยายาม, ความไม่สำเร็จแห่งวิธีการ, การประกอบผิดทาง
ปริยาย : ป. ระเบียบ, อันดับ, เหตุ, หนทาง, คุณภาพ, วิธีการพูดอ้อมค้อม, ไวพจน์, บรรยาย