Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ศาสนา , then ศาสน, ศาสนา, สาสนา .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ศาสนา, 91 found, display 1-50
  1. สาสน : (นปุ.) คำสั่ง คำบังคับ (อาณา), พระพุทธพจน์(อาคม), การสั่งสอน คำสั่งสอน(อนุสาสน), จดหมาย (เลข), ข่าว ข่าวคราว, สาสน์ คือพระราชหัตถเลขาทางราชการหรือลิขิตของพระสังฆราช, ศาสนา สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). วิ. สาสิยเตติ สาสนํ. สาสฺ อนุสิฎฐยํฐ ยุ. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสั่งสอน (อบรม) สัตวโลก (มนุษย์) พร้อมทั้งเทวดาและพรหม วิ. สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ สาสนํ. คำสั่งสอนอันเบียดเบียนกิเลส, คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส. วิ. กิเลเส สาลตีติ สาสนํ สสุ หึสายํ, ยุ. ทีฆะตันธาตุ. ส. ศาสน.
  2. กปฺปนา : (อิต.) ความตรึก, ฯลฯ, กัลปนา ผลบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่ ดินหรือสิ่งของ ที่เจ้าของอุทิศผลประโยชน์ อันเกิดจากสิ่งนั้น ให้แก่วัดหรือพระ ศาสนา. ส. กลฺปนา.
  3. คนฺถธุร : (นปุ.) กิจในคัมภีร์, การเล่าเรียน ความรู้ซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, การศึกษาคำ สั่งสอนซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, คันถธุระ ชื่อ ธุระอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง ของพระพุทธ ศาสนา. การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือ คำสั่งสอน แล้วทรงจำไว้กล่าวสอนไม่ให้ ผิดไปจากหลักตัดสินพระธรรมวินัย ชื่อว่า คันถธุระ. เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะพระภิกษุและสามเณร. ธุระ อีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ.
  4. ธมฺมปฏิรูป : (ปุ.) ธรรมเทียม ธรรมไม่แท้ ซึ่งแฝงเข้ามาปนกับธรรมแท้ เป็นผลของการกระทำของผู้ไม่หวังดีแก่พระ ศาสนา หรือของคนผู้หวังแต่ประโยชน์ ของตนหรือพรรคพวกของตน.
  5. ภิกฺขุนี : (อิต.) ภิกษุณี พระผู้หญิง ของพระพุทธ ศาสนา เป็นบริษัทที่ ๒ ในบริษัท ๔. ภิกฺขุ+อินี อิต. เป็นพระที่บวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือจากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์รักษาสิกขาบท (ศีล) ๓๑๑ สิกขาบท.
  6. โอสารณา : (อิต.) โอสารณา ชื่อของวินัยกรรม อันสงฆ์ทำคือ : การเรียก (รับ) สามเณรผู้กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย ถูกสงฆ์นาสนะผู้กลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว ให้เข้าหมู่ได้ โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีอปโลกนกรรม. การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งได้รับการไล่เรียง (ซักซ้อม) อันตรายิกธรรม ที่นอกเขตประชุมสงฆ์ (ห่างจากสงฆ์) ๑๒ ศอกแล้ว ให้เข้าหมู่สงฆ์ได้โอสาร- ณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติกรรม. การหงายบาตรแก่คฤหัสถ์ผู้ประพฤติให้ร้ายแก่พระศาสดา (ศาสนา)ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือไม่คบ ไม่รับกิจนิมนต์ ไม่รับบิณฑบาต ภายหลังรู้สึกตนกลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติทุติยกรรม. ๔. การยกโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ซึ่งถูกสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมผู้ กลับประพฤติดีแล้ว โอสารณานี้สงฆ์ ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม.
  7. พุทฺธสาสน : (นปุ.) ศาสนาแห่งท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, ศาสนาของพระ พุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ, พุทธศาสนา, พุทธสาสนา, โดยมากใช้รูปสันสกฤต คือ พุทธศาสนา.
  8. อนุสาสนาจริย : (ปุ.) อาจารย์ผู้ทำหน้าที่สั่งสอนอนุศาสนาจารย์.ส. อนุศาสนาจารฺย.
  9. การกสงฺฆ : (ปุ.) สงฆ์ผู้ทำ, สงฆ์ผู้ทำกิจทาง พระศาสนา, การกสงฆ์. สงฆ์มีจำนวน ต่าง ๆ กัน ประชุมพร้อมเพรียงกันทำ การต่าง ๆ มีสังคายนาเป็นต้น เรียกว่า การกสงฆ์.
  10. กาสาย กาสาว : (นปุ.) ผ้าอันบุคคลย้อมแล้ว ด้วยรสฝาด, ผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยน้ำ ฝาด, ผ้าย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมด้วยน้ำ ฝาด, ผ้ากาสายะ, ผ้ากาสาวะ, จีวร. วิ. กสาเยน กสาเวน วา รตฺตํ วตฺถํ กาสายํ กาสาวํ วา. ณ ปัจ. ราคาทิตัท. คำจีวรใน ที่นี้ หมายเอาเฉพาะผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดใน ความหมายของพระพุทธศาสนา.
  11. กิจฺจวตฺต : (นปุ.) ความประพฤติอัน...พึงทำ, ฯลฯ, ความประพฤติตามหน้าที่, เรียกกิจ ทางศาสนาที่จะพึงทำเป็นประจำ เช่น ทำ วัตรเช้า ทำวัตรเย็น เป็นต้นว่า กิจวัตร. กิจที่ทำเสมอ ๆ แม้มิใช่กิจทางศาสนาก็ เรียกกิจวัตรได้บ้าง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรยกไว้เป็นศัพท์เฉพาะกิจทางศาสนา เหมาะกว่า.
  12. จกฺกปาณิ : (ปุ.) พระจักกปาณิ (ผู้มีจักรใน พระหัตถ์) ชื่อพระนารายณ์ ชื่อ ๑ ใน ๕ ชื่ออีก๕ ชื่อถือ วาสุเทว หริ กณฺห เกสว. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็นชื่อของพระเจ้า องค์เดียวกัน เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู.
  13. จปุจปุ : (วิ.) จับๆ (จั๊บๆ). เสียงที่เกิดจากการเคี้ยวอาหารโดยมิได้หุบปาก ทาง พุทธศาสนาถือว่าเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ สุ ภาพชนไม่ควรทำ.
  14. ชินสาสน : นป. ศาสนาหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
  15. ญาติสาโลหิต : (ปุ.) พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วย เลือด, พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วยสายเลือด, พี่น้องผู้ร่วมสายเลือด, ญาติสาโลหิต, ญาติสายโลหิต ( ญาติที่ลืมสกุลมาโดยตรง ญาติสายโลหิตเดียวกัน ). คำ ญาติ ทาง ศาสนาหมายถึงคนที่ไม่ใช่สายเลือดเดียว กัน ก็ได้ ดังบาลีว่า วิสฺสาสาปรมา ญาติ ความคุ้นเคยชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง. (ญาติ สนิท).
  16. ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
  17. ติตฺถ : (นปุ.) ท่า, ท่าน้ำ, ท่าเป็นที่ข้าม, ท่า ข้าม, ทิฏฐิ คือความเห็นนอกพุทธศาสนา, ลัทธิ ( นอกพุทธศาสนา), อุบาย ( เหตุ ), น้ำศักดิ์สิทธิ์. ตรฺ ปฺลวนตรเณสุ, โถ, อสฺส อิตฺตํ, ทฺวิตฺตํ ( แปลง ถ เป็น ตฺถ), รโลโป. หรือแปลง รฺ เป็น ตฺ ก็ไม่ต้องแปลง ถ เป็น ตฺถ. ส. ตีรถ.
  18. ติตฺถกร ติตฺถิกร ติตฺถีกร : (ปุ.) ชนผู้ทำซึ่ง ลัทธิ, ชนผู้สร้างลัทธิ, เจ้าลัทธิ, ติตถกร (ครูผู้สอนศาสนานอกศาสนา).
  19. ติตฺถิย : (ปุ.) ชนมีลัทธิดังท่าเป็นที่ข้าม, นิครนถ์ผู้มีลัทธิดังท่าเป็นที่ข้าม, เดียรถีย์ (นักบวชนอกพุทธศาสนา คนถือลัทธินอก พุทธศาสนา).
  20. ติตฺถิยปริวาส : (ปุ.) ติตฺถิยปริวาส ชื่อของ กรรมวิธีตรวจสอบเดียรถีย์ ผู้ที่จะมาบวช ในพุทธศาสนาว่าจะมีความเลื่อมใสแท้จริง หรือไม่ มีกำหนด ๔ เดือน ดูรายละเอียด ใน โตร. ๔ ข้อ ๑๐๐ วิธีนี้ควรจะเอามา ประยุกต์ใช้กับคนที่จะมาบวชในปัจจุบัน นี้บ้าง.
  21. ติตฺถิยสาวก : ป. สาวกเดียรถีย์, ศิษย์นักบวชนอกศาสนา
  22. เถรภูมิ : (อิต.) ชั้นแห่งพระเถระ, ขั้นแห่ง พระเถระ, ชั้นมั่น, ฐานะมั่น, เถรภูมิ ชื่อ ชั้นหรือฐานะของท่านผู้สอบความรู้ใน พระพุทธศาสนา ได้นักธรรมชั้นเอก หรือ หมายถึงพระผู้ใหญ่มีพรรษาครบ ๑๐ แล้ว.
  23. เถรวาท : (ปุ.) เถรวาทชื่อนิกายของพระพุทธ- ศาสนาฝ่ายใต้ซึ่งถือพระธรรมวินัยตามมติ ของพระเถรพุทธสาวกที่ได้ทำสังคายนาไว้ คือไม่ยอมเปลี่ยนหรือถอนพระวินัย แม้ แต่ข้อเล็กน้อย.
  24. ทฺวตตีสาการ : (ปุ.) อาการสามสิบสอง, ส่วนของร่างกายสามสิบสองส่วน, ส่วนของร่างกายทางศาสนากล่าวว่ามี ๓๒ ส่วน มีผม (เกสา) เป็นต้น มีเยื่อในสมอง (มตฺถลุงคํ) เป็นที่สุด.
  25. ทารก : (ปุ.) เด็ก, เด็กชาย, ทารก คือเด็กที่ ยังไม่เดียงสา เด็กแบเบาะ มติทาง ศาสนาว่าเด็กตั้งแต่คลอดถึง ๖ ขวบ. วิ. ทรติ กีฬวเสน ภูมี วิลิขตีติ ทารโก. ทรฺ วิทารเณ, ณวุ. ส. ทารก.
  26. ทิฏฺฐชุกมฺม : (นปุ.) การทำความเห็นให้ตรง คือการทำความเห็นให้ถูกต้องตามหลัก ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา.
  27. เทวาลย : (ปุ.) ที่อยู่ของเทวดา, ประเทศเห็นที่อยู่เทวดา, เทวาลัย ชื่อสถานที่เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปฯ โบสถ์พราหมณ์, วัดของศาสนาฮินดู. ส. เทวาลย.
  28. เทสนา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องแสดง, การแสดง, การบรรยาย, การชี้แจง, การแถลง, การสอน, เทสนา, เทศนา (การแสดงธรรม คำสั่งสอนในทางศาสนา). วิ. เทสียตีติ เท สนา. เทสนํ วา เทสนา, ทิสฺ ทิสิ วา อุจุจารเณ, ยุ, อิศฺถิยํ อา.
  29. ธมมจาค : (วิ.) ผู้สละซึ่งธรรม, ผู้ละทิ้งธรรม คือละทิ้งศาสนา ไม่นับถือศาสนา.
  30. ธมฺมสภา : (อิต.) โรงเป็นที่กล่าวกับเป็นที่ แสดงซึ่งธรรม, โรงเป็นที่ประชุมกล่าว เป็นที่แสดงซึ่งธรรม, ธมฺมสภา (ที่ประชุมสอนศาสนา).
  31. นวกภูมิ : (อิต.) ชั้นต้น, ลำดับ, ฐานะต้น, ฯลฯ, นวกภูมิ คือชั้นหรือฐานะของคน ชั้นต้น ในพุทธศาสนา หมายถึง นักธรรม ชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นตรี พระชั้นต้น คือ ตั้งแต่อุปสมบทถึงพรรษาครบ ๕ ใน พจนาฯ นับตั้งแต่อุปสมบทถึงครบพรรษา ๔.
  32. นานาติตฺถิย : ค. มีนานาลัทธิ, มีหลายลัทธิหรือศาสนา
  33. นารายณ : (ปุ.) นารายณะ นามพระวิษณุ, พระนารายณ์ พระเจ้าองค์หนึ่งใน ๓ องค์ ของศาสนาฮินดู ได้ในอักษร อะ อีกสอง องค์คือ พระศิวะ อักษร อุ และ พระพรหม อักษร มะ รวมเป็น โอม. ส. นารายณ.
  34. นิคณฺฐ : ป. นิครนถ์, ผู้เปลือย, นักบวชศาสนาเชน
  35. นิคณฺฐ นิคฺคณฺฐ : (ปุ.) คนมีกิเลสพัวพัน วิ. จตูหิ คนฺเถหิ พนฺธนียตฺตา นิคณฺโฐ นิคฺคณฺโฐ วา. นิปุพฺโพ, คถิ พนฺธเน, อ, นิคฺคหิตาคโม. แปลงนิคคหิต เป็น นฺ เป็น คนฺถ แปลง นถฺ เป็น ณฺฐ. คนปราศจาก เครื่องผูกเครื่องร้อยรัด. นิคต+คณฺฐ. นิครนถ์ ชื่อนักบวชนอกพุทธศาสนา นักบวชของศาสนาเช่น.
  36. นิปาต : (ปุ.) การตกไปโดยไม่เหลือ, การตก ไปในระหว่าง, การไม่เปลี่ยนแปลง, การประชุม, ความตก, ความตกไป, ความไม่เปลี่ยนแปลง, นิบาต คือคำเรียก อัพยย- ศัพท์มี ป เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งเรียก คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา. นิปุพฺโพ, ปตฺ ปตเน, โณ. อภิฯ ลง อ ปัจ. ส. นิปาต.
  37. ปพฺพ : (นปุ.) ข้อ, หัวข้อ, ข้อไม้, ปล้อง, ภาค, ส่วน, หมู่, ตอน, เล่ม, ปม, ดิถีเภท คือ วัน ไม่ดีทางโหราศาสตร์ แต่ทางพุทธศาสนา สอนว่า ดีหรือไม่ดีไม่ขึ้นอยู่กับวัน ขึ้นอยู่ กับการกระทำ. ปพฺพ ปูรเณ, อ.
  38. ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
  39. ปริพฺพาชก : ป. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา
  40. ปุพฺพการี : (ปุ.) บุคคลผู้ทำก่อนโดยปกติ,ฯลฯ, บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน, บุพพการี บุคคล. ในกฏหมาย คำบุพการี หมายถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด (ทั้งสองฝ่าย). ในทางพุทธศาสนาหมาย ความกว้างกว่านี้ มีอธิบายในบุคคลหาได้ยาก ๒.
  41. พฺรหฺมทณฺฑ : (ปุ.) ไม้แห่งพระพรหม, อาชญาของพระพรหม, อาชญาอันประเสริฐ, พรหมทัณฑ์ ชื่อ การลงโทษอย่างสูงอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา คือห้ามไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายากสอนยากห้ามไม่ ให้ใครพูดด้วย. ปัจจุบันนี้ยังใช้ได้ผลหรือไม่?
  42. พลิกมุม : (นปุ.) การทำการบูชา, การทำการเซ่น, เครื่องบูชา, เครื่องบูชาแห่งศาสนา, เครื่องเซ่น, เครื่องสังเวยเทวดา, เครื่องพลีกรรม, พลีกรรม (การบูชา พิธีบูชา).
  43. พาหิรก : ค. มีในภายนอก, คนภายนอก, คนนอกศาสนา
  44. พาหิรกกถา : อิต. กถาอันมีในภายนอกศาสนา, การพูดถึงเรื่องภายนอกศาสนา, เรื่องหยาบโลน
  45. พาหิรกตป : ป. ตบะภายนอก, การบำเพ็ญเพียรนอกศาสนา (พุทธ)
  46. พาหิรกปพฺพชฺชา : อิต. การบวชภายนอกพุทธศาสนา
  47. พาหิรติตฺถ : นป. ลัทธิภายนอก, คำสอนนอกศาสนาพุทธ
  48. พาหิรทาน : นป. ทานภายนอก, ทานที่มอบให้แก่คนภายนอก (พุทธศาสนา)
  49. พาหิรมนฺต : นป. มนต์ภายนอก (พุทธศาสนา), คาถาอาคม; คำสอนภายนอก (พุทธศาสนา)
  50. พาหิรสมย : ป. ลัทธิภายนอก (พุทธศาสนา)
  51. [1-50] | 51-91

(0.0110 sec)