สกฺขี : ป. พยานเห็นกับตา, สักขีพยาน
สกฺขิ : อ. เผชิญหน้า
กายสกฺขี : ค. ผู้มีตนเป็นพยาน, ผู้ยกตนขึ้นเป็นพยาน; ผู้บรรลุธรรมโดยยึดร่างกายเป็นเหตุ
เสกฺข เสข : (ปุ.) บุคคลผู้ยังต้องศึกษา, บุคคลที่ยังต้องศึกษา, เสกขบุคคล, เสขบุคคล, พระเสขะ คือ พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้น. สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, โณ. ศัพท์หลังลบ กฺ. อภิฯ วิ. ตีหิ สิกฺขาหิ ยุตฺตตฺตา เสกฺโข เสโข วา.
สิกฺข : (ปุ.) ประชุมแห่งสิกาขา. สิกฺขา+ณ ปัจ. สมุหตัท.
สุกฺข : (วิ.) แห้ง, เหี่ยว, แล้ง, สุสฺ โสสเน, โต. แปลง ต เป็น กฺข ลบที่สุดธาตุ รูปฯ ๖๐๑.
เสข, (เสกฺข) : ป. ผู้ยังต้องศึกษา
สิกฺขก : (วิ.) ผู้ศึกษา, ผู้เล่าเรียน. สิกฺข วิชฺโชปาทาเน, ณวุ.
สิกฺขมานา : (อิต.) นางสิกขมานา ชื่อของสามเณรี ผู้มีอายุครบ ๑๘ ปี แล้ว รักษาสิกขาบทตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ๖ สิกขาบทไม่ให้ขาดครบ ๒ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้ ถ้าขาดสิกขาบทใดสิกขาบท ๑ ต้องนับตั้งต้นไปใหม่จนครบ ๒ ปี จึงจะอุปสมบทได้. วิ. สิกฺขตีติ สิกฺขมานา สิกฺขฺ วิชฺโชปาทานาเน, มาโน.
สิปฺป : (นปุ.) สิปปะ ศิลปะ. วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาทุกอย่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตในทางสุจริต เรียกว่า สิปปะ หรือ ศิลปะตามภาษาสันสกฤต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคลคือเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความเจริญ เป็นมงคลที่ ๘ ในมงคล ๓๘ . สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, ปฺปปจฺจโย, กฺขฺโลโป, สิ สยเสวาสุ วา, ปฺปปจฺจโย, สปฺปฺ คติยํ วา, อ, อสฺสิ. คำ ศิลปะ ไทยใช้ความว่าฝีมือทางการช่าง ที่ผู้ทำทำได้คล่องแคล่วกว่า หรือดีเด่นกว่า งดงามกว่าช่างด้วยกันหรือสิ่งที่สำเร็จจากฝีมือนั้น ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ดีกว่าช่างอื่น. ส. ศิลฺป.
เสขิย : (วิ.) อัน...พึงศึกษา, อัน...ควรศึกษา, อัน...ควรใส่ใจ, อัน...พึงใส่ใจ. สิกฺขฺ วิชฺโช ปาทาเน, โณฺย. วิการ อิ เป็น เอ ลบ กฺ และ ณฺ อิ อาคม.