สุทสฺสี : (ปุ.) สุทัสสี ชื่อรูปพรหมชั้นที่ ๑๕ ชื่อภพเป็นที่อุบัติของสุทัสสีพรหม ชื่อพรหมผู้เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้โดยความสะดวก วิ. สุเขน ปสฺสนฺตีติ สุทสฺสี ชื่อพรหมผู้บริบูรณ์ดีในการเห็นมากยิ่งกว่าสุทัสสพรหม.
กณฺณสูล : นป. ความเจ็บปวดหู, สิ่งที่ไม่ไพเราะหู
กตฺตพฺพตา : อิต. ความเป็นสิ่งที่ควรทำ
กปฺปนา : (อิต.) ความตรึก, ฯลฯ, กัลปนา ผลบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่ ดินหรือสิ่งของ ที่เจ้าของอุทิศผลประโยชน์ อันเกิดจากสิ่งนั้น ให้แก่วัดหรือพระ ศาสนา. ส. กลฺปนา.
กายายตน : นป. สิ่งที่เป็นสื่อรับความรู้สึกจากภายนอกมาสู่กาย, สื่อทางกาย
กิจฺจลกฺขณ : (นปุ.) ลักษณะอัน...พึงทำ, การกำหนดสิ่งที่พึงทำ, กิจจลักษณะ, กิจลักษณะ. ไทยใช้กิจจลักษณะเป็นวิเศษ ในความหมายว่า เป็นการเป็นงานเป็น เรื่องเป็นราว เป็นระเบียบเรียบร้อย.
กุตฺต : นป. สิ่งที่ถูกทำขึ้น; ความประพฤติ; อากัปกิริยา, กิริยาอาการที่มีเสน่ห์
ขคฺค : (ปุ.) กระบี่, ดาบ, พระขรรค์ ชื่อศัตราวุธ ชนิดหนึ่ง มีคมสองข้าง กลางของความกว้างนูน ปลายแหลม, พระขรรค์ชัยศรี. คำชัยศรีเป็นคำใช้ประกอบชื่อของสิ่งต่างๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล. ขคฺคฺ ขณฺฑเภเท, อ. ส. ขฑฺคฺ.
ขาทิตตฺต : นป. ความเป็นสิ่งอันเขาเคี้ยวกินแล้ว, การถูกเคี้ยวกินแล้ว
ฆานินฺทฺริย : (นปุ.) ความเป็นใหญ่ในการสูดดม อินทรีย์คือจมูก, ฆานินทรีย์ (สิ่งที่เป็น ใหญ่ในหน้าที่ดม).
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
จตฺตตฺต : นป. ความเป็นสิ่งที่ถูกสละ, ความเป็นสิ่งที่ถูกทอดทิ้ง, การบริจาค
จาคาธิฏฐาน : ป. ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ, ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือการสละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ (อธิษฐานธรรมอย่างหนึ่งในอธิษฐานธรรมสี่)
จาริตฺต : (นปุ.) ความประพฤติ, ความสมสู่ อู่. จาริตฺตํ อาปชฺชิตฺวา ถึงความสมสู่, จารีต. รูปฯ ๖๕๑ ให้ วิ. ว่า จริตานํ คโณ จาริตฺตํ. อถวา, จรนฺติ ตสฺมึ ปริปูริการิตายาติ จาริตฺตํ. จรฺ จรเณ, ณิตฺตปจฺจโย. ไทย จารีต คือสิ่งที่ประพฤติต่อๆ กันมาประเพ ณีที่ถือสืบต่อกันมาหรือการปฏิบัติที่ทำเป็น ประจำ มักพูดว่า จารีตประเพณีใครฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
จิณฺณตฺต : นป. ความเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา, ธรรมเนียม, ประเพณี, นิสัย
จิตฺตกิเลส : ป. สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง, ความเศร้าหมองแห่งจิต
จิตฺตตา : อิต. จิตฺตตฺต นป. ความเป็นสิ่งวิจิตร, ความเป็นสิ่งสวยงาม
ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
ชฏา : (อิต.) ผมเกล้า, ผมที่เกล้า, เกล้าผม, มวยผม (ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น), ผม เกล้าของดาบส, เทริด ชื่อเครื่องประดับ ศรีษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า, เชิง คือตีน ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่ง บางอย่าง ชายหรือปลายของบางสิ่ง บางอย่าง, ความยุ่ง, ความรุงรัง, ความรก, ชัฏ ( ป่ารก ป่าทึบ เชิง ), ชฎา ชื่อเครื่อง สวมศรีษะ คล้ายมงกุฎ. ชฏฺ ชฏเน สงฺฆาเต วา, อ. ส. ชฎา.
ฐานาฐาน : (นปุ.) ความเป็นไปได้และความเป้นไปไม่ได้, สิ่งที่เป็นไปได้และสิ่งที่เป็น ไปไม่ได้, ฐานะและอฐานะ.
ตทตฺถ : (อัพ. นิบาต) ความพยายามเพื่อประ – โยชน์แก่สิ่งนั้น วิ. ตสฺส อตฺถาย ตทตฺโถ (วายาโม). การทำเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น. ตทตฺถา (ภาวนา). จ.ตัป. รูปฯ ๓๓๖. ท หลัง ต ทั้ง ๕ ศัพท์นั้น คือ ทฺ อาคม.
ตปฺปร : (วิ.) ผู้มีสิ่งนั้น ๆ เป็นประธาน, ผู้มี ความเพียร, ผู้เอาใจใส่, ผู้ตั้งหน้า, ผู้ตั้ง หน้าตั้งตา (ตั้งใจทำ ทำอย่างจริงจัง ทำ อย่างมุ่งมั่น). วิ. ตํ ตํ จตฺถุ ปรํ ปธาน มสฺสาติ ตปฺปโร ลบ ต หนึ่งศัพท์.
ทกฺขิณาวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) การเวียนไปทางขวา, ความเวียนไปทางขวา, การเวียนขวา, ทักษิณาวัฏ , ทักษิณาวรรต. การเดิน เวียนขวา เป็นการแสดงความเคารพ อย่างหนึ่ง. เวียนขวาหรือการเวียนขวา นั้น คือสิ่งที่เราจะเวียนอยู่ขวามือของเรา. ส. ทกฺษิณาวรฺต.
ทฺวิภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่งของสองสิ่ง วิ. ทฺวินฺนํ ภาโว ทฺวิภาโว. ฉ. ตัป.
ทิฏฺฐธมฺม : (ปุ.) สิ่งอันตนเห็นแล้ว, สิ่งอัน...เห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม. คำ ทิฏฐธรรม มีความหมายดังนี้ ความเป็นไปในปัจจุบัน, โลกนี้, ภพนี้, ชาตินี้, ปัจจุบัน; ปัจจุบัน ชาติ, ปัจจุบันภพ. วิ. ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฺฐธมฺโม. ทิฏฺฐธมฺโม นาม ปจฺจกฺข- อตฺตภาโว.
ทิฏฺฐสสนฺทน : ป. การเปรียบเทียบทิฐิด้วยสิ่งที่ตนเห็น, การเปรียบเทียบความคิดเห็น, การสนทนากันเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น
ทิฏฺฐานุคติ : (อิต.) อันเป็นไปตามซึ่งความยินดี, ฯลฯ, อันเป็นไปตามซึ่งความเห็น, อันเป็นไปตามซึ่งทิฎฐิ, ความดูเยี่ยงด้วยสามารถแห่งทิฎฐิ, ความดำเนินตามซึ่ง สิ่งอันปรากฏ, แบบอย่าง.
ทิพฺพกาม : ป. สิ่งที่น่าปรารถนาอันเป็นทิพย์, ความสุขอย่างสวรรค์
ทิวิภาว : ป. ความเป็นสิ่งมีในสวรรค์, ความเป็นของทิพย์, ความเป็นเทวดา
ทุกฺกรตา : อิต., ทุกฺกรตฺต นป. ความเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ทุกฺขตา : อิต., ทุกฺขตฺต นป. ความเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก, ความเป็นทุกข์, ความเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งทุกข์
ทุกฺขสจฺจ : นป. ความจริงคือทุกข์, สิ่งที่เป็นทุกข์จริง, ความจริงแห่งทุกข์
ทุกฺขสมฺผสฺสตา : อิต. ความเป็นสิ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์
เทสฺสตา : อิต. ความเป็นสิ่งน่ารังเกียจ, ความน่าเกลียดน่าชัง, ความน่าขยะแขยง
ธมฺมตา : (อิต.) ความเป็นแห่งธรรม, ความเป็นแห่งปัจจัย, ความเป็นเอง, จารีต, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งอันเป็นเอง, ธรรมดา คืออาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ หรือการเสื่อมสลาย คือเสื่อม สลาย. ธมฺม+ตา ปัจ. สกัด. ส. ธรฺมตา.
นาม : (นปุ.) ความน้อนไป, ความน้อมไปใน อารมณ์ทั้ง ๖, ชื่อ, นาม คือคำชนิดหนึ่ง ในไวยากรณ์ สำหรับเรียก คน สัตว์ ที่ และสิ่งของต่างๆ หรือชื่อของสิ่งที่มิใช่รูป คือจิตและเจตสิก เรียกว่านามธรรมหรือ อรูปธรรม ซึ่งเป็นคู่กับ รูปธรรม. วิ. นมฺยเต อตฺถยเต อตฺถยสฺวิติ นามํ. นาเมหิ นามยตีติ วา นามํ. ส. นามนฺ.
นิปฺผาณิตตฺต : นป. ความเป็นผู้หรือสิ่งที่ปราศจากน้ำตาลหรือน้ำอ้อย
นิโรธธมฺมตา : อิต. ความเป็นสิ่งมีอันดับไปเป็นธรรมดา
ปฏิกุลฺยตา : อิต. ความเป็นสิ่งปฏิกูล, ความเป็นของน่ารังเกียจ
ปทาลิตตฺต : นป. ความเป็นสิ่งที่ถูกทำลายแล้ว
ปโยชน : (นปุ.) การรับใช้, การส่งไป, สิ่งอันเหตุพึงทำให้สำเร็จ, ผลอันสำเร็จมาจาก เหตุ. วิ. ยํ ผลํ เหตุนา โยเชตพฺพํ ปวตฺตพฺพํ ตสฺมา ตํ ผลํ ปโยชนํ. ปปุพฺโพ, ยุชฺ ปวตฺติยํ, ยุ. สิ่งอันบุคคลพึงประกอบ ( เพราะเป็นสิ่งที่ให้คุณ ) , ความดี, วิ. ปโยเชตพฺพนฺติ ปโยชนํ. ยุชฺ โยเค. ไทย ประโยชน์ ใช้ในความหมายว่า สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้ หรือผลที่ได้ตามต้องการสิ่งที่เป็นผลดี สิ่งที่เป็นคุณ. ส. ปฺรโยชน.
ปรายน : (วิ.) ผู้มีสิ่งนั้น ๆเป็นใหญ่ (ตปฺปธาน), ผู้มีสิ่งนั้น ๆ เป็นเบื้องหน้า (ตปฺปร), ผู้ไป ในเบื้องหน้า, ผู้มีความเพียร ( ปร+อายน ).
ปวาหิตตฺต : นป. ความเป็นแห่งสิ่งซึ่งถูกนำไป, การถูกนำไป, การฝัดออก
ปฬิโพธ : ป. ความกังวล; อุปสรรค, สิ่งขัดขวาง
ปิยกมฺยตา : อิต. ความใคร่หรือความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งอันน่ารักน่าพอใจ
ปิยตฺต : นป., ปิยตา อิต. ความเป็นแห่งสิ่งหรือผู้ซึ่งน่ารักน่าพอใจ
ปิยมนาปตา : อิต. ความเป็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ
ปิยวิปฺปโยค : ป. ความพลัดพรากจากสิ่งหรือบุคคลอันเป็นที่รัก
ผสฺส : (ปุ.) อันกระทบ, อันถูกต้อง, การกระทบ, การถูกต้อง, ความกระทบ, ความถูกต้อง. วิ. ผุสนํ ผสฺโส. ผัสสะ อารมณ์ วิ. ผุสิยเตติ ผสฺโส ผุสิตพฺโตติ วา ผสฺโส. ผุสฺ สมฺผสฺเส, อ, ผสสฺส ผสฺโส (แปลง ผุส เป็น ผสฺส). อภิฯ. รูปฯ ๕๖๑ ลง ณ ปัจ. สัมปยุตตธรรม ประกอบด้วยสิ่งนั้น ชื่อผัสสะแต่ละอย่าง เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น.
พาหิรสฺสาท : ค. ผู้แสวงหาความสุขจากสิ่งภายนอก, ผู้ยินดีด้วยสิ่งภายนอก