สุตุต สุตฺร : (นปุ.) พระพุทธวจนะ (ปาวจนา), พระสูตร ชื่อหมวด ๑ ในพระไตรปิฎก คำเต็มว่า พระสุตตันตะ. วิ.อตฺเถ อภสเวตีติ สุตฺตํ สุตรํ วา (หลั่งอรรถ). สุ อภิสเว, โต, ทวิตฺตํ, ตฺรณฺปจฺจโย วา. อตฺเถ สูเทตีติ วา สุตฺตํ สุตฺรํ. สูทฺ ปคฺฆรเณ, รสโส, ทฺโลโป. อตฺถํ สุฏฐ ตายตีติ วา สุตฺตํ สุตฺรํ (รักษาด้วยดีซึ่งอรรถรักษาอรรถไว้ดี). สุฏฐปุพฺโพ, ตา ปาลเน, อ, ฏฐโลโป. ศัพท์ต้นซ้อน ตฺ. สูตร ชื่อกฎของไวยากรณ์สำหรับใช้สร้างศัพท์ เช่น โยนํ โน การอาเทศเป็น โนแห่งโย ทฺ เป็นต้น.
ติโรกุฑฺฑ ติโรกุฑฺฑสุตฺต : (นปุ.) ติโรกุฑฑ สูตร.
กามสุตฺต : นป. กามสูตร, เป็นชื่อพระสูตรที่หนึ่งแห่งอัฏฐกวรรคสุตตนิบาต
เคยฺย : (นปุ.) คำอันบุคคลพึงขับ, คำเพียงดัง เพลงอันบุคคลพึงขับ, พระพุทธพจน์อัน ควรขับ, เคยยะ ชื่อองค์ที่ ๒ ใน ๙ ของ นวังคสัตถุสาสน์ ได้แก่พระสูตรมีคาถา แต่งเป็นร้อยแก้วบ้างร้อยกรองบ้าง. คา สทฺเท, ณฺย. แปลง โณฺย กับ อา เป็น เอยฺย รูปฯ ๕๔๐. อีกนัยหนึ่งลบ ณฺ แล้วแปลง ย กับ อา เป็น เอยฺย.
ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต : (นปุ.) ธรรมจัก- กัปปวัตตนสูตร ชื่อพระสูตรซึ่งพระพุทธ- เจ้าทรงแสดงครั้งแรกแก่พระเบญจวรรคีย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปฐมเทศนา.
ธมฺมชาล : นป. ข่ายคือธรรม; ชื่อของพระสูตรหนึ่งคือธรรมชาลสูตร, พรหมชาลสูตรก็เรียก
สุตฺตนฺติก : (วิ.) ผู้เรียนพระสูตร, ผู้รู้พระสูตร. วิ. สุตฺตนฺตํ อธิเตติ สุตฺตนฺติโก. ณิก ปัจ. ตรัตยทิตัท.
สุตฺตนุต : (นปุ.) สุตตันตะ พระสูตร ชื่อพระพุทธวจนะปิฎกที่ ๒ ใน ๓ ปิฎก. สุตฺต+อนฺตสกัด เพื่อให้ศัพท์สละสลวย. สุตฺตํ เอว สุตฺตนฺตํ. เวสฯ ๓๐๖.
สุตฺตโส : (อัพ. นิบาต) โดยการจำแนกแห่งสูตร, โดยวิภาคแห่งสูตร. สุตฺต+โส ปัจ.
อคฺคญฺญสุตฺต : (นปุ.) อัคคัญญสูตร(กล่าวถึงเรื่องสร้างโลก).
อตฺต อตฺร : (ปุ.) กาย, ร่างกาย, ตน, ตู(ตัว), ตัว, ตัวเอง, ตัวตน (ร่างกายและใจ). วิ. ทุกฺขํ อตติสตตํ คจฺฉตีติ อตฺตา (ถึงทุกข์เสมอ).อาหิโตอหํมาโน เอตฺถาติวา อตฺตา (เป็นที่ตั้งของมานะ).สุขทุกฺขํ อทติ ภกฺขติ อนุภาวตีติวาอตฺตา(เสวยสุขทุกข์).ชาติชรามรณาทีหิอาทียเต ภกฺขียเตติวา อตฺตา (อันชาติชราและมรณะเป็นต้น เคี้ยวกิน).ภววภวํธาวนฺโตชาติชรามรณาทิเภทํ อเนกวิหิตํสํสารทุกขํอตติสตตํคจฺฉติปาปุณาติอธิคจฺฉตีติวาอตฺตา.อตฺหรืออทฺธาตุตปัจ.ถ้าตั้งอทฺ ธาตุ แปลงทเป็น ต หรือ แปลง ต เป็น ตฺต ลบ ทฺศัพท์หลัง แปลง ต เป็น ตฺรลบที่สุดธาตุอตฺตศัพท์นี้ตามหลักบาลีไวยากรณ์เป็นเอก.อย่างเดียว ถ้าจะใช้เป็นพหุ. ต้องแปลซั้าสองหน หรือเขียนควบสองหนเช่น อตฺตโนอตฺตโนแต่คัมภีร์รูปสิทธิเป็นต้น แจกเป็นพหุ. ได้.แปลว่า จิตใจ สภาวะ และ กุสลธัมได้อีกอุ. อตฺตา หิกิรทุทฺทโมได้ยินว่าจิตแล(ใจแล) เป็นสภาพรักษาได้ยาก.แปลว่า หัวใจ อุ.ตถตฺตมีหัวใจเป็นอย่างนั้นมีพระทัยเป็นอย่างนั้น. แปลว่าปรมัตตะ หรือปรมาตมันตามที่ชาวอินเดียโบราณถือว่าเป็นสิ่งไม่ตาย รูปฯ๖๓๖ ลง มนฺ ปัจ. ลบ น.แปลง ม เป็น ต สูตรที่ ๖๕๖ ลง ต ตฺรณฺ ปัจ.ที่ลง ตฺรณฺปัจ.ลบที่สุดธาตุ แล้วลบณฺสฺอาตฺมนฺอาตฺมา.
อนตฺตลกฺขณสุตฺต : (นปุ.) อนัตลักขณะสูตรชื่อพระสูตรซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวรรคึย์.
อาทิตฺตปริยายสุตฺต : นป. อาทิตตปริยายสูตร, พระสูตรที่ตรัสเปรียบราคะ, โทสะ, โมหะว่าเป็นของร้อน
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
โอวาทปาฏิโมกฺข โอวาทปาติโมกฺข : (ปุ.) คำสั่งสอนอัน เป็นประธานโดยความเป็นใหญ่, โอวาทปาฏิโมกข์, โอวาทปาติโมกข์ ชื่อ โอวาทซึ่งประพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ องค์ เป็น เอหิภิกขุอุป สัมปทา ทั้งสิ้น ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้ นัดหมาย ณ วันเพ็ญมาฆบูชาหลังตรัสรู้ แล้วได้ ๙ เดือน เป็นหลักสำคัญ (หัวใจ) ของพระพุทธศาสนา มหาปธานสูตร ที. มหา. ไตร. ๑๐/๕๔.
สตรสี : ป. พระอาทิตย์