หตฺถิ, - ถี : ป. ผู้มีมือ, ช้างพลาย, ช้างตัวผู้
หตฺถี : (ปุ.) สัตว์มีงวง, ช้าง, ช้างพลาย, หัสดี, หัสดิน, ไอยรา. หตฺโถ อสฺส อตฺถีติ หตฺถี. ณ ปัจ. ตทัสสัตถิตัท. ส. หสฺติ, หสฺตินฺ.
หตฺถินข : (ปุ.) ปราสาทตั้งอยู่บนกระพองช้าง กระพอง คือ ส่วนที่นูนเป็นปุ่มสองข้างที่ศรีษะช้าง กะพอง ตระพอง ตะพอง ก็ว่า. วิ. หตฺถิกุมฺภมฺหิ ปติฎฐโต นโข หตฺถินโข. ปาสาโท เอว นโข.
หตฺถิสิโรปิณฺฑ : (ปุ.) กระพองช้าง. วิ. หตฺถิโน สิรสิ ปิณฺโฑ หตฺถิสิโรปิณฺโฑ.
หตฺถิกลก หตฺถิกุลภ : (ปุ.) ช้างสะเทิน (สะเทิน คือรุ่น), ช้างรุ่น. หตฺถี+กลภ ศัพท์หลังแปลง อ เป็น อุ.
หตฺถิกลภ : ป. ลูกช้าง
หตฺถิกุมฺภ : ป. ตระพองช้าง
หตฺถิโคปก หตถิป หตฺถิบาล : (ปุ.) คนผู้รักษาช้าง, คนเลี้ยงช้าง, ควาญช้าง, นายควาญช้าง. คุปฺ รกฺขเณ, โณ, สตฺเถ โก. ปา ปาลฺ วา รกฺขเณ, โณ.
หตฺถิฉาป หตฺถิจฉาป : (ปุ.) ช้างผู้ลูกน้อย, ลูกช้าง.
หตฺถิทนฺต : ป., นป. งาช้าง
หตฺถินี : (อิต.) ช้างตัวเมีย, นางช้าง, ช้างพัง.
หตฺถิมารก : (ปุ.) คนยังช้างให้ตาย, คนฆ่าช้าง, พรานช้าง.
หตฺถิลิงฺค : (วิ.) มีเพศเพียงดังเพศแห่งช้าง.
หตฺถิลิงฺคสกุณ : (ปุ.) นกหัสดีลิงค์. ส. หสฺติลิงฺค.
หตฺถิโสณฺฑ : ป. งวงข้าง
หตฺถิโสณฺฑ หตฺถิโสณฺฑวิหงฺคม : (ปุ.) นกหัสดีลิงค์.
หตฺถิมณฺฑ หตฺถิเมณฺฑ : (ปุ.) ควาญช้าง. วิ. มณฺฑยติ รกฺขตีติ หตฺถิมณฺโฑ. โส เอว หตฺถิเมณฺโฑ. มิ หึสายํ, โฑ, นิคฺคหิตาคโม.
หตฺถิก : (ปุ.) ตุ๊กตาช้าง. หตฺถี+ก ปัจ. ลงในอรรถเปรียบเทียบ รัสสะ อี เป็น อิ. สัตว์นี้เพียงดังช้าง วิ. หตฺถี อิว อยํ สตฺโต หตฺถิโก.
ตุตฺต : (นปุ.) เครื่องแทงโคนหูช้าง, ปฏัก, ประตัก. หตฺถิโน กณฺณมูลวิชฺฌนกณฺฏโก ตุตฺตํ. ตุทฺ วฺยถเน, โต, ทสฺส โต.
หตฺถาโรห : (ปุ.) ควาญช้าง, นายควาญช้าง. วิ. หตฺถึ อารูหตีติ หตฺถาโรโห. หตฺถีปุพฺโพ, รุหฺ รุฬฺหเน, โณ. กองช้าง ก็แปล.
วชิรปาณิ, - หตฺถ : ป. พระอินทร์, ท้าวสักกะ
หตฺถ : (ปุ.) หัตถะ หัสตะ ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มที่ ๑๓ ใน ๒๗ กลุ่ม มี ๕ ดวง, ดาวศอกคู้. วิ. หตฺถสณฺฐานตาย หตฺโถ.
กตหตฺถ : (วิ.) มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ. วิ. กโต อภฺยาสิดต หตฺโถ ปทตฺโพ เยน โส กตหตฺโถ.
กุกฺกุล : (ปุ.) เถ้าร้อน, ถ่านร้อน, เถ้าสุม, เท่ารึง, เถ้ารึง เท่า เถ้าใช้ได้ทั้งสองคำ เถ้ารึงคือ เถ้าที่ไม่มีถ่านไฟ แต่ยังมีความร้อนอยู่. กุกฺกุ หตฺถํ ลุนาตีติ กุกฺกุโล. กุกฺกุปุพฺโพ, ลุ เฉทเน, อ, อุโลโป.
กุลิส : (ปุ. นปุ.) กุลิสะ ชื่ออาวุธพระอินทร์, ขวานฟ้า, แก้ววิเชียร. วิ. กุลิมฺหิ สกฺกสฺส หตฺเถ เสติ ติฏฺฐตีติ กุลิสํ. กุลิปุพฺโพ, สิ คติยํ, อ. กลียตีติ วา กุลิสํ. กลฺ สํวรเณ, อิโส, อสฺสุ.