ทสวิธราชธมฺม : (ปุ.) ธรรมของพระราชามี อย่างสิบ, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดินสิบ อย่าง, ทศพิธราชธรรมล ทศพิธราชธรรมเป้นหลักะรรมประจำองค์พระเจ้าแผ่นดินและเป็นคุณธรรมของผู้ปกครองบ้าน เมืองทั้งหลายด้วยมี ๑๐ อย่างคือ ทาน ศีล บริจาค อาชวะมัทวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสาขันติ และอวิโรธนะ
สภาวธมฺม : (ปุ.) ความเป็นเอง, สิ่งที่เกิดเอง, สิ่งที่เป็นเอง, หลักแห่งความเป็นเอง, สภาวธัมม์ สภาพธรรม ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒.
คนฺถธุร : (นปุ.) กิจในคัมภีร์, การเล่าเรียน ความรู้ซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, การศึกษาคำ สั่งสอนซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, คันถธุระ ชื่อ ธุระอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง ของพระพุทธ ศาสนา. การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือ คำสั่งสอน แล้วทรงจำไว้กล่าวสอนไม่ให้ ผิดไปจากหลักตัดสินพระธรรมวินัย ชื่อว่า คันถธุระ. เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะพระภิกษุและสามเณร. ธุระ อีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ.
ทิฏฺฐชุกมฺม : (นปุ.) การทำความเห็นให้ตรง คือการทำความเห็นให้ถูกต้องตามหลัก ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา.
ทิฏฺฐิปฺปตฺต : ค. ผู้ถึงแล้วซึ่งทิฐิ, ผู้บรรลุธรรมด้วยความเห็นถูกต้อง, ผู้เข้าใจในหลักความเห็น
ธมฺมาธิฐาน : (นปุ.) การตั้งไว้ซึ่งธรรม, การตั้งไว้ซึ่งสภาวะ, ธรรมาธิษฐาน คือ การยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วนๆมาตั้งหรืออธิบาย. การอธิบายธรรมล้วนๆ ไม่มีสัตว์บุคคลเข้าประกอบ เรียก ว่าธรรมาธิษฐาน. คู่กันกับปุคลาธิษฐาน. ส. ธรฺมาธิษฺฐาน.
ปฏิจฺจวินีต : ค. ผู้ได้รับฝึกหัดแนะนำในธรรมที่อาศัยกัน (หลักเหตุผล)
ปาฏิโมกฺข : ป., นป. พระปาฏิโมกข์, ธรรมเป็นที่อาศัยให้พ้นจากอาบัติ; พระคัมภีร์รวบรวมพระวินัยที่เป็นหลักของภิกษุไว้และต้องสวดในที่ชุมนุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติและสำรวจตนเองว่าได้ปฏิบัติตนเองตามพุทธบัญญัติหรือไม่
กีล : (นปุ.) การผูก, การพัน, การมัด, การรัด, ความผูก, ฯลฯ, เครื่องผูก, ฯลฯ, หลัก, สลัก, หอก, ข้อศอก, ลิ่ม. กีลฺ พนฺธเน, อ. ส. กีล.
ขาณุก : ป. ตอไม้, หลัก, เสา
ขาณุ ขานุ ขานุก : (ปุ. นปุ.) ตอ, ตอไม้, หลัก, หลักตอ. อภิฯวิ. ขญฺญติ อวทารียตีติ ขาณุ. ขณุ อวทารเณ, ณุ, ณสฺสา (แปลง ณ ตัวธาตุ เป็น อา). กัจฯ ๖๗๑ วิ. ขณิตพฺโพ อวทาริต- พฺโพติ ขาณุ ขานุ วา. กัจฯ และ รูปฯ ลง ณุ นุ ปปัจ. ตัวนี้ไม่ลบ ศัพท์หลังลง ก สกัด.
จิลฺลก : ป. เสาเข็ม, หลัก, หมุด, เดือย
ตป : (ปุ.) ความเพียร เครื่องเผากิเลส, คุณ ธรรมอันยังกิเลสให้ร้อน, คุณธรรมอันยัง กิเลสให้เร่าร้อน (แห้ง), ความร้อน, ความสำรวม, ความเพียร, ธรรม, วัตร, พรต (ธรรมมีศีลเป็นต้น ความบำเพ็ญพรตเผา กิเลส), ศีล, ตบะ. วิ. กิเลเส ตาเปตีติ ตโป. ตปฺ ทาเห สนฺตาเป วา, อ. ส. ตปสฺ.
ถูณ : (ปุ.) เสา, หลัก, หลักเป็นที่บูชายัญ. วิ. อภิตฺวียฺตีติ ถูโณ. ถุ ถู วา อภิตฺถเว, อูโณ. ธรฺ ธารเณ วา, ยุ, รฺโลโป, ธสฺส โถ, อสฺสุตฺตํ, ทีโฆ จ. ไม่ทีฆะเป็น ถุณ บ้าง.
ปทก : ๑. ค. ผู้เข้าใจตัวบท, ผู้ชำนาญในบทพระเวท;
๒. นป. รากฐาน, มูลเค้า, หลัก; บท; คำ; ตาหมากรุก
ธมฺม : (วิ.) หนักแน่น อุ. ทฬฺหธมฺม แม่นยำ และหนักแน่น
โมกฺขธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องพ้น, ธรรม คือความหลุดพ้น, โมกษธรรม.
กิเลส เกฺลส : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง, ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต, ธรรม อันยังจิตให้เศร้าหมอง, ความเศร้าหมอง ความเปรอะเปื้อน (แห่งจิต), ความลำบาก, ความเบียดเบียน, ความกำจัด, ความทำลาย, ความเผา, ความแผดเผา, ความทุกข์, ภาวะที่เกิดขึ้นในใจ และทำใจให้เศร้า หมอง, มลทิน (ของใจ), วิ. กิลิสฺสนฺติ เอเตหิ สตฺตาหิ กิเลสา. กิลิสนํ วา กิเลโส. กิลิสฺ กิเลสนวิพาธนอุปตาเปสุ, อ. ศัพท์ หลัง แปลง อิ เป็น เอ. นัยของวิปัสสนา ปทีปนีฎีกา.
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
ตณฺหกฺขย : (ปุ.) ความสิ้นแห่งตัณหา ( หาย อยาก ) ความสิ้นไปแห่งตัณหา, ธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา, ตัณหักขยะ ชื่อ ของพระนิพพาน, พระนิพพาน.
ธมฺมกาย : (ปุ.) กองแห่งธรรม, หมวดแห่ง ธรรม, หมู่แห่งธรรม. ธมฺม+กาย. ธรรม กาย คือพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้, ธมฺมก+อาย. การประกอบด้วยธรรม, กาย มีธรรม. ธมฺม+ยุตฺต+กาย.
ธมฺมฎฐ : (วิ.) ผู้ตั้งซึ่งธรรม, ผู้ดำรงอยู่ใน ธรรม. วิ. ธมฺเม ติฎฺฐตีติ ธมฺมฎโฐ. ธมฺม+ ฐา+อปัจ.
ธมฺมสตฺถ : (นปุ.) ตำราแห่งกฎหมาย, ธรรม ศาสตร์. ส. ธรฺมศาสฺตฺร.
นิยฺยาน : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องนำออก, ธรรม เครื่องนำออก. นิปุพฺโพ, ยา คติปาปุเณสุ. ยุ.
นิวรณ : (ปุ.) การห้าม, การกั้น, การขัดขวาง, เครื่องห้าม, เครื่องกั้น, เครื่องขัดขวาง, กิเลสอันกั้นจิตไม่ให้บรรจุความดี, ธรรม อันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, นิวรณ์, นีวรณ์. นิยยานวรณฏฺเฐน นิวารณา นีวารณา วา. ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถ ว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก. ไตร. เป็น นปุ. บ้าง. ฌานาทิกํ ทิวาเรนฺตีติ นิวารณาทิ.
ธมฺมเสนานี : (ปุ.) แม่ทัพแห่งะรรม, แม่ทัพ ธรรม.
นิยฺยานิกธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องนำออก, ธรรมอันนำสัตว์ออกจากทุกข์. ธรรม อันนำสัตว์ออกจากวัฏสงสาร (ได้แก่ อริยมรรค ๔).
กุสลกมฺมปถ : (ปุ.) ทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล, กรรมอันเป็นคลองอันเป็นกุศล, ทางแห่ง การสร้างความดี, กุศลกรรมบถ ชื่อ ธรรม สำหรับสร้างความดี มี ๑o อย่าง คือ กาย สจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓.
กุสลเจตสิก : (วิ.) (ธรรม อารมณ์) อันเกิดกับจิตที่เป็นอกุศล.
คณฺฑุ : (ปุ.) หลัก. คฑิ สนฺนิจเย, อุ.
โคตฺตภู โคตฺรภู : (ปุ.) ธรรมอันครอบงำ โคตร ปุถุชนยังโคตรอริยะให้เกิด, ธรรม ( คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ ) อันยังเชื้อชาติแห่ง มหัคคตะหรือเชื้อชาติแห่งโลกุตตระให้ เจริญ วิ. มหคฺคตสฺส โลกุตฺตรสฺส วา โคตฺตํ ภาเวติ วุฑฺเฒตีติโคตฺตภู โคตฺรภู วา รูปฯ ๑๙๙ ว่า โคตฺตภู โคตฺรภู เป็น อูการันต์ นปุ. และรัสสะเป็น อุ เป็น โคตฺตภุ โคตฺรภุ เป็น อูการันต์ นปุ. และรัสสะเป็น อุ เป็น โคตฺตภุ โคตฺรภุ ได้ แปลว่า จิตอัน ครอบงำ โคตรปุถุชน ยังโคตรอริยะให้เกิด, จิตอัน ยังเชื้อชาติแห่งมหัคคตะหรือเชื้อชาติแห่ง โลกุตตระให้เกิด, ชวนจิตอันยัง...ให้เกิด.
จิตฺตวิสสฏฐ : ค. (ธรรม) ที่ไม่เจือจิต, ไม่เกี่ยวข้องกับจิต
จิตฺตสณฺหตา : (อิต.) ความที่แห่งจิตเป็น ธรรม ชาตละเอียด.
ชีวิตินฺทฺรย ชีวินฺทฺริย : (นปุ.) ความเป็นอยู่, อินทรีย์ คือชีวิต, อายุ, ชีวิต, ชีวิตินทรีย์ ได้แก่ เจตสิกที่เป็นใหญ่ในการรักษานาม ธรรม.
เญยฺย : (วิ.) อัน...พึงรู้, อัน...ควรรู้, พึงรู้, ควร รู้, เญยยธรรม, ไญยธรรม. ธรรม (วัตถุ ฃเรื่อง) ที่ควรรู้มี ๕ อย่าง คือสังขาร ๑ วิการ (ความผันแปร), ๑ ลักษณะ ๑ บัญญัติ ๑ พระนิพพาน ๑. ญาธาตุ ญฺย ปัจ. แปลง อากับญฺย เป็น เอยฺย
ธมฺมยนฺต : นป. เครื่องยนต์ คือ ธรรม
ธมฺมรต : (วิ.) ผู้ยินดีแล้วในธรรม, ผู้ยินดีใน ธรรม.
นโยปาย : (ปุ.) หนทางเป็นเครื่องนำไป, วิธี เป็นเครื่องนำไป, อุบายเป็นเครื่องนำไป, วิธีดำเนินการ. วิ. นโย อุปาโย นโยปาโย. ไทย นโยบาย ใช้ในความหมายว่า หลัก และวิธีปฏิบัติที่ถือเป็นแนวดำเนินการ.
นิพฺพาณ นิพฺพาน : (นปุ.) ธรรมอันออกแล้ว จากตัณหา, ธรรมอันออกแล้วจากตัณหา เครื่องร้อยรัด, ธรรมอันออกไปแล้วจาก ตัณหาเครื่องร้อยรัด. วิ. วาฯโต วานโต วา นิกฺขนฺตํ นิพฺพาณํ นิพฺพานํ วา. รูปฯ วิ. วานโต นิกฺขนฺตํ นิพฺพานํ. ลบ กฺขนฺต แล้วกลับบทหน้าไว้หลัง แปลง ว เป็น พ ซ้อน พฺ ความออกจากตัณหา, ความออกไปจากตัณหา, ฯลฯ. วิ. วาณโต วานโต วา นิกฺขมนํ นิพฺพาณํ นิพฺพานํ วา. ธรรมออกแล้วจากวานะ, จิตออกแล้วจาก วานะ. วิ. นิกฺขนตํ วานโต นิพฺพานํ. นตฺถิ วา เอตฺถ วานํ นิพฺพานํ อัฏฐกถาปรมัตถ- ทีปนี. ความสงบ ความดับ ความดับสนิท (ของจิต). นิปุพฺโพ, วา อุปสเม, ยุ. ธรรม ปราศจากเครื่องรัอยรัด, จิตปราศจาก เครื่องร้อยรัด. นิปพฺโพ, วิ สํสิพฺพเน, ยุ. ความดับด้วยอันสำรอกโดยไม่เหลือ เพราะสิ้นตัณหาโดยประการทั้งปวง, ความดับสนิทจากกิเลสและกองทุกข์, แดนอันปราศจากสังขาร (เครื่องปรุงแต่ง), นิพพาณ, นิพพาน, พระนิพพาณ, พระ นิพพาน. วิ. นิพฺพายนนฺติ อริยชนา เอตสฺมินฺติ นิพฺพานํ. นิพฺพายนฺติ สพฺเพ วฏฺฏทุกฺขนสนฺตาปา เอตสฺมินฺติ วา นิพฺพานํ. ส. นิรฺวาณ.
ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
พุทฺธกร, พุทฺธการก : ค. (ธรรม) ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
โพธิปกฺขิก, โพธิปกฺขิย : ค. (ธรรม) ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้, ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการตรัสรู้
มโนปุพฺพงฺคม : (วิ.) มีใจเป็นสภาพถึงก่อน, มีใจเป็นธรรมถึงก่อน, มีใจเป็นหัวหน้า, มีใจเป็นประธาน. วิ. อุปฺปาทปฺปจฺจยตฺเถนมโน ปุพฺพงฺคโม เอเตสนฺติ มโนปุพฺพงฺคมา (ธมฺมา). คำว่า ธรรม ท. ได้แก่ เวทนขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์.
อธิจิตฺตสิกฺขา : (อิต.) ปฏิทาอัน..พึงศึกษา คือจิตยิ่ง, ข้อที่ควรศึกษาคือจิตยิ่ง, อธิกจิตตสิกขาชื่อหลักการศึกษาทางพุทธศาสนา หลักที่ ๒ใน ๓ หลัก.
อุโปสถทิวส : (ปุ.) วันอุโบสถ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำ สำหรับเดือนขาด เป็นวันที่พระสงฆ์ลง อุโบสถฟังสวดพระปาติโมกข์ สำหรับ อุบาสกอุบาสิกา คือวันขึ้น ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำ สำหรับเดือนขาด เป็นวันรักษาศีลฟัง ธรรม.
ธมฺมตา : (อิต.) ความเป็นแห่งธรรม, ความเป็นแห่งปัจจัย, ความเป็นเอง, จารีต, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งอันเป็นเอง, ธรรมดา คืออาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ หรือการเสื่อมสลาย คือเสื่อม สลาย. ธมฺม+ตา ปัจ. สกัด. ส. ธรฺมตา.
ธมฺมทินฺน : (วิ.) ผู้ให้ซึ่งธรรม, ผู้ให้ซึ่งความรู้, ผู้ให้ธรรม, ผู้ให้ความรู้. วิ. ธมฺมํ ททาตีติ ธมฺมทินโน. ธมฺม+ทา+ตปัจ. แปลง ต เป็น อินฺน รูปฯ ๕๙๓.
ธมฺมวิจย : (วิ.) ผู้เลือกเฟ้นวึ่งธรรม, ผู้ค้นคว้าซึ่งธรรม, ผู้คัดเลือกซึ่งธรรม. วิ. ธมฺมํ วิจินาตีติ ธมฺมวิจโย. ผู้เลือกเฟ้นซึ่งธรรมอันเป็นไปภายในและภายนอกอันเป็นภูมิของวิปัสสนา วิง วิปสฺสนาย ภูมิภุเต อชฺฌตฺตพิหิทฮชฺธา ธมฺมเม วิจินาตีติ ธมฺมวิจโย. ธมฺม+วิ+จิ+อปัจง แปลง อิ เป็น เอ เอ เป็น อย. รูปฯ ๕๕๒
ธมฺมานุธมฺม : (ปุ.) ธรรมอันสมควรแก่ธรรม. ธมฺม+อนุจฺฉวิก+ธมฺม ลบ จฺฉวิก.
เสรีธมฺม : (ปุ.) หลักแห่งเสรีภาพ. เสรีภาวนา+ธมฺม.