นิยาม : (ปุ.) การกำหนด, ความกำหนด, เหตุ เป็นเครื่องกำหนด, ทาง, หนทาง, มรรค, แบบ, อย่าง, วิธี, ทำนอง. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, โณ. ไทยใช้นิยามเป็นกิริยาใน ความหมายว่า กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน หรือให้ความหมายอย่าง กะทัดรัด.
ปเภท : (ปุ.) การแยกออกเป็นส่วน, การแยก ออกเป็นส่วน ๆ, การแตก, การทำลาย, ความแตกต่าง, ความต่างกัน, ชนิด, อย่าง, แผนก, ส่วน. ปปุพฺโพ, ภิทิ ทฺวิธากรเณเภ- เท จ, อ. ส. ปฺรเภท.
คุยฺหก : (ปุ.) ความลับ, คุยหกะ ชื่อกำเนิด เทวดาอย่างที่๔ ใน ๘ อย่าง วิ. นิธโย คุยฺหตีติ คุยฺหโก. คุหุ สํวรเณ, ณฺวุ. แปลง อุ ที่ หุ เป็น ย แล้วเปลี่ยนอักษร.
ฉชฺช : (ปุ.) ฉัชชะ ชื่อเสียงดนตรีอย่างที่ ๓ ใน ๗ อย่าง เกิดจากหกส่วนคือ จมูก ปาก อก เพดาน ลิ้น และฟันหรือคอ เป็นเสียง เหมือนนกยูงร้อง วิ. ฉหิ ชาโต ฉชฺโช. ฉ+ชนฺ ธาตุ กฺวิ ปัจ. ลบที่สุดธาตุ แปลง ช เป็น ชฺช.
เญยฺย : (วิ.) อัน...พึงรู้, อัน...ควรรู้, พึงรู้, ควร รู้, เญยยธรรม, ไญยธรรม. ธรรม (วัตถุ ฃเรื่อง) ที่ควรรู้มี ๕ อย่าง คือสังขาร ๑ วิการ (ความผันแปร), ๑ ลักษณะ ๑ บัญญัติ ๑ พระนิพพาน ๑. ญาธาตุ ญฺย ปัจ. แปลง อากับญฺย เป็น เอยฺย
ทณฺฑ : (ปุ.) ทัณฑะ ( รุกรม ) ชื่ออุบายเอาชนะ อริราชศัตรูอย่างที่ ๒ ใน ๔ อย่าง ( อีก ๓ อย่างคือ เภทะ การทำให้แตกกัน สามะ การผูกไมตรี ทานะ การให้สินบน ). ทณฺฑฺ ทณฺฑนิปาตเน, อ. ทมุ ทมเน วา, โฑ. แปลง มฺ เป็น ณฺ ทฑิ อาณาปหรเณสุ, อ, นิคฺคหิตาคโม.
ธมกรก : (ปุ.) คนที (หม้อน้ำ หม้อมีหู เต้า น้ำ, ธัมกรก, ธมกรก (ธะมะกะหรก) ชื่อบริขารของ ๑ ใน ๘ อย่าง ของภิกษุ เป็นกระบอกก้นกลวง ผูกผ้าไว้ข้างบนปิดสนิท เจาะรูตรงกลางใส่หลอดยาวประมาณ ๔ นิ้ว มีหูสองข้างหลอด สำหรับใช้กรอง น้ำ เป็น ธมการก ก็มี.
ปโยค : (ปุ.) การประกอบ, ฯลฯ, การประกอบเข้า, ความพยายามเป็นเครื่องประกอบ, ความพยายาม, ฯลฯ, ประโยคเป็นชื่อของคำพูดที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ อย่าง ๑ เป็นชื่อของความรู้เช่นเปรียญธรรม ๓ ประโยค อย่าง ๑ เป็นชื่อของการทำทางกายทางวาจา เรียกว่า กายประโยค วจีประโยค อย่าง ๑ วิ. ปยุชฺชนํ ปโยโค. ป+ยุชฺ+ณ ปัจ. แปลง ช เป็น ค. ส. ปฺรโยค.
ปุพฺพณฺณ : (นปุ.) ของที่กินก่อน, ปุพพัณชาต. ปุพพัณชาต ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ. ๑. สาลี ข้าวไม่มีแกลบ ๒. วีหิ ข้าวเปลือก ๓. กุทฺรุสโก หญ้ากับแก้ ๔. โคธุโม ข้าวละมาน ๕. วรโก ลูกเดือย ๖. ยโว ข้าวเหนียว และ ๗. กงฺคุ ข้าวฟ่าง. ไตร ๓๐ ข้อ ๗๖๒. วิ. อปรนฺนสฺส ปุพฺเพ ปวตฺตํ อนฺนํ ปุพฺพนฺนํ. แปลง นฺน เป็น ณฺณฺ อภิฯ เป็น ปุพฺพนฺน.
มณิ : (ปุ. อิต.) แก้ว, แก้วมณี, รตนะ, เพชร, พลอย, เพชรพลอย. วิ. มนติ มหคฺฆภาวํ คจฺฉตีติ มณิ. มนฺ ญาเน, อิ, นสฺส ณตฺตํ. มียติ อาภรณํ เอเต-นาติ วา มณิ. มา มานเน, อิ, นฺ อาคโม, อภิฯ และฎีกาอภิฯ ลง อี ปัจ. เป็น มณี อีกด้วย. แปลว่า ดาบเพชร ก็มี. กัจฯ ๖๖๙ วิ. มนํ ตตฺถ รตเน นยตีติ มณิ. มณี ชื่อรตนะอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง.
อุณฺหีส : (ปุ. นปุ.) เครื่องประดับหน้า, วงหน้า, กรอบหน้า, เทริด (เครื่องประดับศรีษะ รูปมงกุฏอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า), มงกุฎ พระมงกุฎ ชื่อเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างที่ ๑ ใน ๕ อย่าง ; ผ้าโพก, หัวบันได, ราว บันได. อุปุพฺโพ, นหฺ พนฺธเน, อีโส, วณฺณวิกาโร (เปลี่ยนอักษรคือ แปลง น เป็น ณ). เป็น อุณฺหิส บ้าง. ส. อุษฺณีษ.
กมฺมฎฐ าน : (นปุ.) การตั้งอยู่แห่งการงาน, ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง การงาน, การงานอันเป็นที่ตั้งแห่งการบรรลุคุณวิเศษ, กัมมัฏฐาน กรรมฐานชื่อ ของการทำงานทางใจ มี ๒ อย่าง คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ๑. วิ. กมฺมสฺส ฐานํ กมฺมฏฺฐานํ. กมฺมํ คุณวิเสสคมนสฺส ฐานํ กมฺมฏฐานํ วา. ซ้อน ฏฺ.
กุสลกมฺมปถ : (ปุ.) ทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล, กรรมอันเป็นคลองอันเป็นกุศล, ทางแห่ง การสร้างความดี, กุศลกรรมบถ ชื่อ ธรรม สำหรับสร้างความดี มี ๑o อย่าง คือ กาย สจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓.
คนฺถธุร : (นปุ.) กิจในคัมภีร์, การเล่าเรียน ความรู้ซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, การศึกษาคำ สั่งสอนซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, คันถธุระ ชื่อ ธุระอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง ของพระพุทธ ศาสนา. การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือ คำสั่งสอน แล้วทรงจำไว้กล่าวสอนไม่ให้ ผิดไปจากหลักตัดสินพระธรรมวินัย ชื่อว่า คันถธุระ. เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะพระภิกษุและสามเณร. ธุระ อีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ.
คมฺภีร : (ปุ.) คัมภีระ ชื่อเสียงดนตรีอย่างที่ ๗ ใน ๘ อย่าง เป็นเสียงลึกสุขุม. ปญฺจนฺนํ ฐานคตีนํ ทูรฏฺฐานโต ชาตตฺตา คมฺภีโร.
คาหปจฺจ : (ปุ.) คาหปัจจะ ชื่อไฟอย่างหนึ่ง, ไฟอันประกอบด้วยพ่อเจ้าเรือน วิ. คหปตินา สํยุตฺโต อคฺคิ คาหปจฺโจ. ไฟอัน ควรบูชาคือ พ่อเจ้าเรือน. คหปติ ศัพท์ ณ ปัจ. ราคาทิตัท. แปลง ปติ เป็น ปจฺจ.
โคธุม : (ปุ.) โคธุมะ ชื่อพืชจำพวกข้าวอย่างที่ ๔ ใน ๗ อย่าง, ข้าวละมาน ชื่อข้าวป่า ชนิดหนึ่งขึ้นแซมต้นข้าว ข้าวนก ก็เรียก. คุธฺ ปริเวธเน, อุโม. เป็น โคธูม ก็มี.
จกฺก : (นปุ.) วัตถุเป็นเครื่องทำซึ่งการไป วิ. กโรติ คมน มเนนาติ จกฺกํ. กรฺ กรเณ, อ. เทว๎ภาวะ ก แล้วแปลง ก เป็น จ แปลง ก ตัวธาตุเป็น กฺก ลบที่สุดธาตุ. วัตถุอันหมุน ไป, ล้อ, ล้อรถ. จกฺ ปริวตฺตเน, โก. เสนา (พล กองพล), พล, กองพล, กองทัพบก. วิ. กรียเต วิคฺคโห อเนนาติ จกฺกํ. จักรชื่อ เครื่องประหารอย่างหนึ่ง มีรูปกลม มีแฉก โค้งโดยรอบ. วิ. จกฺเกติ พยฺถติ หึสติ เอเตนาติ จกฺกํ. จกฺกฺ พฺยถเน, อ. จักร ชื่อ สิ่งที่มีรูปกลม มีฟันเฟืองโดยรอบ, สมบัติ ,คุณสมบัติความดี,ความเจริญ, เครื่องหมาย , ลักษณะ( ลายจักรที่ฝ่าเท้าของคนมีบุญ ) ,ธรรม (ธรรมจักร), ข้อสั่งสอน, คำสั่งสอน จักร(มณฑลหรือวงรอบ), อุ อาณาจักร, ทาน(ไทยธรรม), กอง, ส่วน, คำ, “จักร” ไทย ใช้เรียกชื่อเครื่องกล เช่น เครื่องจักร รถจักร เป็นต้น. ส. จกฺร.
เจติยงฺคณสมฺมชฺชนคนฺธมาลาทิกิจฺจ : (นปุ.) กิจ มีอันกวาดซึ่งลานแห่งเจดีย์และอันบูชาด้วย วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น เป็น วิเสสนบุพ. กัม. มี ฉ. ตัป., ส. ทวัน., ฉ. ตุล., ฉ. ตัป., ส. ทวัน,และฉ.ตุล.เป็นภายใน
ฉตฺต ฉตฺร : (นปุ.) กาย, ร่างกาย, ร่ม (เครื่องสำหรับกางป้องกันแดดเป็นต้น). วิ. อาตปาทึ ฉาเทตีติ ฉตฺตํ ฉตฺรํ วา. ฉทฺ สํวรเณ อปวารเณ จ, โต, ตฺรโณ. ฉัต ฉัตร ชื่อของเครื่องกกุธภัณฑ์ อย่าง ๑ ใน ๕ อย่าง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของเครื่องสูง ทำเป็นชั้นๆ มีเสาเป็นแกน ชั้นใหญ่อยู่ ข้างล่าง ชั้นถัดขึ้นไปเล็กลงตามลำดับ ทำ ชั้นบ้าง ๕ ชั้นบ้างทำเป็น ๗ ชั้น สำหรับท่านผู้มีเกียรติอย่างสูง สำหรับพระ ราชาทำเป็น ๙ ชั้น ผู้อื่นจะทำเป็น ๙ ชั้น ไม่ได้ ส. ฉตฺร.
ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
ตถาคต : (ปุ.) ท่านผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือไปตรงต่อความจริง, พระตถาคต เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง. วิ. ตโถ อาคโท เอตสฺสาติ ตถาโต (มีโวหารถูก ต้องหรือตรัสจริง) ตถ+อาคท แปลง ท เป็น ต หรือ ตถ แล อา+คมฺ+ต ปัจ. ลบ ที่สุดแห่งธาตุ. อภิฯ วิ. ยถา ปุริมกา สมฺพุทฺธา คตา ตถาคโตติ ตถาคโต. และ ชื่อว่า พระตถาคต เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ : ๑. ตถา อาคโตติ ตถาคโต. ๒. ตถา คโตติ ตถาคโต. ๓. ตถลกฺขณํ อาคโตติ ตถาคโต. ๔. ตถธมฺเมยาถาวโต อภิสมฺพุทฺโธติ คถาคโต. ๕. ตถทสฺสิตาย ตถาคโต. ๖. ตถวาทิตาย ตถาคโต. ๗. ตถาการิตาย ตถาคโต. ๘. อภิภวนฏฺเฐน ตถาคโต.
ติสรณคมนุปสฺปทา ติสรณคมนูปสมฺปทา : (อิต.)การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม, ติสรณคมนุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา คือการอุปสมบทด้วยการปกิญญาณตน ถึงไตรสรณคมน์ เป็นชื่อของวิธีอุปสมบท อย่างที่ ๒ ใน ๓ อย่าง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต วิธีอุปสมบทอย่างที่ ๓ แล้ว ทรงอนุญาตวิธีอย่างที่ ๒ นี้เป็นวิธี บรรพชาการบวชเป็นสามเณร.
นจฺจ : (นปุ.) การฟ้อน, การรำ, การฟ้อนรำ, การเต้น, การเต้นรำ, การรำแพน (ใช้ กับนกยูง). อีกอย่างหนึ่ง คำ การรำแพน เป็นชื่อของการเล่นไต่ลวดมในงานหลวง มือถือหางนกยูงสองมือ. วิ. นตนํ นจฺจํ, นตฺ คตฺตนาเม, โย. แปลง ตฺย เป็น จ แล้วแปลง จ เป็น จฺจ รูปฯ ๖๔๔. หรือแปลง ตฺย เป็น จฺจ ก็ได้ หรือ วิ. นฎนํ นจฺจํ. นฏฺ นตฺยํ, โย แปลง ฏฺ เป็น ตฺ รวมเป็น ตฺย แปลง ตฺย เป็น จฺจ.
นิจฺฉย : (ปุ.) ความหนักแน่น, ความรู้สึกหนักแน่น, ความตัดโดยไม่เหลือ, ความประสงค์อันบุคคลตัดโดยไม่เหลือ, ความแน่ใจ, ความแน่นอน, การชี้ขาด, การตัดสิน. นิปุพฺโพ, จยฺ คมเน, อ, ยุ. แปลง จ เป็น จฺฉ ฉิทิ เทฺวธากรเณ วา. แปลง อิ เป็น อ แปลง ท เป็น ย ซ้อน จฺ อีกอย่างหนึ่ง ตั้งนิบทหน้า ฉิ ธาตุใน ความตัดแปลง อิ เป็น เอ แปลง เอ เป็น อย ซ้อน จฺ หรือ จิ ธาตุในความสะสม แปลง อิ แล้วแปลง จ เป็น จฺฉ. ส. นิรฺณย.
นิจฺฉยน : (นปุ.) ความหนักแน่น, ความรู้สึกหนักแน่น, ความตัดโดยไม่เหลือ, ความประสงค์อันบุคคลตัดโดยไม่เหลือ, ความแน่ใจ, ความแน่นอน, การชี้ขาด, การตัดสิน. นิปุพฺโพ, จยฺ คมเน, อ, ยุ. แปลง จ เป็น จฺฉ ฉิทิ เทฺวธากรเณ วา. แปลง อิ เป็น อ แปลง ท เป็น ย ซ้อน จฺ อีกอย่างหนึ่ง ตั้งนิบทหน้า ฉิ ธาตุใน ความตัดแปลง อิ เป็น เอ แปลง เอ เป็น อย ซ้อน จฺ หรือ จิ ธาตุในความสะสม แปลง อิ แล้วแปลง จ เป็น จฺฉ. ส. นิรฺณย.
ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
เปม : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นที่รัก, ความเป็นแห่งความปลื้ม, ความเป็นแห่งความรัก. วิ. ปิยสฺส ภาโว เปมํ. อิม ปัจ. แปลง ปิย เป็น ป. อีกอย่างหนึ่ง วิ. ปิโน ภาโว เปมํ. อภิฯ.
ผสฺส : (ปุ.) อันกระทบ, อันถูกต้อง, การกระทบ, การถูกต้อง, ความกระทบ, ความถูกต้อง. วิ. ผุสนํ ผสฺโส. ผัสสะ อารมณ์ วิ. ผุสิยเตติ ผสฺโส ผุสิตพฺโตติ วา ผสฺโส. ผุสฺ สมฺผสฺเส, อ, ผสสฺส ผสฺโส (แปลง ผุส เป็น ผสฺส). อภิฯ. รูปฯ ๕๖๑ ลง ณ ปัจ. สัมปยุตตธรรม ประกอบด้วยสิ่งนั้น ชื่อผัสสะแต่ละอย่าง เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น.
พฺยาธิ : (ปุ.) ภาวะอันเสียดแทง, ภาวะที่เบียดเบียน, ภาวะอันบีบคั้นใจ, ภาวะอันทำลาย, ความบีบคั้น, ความเจ็บไข้, โรค, พยาธิ. วิ. วิชฺฌตีติ วฺยาธิ วา. วิธฺ วิชฺฌนาพาธเนสุ, อิ. แปลง อิ ที่ วิ เป็น ย ลง อา อาคม. อภิฯ. คำ พยาธิ ในพจนาฯ ให้อ่านว่า พะยาด และให้ความหมายว่า ได้แก่ตัวเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่เกิดในกายและเชื้อโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากผิวหนัง ผู้เขียนพจนาฯ มคธ นี้ ว่า ที่เป็นชื่อของโรคผิวหนัง อ่านเรียงพยางค์ว่า พะ-ยา-ธิ เหมาะกว่า.
ภจฺจ : (ปุ.) สัตว์อันบุคคลพึงเลี้ยง, บ่าว, ไพร่, บ่าวไพร่, ข้าใช้, คนรับใช้, คนใช้, อำมาตย์. วิ. ภรียตีติ ภจฺโจ. ภรฺ ธารณโปสเนสุ, ริจฺจปจฺจโย. ลบ รฺ, รฺ และ อิ. ภริตพฺโพติ วา ภจฺโจ. รูปฯ ๕๔๒. โมคฯ ลง ย ปัจ. แปลงเป็น จฺจ ลบ รฺ อีกอย่างหนึ่งว่ามาจาก ภต ศัพท์ แปลง ต เป็น จ ซ้อน จฺ ว่านน้ำ ก็แปล.
มาส : (ปุ. นปุ.) เดือน (ระยเวลา ๓๐ วัน). วิ. สตฺตานํ อายุ มิณนฺโต วิย สียติ อนฺตํ กโรตีติ มาโส. มา (นับ)+สา ธาตุ ในความจบ. สุด อ ปัจ. มิณนฺต มาจาก มาธาตุ นา และ อนฺต ปัจ. แปลง นา เป็น ณา รัสสะ. อีกอย่างหนึ่งเป็น มสิ ปริมาเณ, โณ.
เยภุยฺยสิกา : (อิต.) ความเห็นข้างมาก, เยภุยยสิกา ชื่อของวิธีระงับอธกรณ์อย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง คือการตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ.
สมชฺชา : (อิต.) บริษัท, ภูมิที่ประชุม, สมัชชา(การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ). วิ. สมชฺชนฺติ สํคจฺฉนฺติ มีลนฺตฺยสฺสนฺติ สมชฺชา. สํปุพโพ, อชฺ คมเน, อ, ชสฺส ทฺวิตฺตํ. อิตถิยํ อา. อภิฯ. สํปุพฺโพ, อญฺชฺ คติยํ, โณย. ลบ. ญฺสังโยค แปลง ชฺย เป็น ชฺช รูปฯ ๖๔๔. ส. สมชฺยา.
สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
สมฺมาทิฏฐ : (อิต.) ความเห็นชอบ, ความเห็นโดยชอบ. วิ. สมฺมาทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ความเห็นโดยชอบคือโดยไม่วิปริต วิ. สมฺมา อวิปริตโต ทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ปัญญาอันเห็นชอบ, ปัญญาเห็นชอบ. สมฺมาปุพฺโพ, ทิสฺ เปกฺขเณ, ติ, ติสฺส ฏฐ, สฺโลโป. สัมาทิฆฐิ แบ่งเป็น ๒ คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ อย่าง ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิอย่าง ๑ อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ อย่างธรรมดา ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดี ได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว พ่อ แม่ มีบุญคุณ เป็นต้น สัมมาทิฏฐิอย่างสูง ได้แก่ความเห็นอริยสัจ ๔.
สฬายตน : (นปุ.) เครื่องต่ออารมณ์ ๖ อย่าง, ที่เป็นต่อ ๖, ที่เป็นที่มาต่อ ๖, เครื่องติดต่อ ๖ อย่าง, อายตนะ ๖. ฉ+อายตน แปลง ฉ เป็น ส ฬฺ อาคม รูปฯ ๓๓๔.
สิโก : (ปุ.) เกียรติ, ยศ, เกียรติยศ, ชื่อเสียง, ความชื่นชม, ความสรรเสริฐ, คำสรรเสริญ, ฉันท์ (มีปฐยาวัตเป็นต้น). โศลก ชื่อคำประพันธ์สันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท เรียกว่า โศลก ๑ อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของคำสำหรับสวดสรรเสริญ. สิโลกฺ สงฺฆาต, อ.
โสสานิกงฺค : (นปุ.) องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร, โสสานิกังคะ ชื่อธุรงค์อย่าง ๑ ใน ๑๓ อย่าง ผู้สมาทานธุดงค์นี้ต้องอยู่ในป่าช้า.
เหมนฺต : (ปุ.) ฤดูน้ำค้าง, ฤดูหนาว, ฤดูหิมะ. วิ. หิมานิ เอตฺถ สนฺตีติ เหโม. โส เอว เห มนฺโต. อนฺต ปัจ. สกัด. อีกอย่างหนี่งสำเร็จรูปมาจาก หิม+อนฺต (ฤดู) เอา อิ เป็น เอ. ในฎีกาสัคคกัณฑ์ วิ. หิโนติ หหานึ คจฺฉติ สพฺพกมฺม เมตฺถาติ เหมนฺโต. หิ คติยํ, อนฺโต.
อกฺโขหิณี : (อิต.) อักโขหิณี เป็นชื่อของเสนา(ไพร่พล) อธิบายว่า ไม้ไผ่ ๖๐ มัดๆละ ๖๐ ลำอันเสนาผู้ไปอยู่ทำให้ป่นปี้ เสนาเช่นนี้ชื่อว่า อักโขหิณีอีกอย่างหนึ่งเป็น ชื่อของจำนวนเลขอย่างสูง คือเลข ๑ มีสูญ ๔๒ สูญ. เป็น อกฺโขภิณี อกฺโขภินี ก็มี.ส. อกฺเษาหิณี.
อกรณียกิจฺจ : (นปุ.) กิจอัน....ไม่พึงทำ, กิจอัน....ไม่ควรทำ, อกรณียกิจ.กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ (ทำไม่ได้) มี๔ อย่าง.ความเป็นจริงกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำทั้งสิ้น ชื่ออกรณียกิจ ที่ท่านยกขึ้นกล่าวเพียง ๔ อย่างนั้นกล่าวเฉพาะข้อที่สำคัญซึ่งล่อแหลมต่อการขาดจากความเป็นบรรพชิตและเพื่อให้เหมาะแก่เวลาเมื่ออุปสมบทเสร็จ.อกรณียกิจของคนทั่วไปได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต.
อตฺต อตฺร : (ปุ.) กาย, ร่างกาย, ตน, ตู(ตัว), ตัว, ตัวเอง, ตัวตน (ร่างกายและใจ). วิ. ทุกฺขํ อตติสตตํ คจฺฉตีติ อตฺตา (ถึงทุกข์เสมอ).อาหิโตอหํมาโน เอตฺถาติวา อตฺตา (เป็นที่ตั้งของมานะ).สุขทุกฺขํ อทติ ภกฺขติ อนุภาวตีติวาอตฺตา(เสวยสุขทุกข์).ชาติชรามรณาทีหิอาทียเต ภกฺขียเตติวา อตฺตา (อันชาติชราและมรณะเป็นต้น เคี้ยวกิน).ภววภวํธาวนฺโตชาติชรามรณาทิเภทํ อเนกวิหิตํสํสารทุกขํอตติสตตํคจฺฉติปาปุณาติอธิคจฺฉตีติวาอตฺตา.อตฺหรืออทฺธาตุตปัจ.ถ้าตั้งอทฺ ธาตุ แปลงทเป็น ต หรือ แปลง ต เป็น ตฺต ลบ ทฺศัพท์หลัง แปลง ต เป็น ตฺรลบที่สุดธาตุอตฺตศัพท์นี้ตามหลักบาลีไวยากรณ์เป็นเอก.อย่างเดียว ถ้าจะใช้เป็นพหุ. ต้องแปลซั้าสองหน หรือเขียนควบสองหนเช่น อตฺตโนอตฺตโนแต่คัมภีร์รูปสิทธิเป็นต้น แจกเป็นพหุ. ได้.แปลว่า จิตใจ สภาวะ และ กุสลธัมได้อีกอุ. อตฺตา หิกิรทุทฺทโมได้ยินว่าจิตแล(ใจแล) เป็นสภาพรักษาได้ยาก.แปลว่า หัวใจ อุ.ตถตฺตมีหัวใจเป็นอย่างนั้นมีพระทัยเป็นอย่างนั้น. แปลว่าปรมัตตะ หรือปรมาตมันตามที่ชาวอินเดียโบราณถือว่าเป็นสิ่งไม่ตาย รูปฯ๖๓๖ ลง มนฺ ปัจ. ลบ น.แปลง ม เป็น ต สูตรที่ ๖๕๖ ลง ต ตฺรณฺ ปัจ.ที่ลง ตฺรณฺปัจ.ลบที่สุดธาตุ แล้วลบณฺสฺอาตฺมนฺอาตฺมา.
อิตฺถ : (อัพ. นิบาต) อย่างนี้, ประการนี้, ประการะนี้. ด้วยประการฉะนี้, ดังนี้, นี่แหละ, อิม ศัพท์ ถํ ปัจ. อัพ๎ยตัท. แปลง อิม เป็น อิ แปลง ถํ เป็น ตฺถํ หรือ ซ้อน ตฺ ก็ได้ กัจฯ ๓๙๙ รูปฯ ๔๐๖ ตั้ง วิ. ได้ตั้งแต่ ปฐมาวิภัติ ถึง สัตมีวิภัติ.
อุทฺธจฺจ : (นปุ.) ความฟุ้งซ่าน, ความคิดพล่าน, อุทธัจจะ (ความคิดพล่านไปในอารมณ์ ต่าง ๆ อย่างเผลอตัว). วิ. อุทฺธํ หนตีติ อุทฺธโต. อุทิธํปุพฺโพ, หนฺ คติยํ, โต, หนสฺส โธ (แปลง หน เป็น ธ), อสรูปทฺวิตตํ (แปลง ธ เป็น ทฺธ และ ลบ ทฺธํ ที่บทหน้า). อุทฺธตสฺส ภาโว อุทฺธจฺจํ. ณฺย ปัจ. กัจฯ และ รูปฯ ลง ย ปัจ.
อุพฺภิท : (ปุ.) อุพภิทะ ชื่อเกลืออย่างที่ ๔ ใน ๕ อย่าง เป็นเกลือที่เกิดในนาเกลือชื่อ รุมะ ในสัมพรี- ประเทศ, เกลือ.
เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
เอกชฺฌสมาทาน : (นปุ.) การถือเอาด้วยดี เป็นอันเดียวกัน, ฯลฯ, การสมาทานรวม กัน. การสมาทานมี ๒ อย่าง คือ สมาทาน แยกเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน อย่างหนึ่ง การสมาทานรวมกัน เช่น กล่าวว่า พุทฺธปญฺญ ตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ. เรียกว่า เอกชฺฌสมาทาน อย่างหนึ่ง. ผู้สมา ทานล่วงสิกขาบทใดบทหนึ่ง เป็นอันขาด หมดทุกสิกขาบท (ศีลขาดหมดทุกข้อ).
เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา : (อิต.) การอุปสมบท ด้วยพระดำรัสว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด, เอหิ ภิกขุ อุปสัมปทา คำเรียกอุปสมบท อย่าง ที่ ๑ ใน ๓ อย่าง เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้า ทรงเอง.
กกุธภณฺฑ : (นปุ.) กกุธภัณฑ์ ชื่อของใช้อัน เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชามี ๕ อย่างคือ มหาพิชัยมงกุฎ ๑ พระแสง ขรรค์ชัยศรี ๑ ธารพระกร ๑ วาลวีชนี ๑ ฉลองพระบาท ๑.