สาวก : (วิ.) ผู้ฟัง, ผู้ฟังคำสั่งสอน.
มหาสาวก : (ปุ.) พระสาวกผู้ใหญ่ เว้นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะสองท่านนี้ท่านเป็นพระอัครสาวก. แต่คำว่าพระมหาสาวก ๘๐ ก็รวมด้วย.
ฉพฺพณฺณรสิ : (อิต.) รัศมีมีสีหก. ฉัพพัณณรังษี. รัศมี ๖ ประการนี้ คือ เขียวเหมือนดอก – อัญชัน เรียกนีละ ๑ เหลืองเหมือน หอ – ระดาล เรียก ปีตะ ๑ แดงเหมือน ตะวัน อ่อน เรียก โลหิตะ ๑ ขาวเหมือนแผ่นเงิน เรียก โอทาตะ ๑ สีหงสบาทเหมือนดอก เซ่งหรือดอกหงอนไก่ เรียกมัญเชฏฐะ ๑ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผนึก เรียก ปภัสสร รัศมีทั้ง ๖ นี้ แผ่เป็นวงกลมอยู่ เบื้องหลังพระเศียรของพระพุทธเจ้า. พระ พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้พระอัครสาวก ก็ ไม่มีรัศมีทั้ง ๖ นี้.
โมคฺคลฺลาน : (ปุ.) พระโมคคัลลานะ ชื่อพระมหาเถระผู้เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้ายของพระพุทธเจ้า.
ตถาคตสาวก : ป. สาวกของพระตถาคต
ติตฺถิยสาวก : ป. สาวกเดียรถีย์, ศิษย์นักบวชนอกศาสนา
อริยสาวก : (ปุ.) สาวกผู้ประเสริฐ, สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้เป็นอริยะ, พระอริยสาวก.
อสีติมหาสาวก : (ปุ.) พระสาวกผู้ใหญ่แปดสิบ.
อาชีวกสาวก : ป. สาวกของพวกอาชีวก
อนุสฺสาวก : ค. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา
อนุสาวก : ป. ผู้ประกาศ, ผู้แจ้งให้ทราบ
ชินปุตฺต : ป. ชินบุตร, สาวกของพระพุทธเจ้า
ถุลฺลกุมาริกา : (อิต.) สาวเทื้อ, สาวแก่, สาวทึนทึก. สาวทิมทึก, หญิงทึมทึก (หญิงที่ มีอายุมากยังไม่แต่งงาน).
ถูปารหปุคคล : (ปุ.) บุคคลผู้ควรแก่สถูป, บุคคล ที่ควรนำอัฐิบรรจุสถูป. บุคคลที่ ควรนำอัฐิมาบรรจุสถูป มี ๔ ประเภท คือ พระพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ พระอรหันตสาวก ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑.
เถรวาท : (ปุ.) เถรวาทชื่อนิกายของพระพุทธ- ศาสนาฝ่ายใต้ซึ่งถือพระธรรมวินัยตามมติ ของพระเถรพุทธสาวกที่ได้ทำสังคายนาไว้ คือไม่ยอมเปลี่ยนหรือถอนพระวินัย แม้ แต่ข้อเล็กน้อย.
ทิฏฺฐปท : ค. (อริยสาวก) ผู้มีบทอันตนเห็นแล้ว; พระโสดาบัน
พุทฺธปุตฺต : ป. บุตรของพระพุทธเจ้า; อริยสาวก
สากิยปุตฺต : (ปุ.) บุตรของเจ้าศากยะ, สากิยบุตร(สาวกของพระพุทธเจ้า)”
อคฺคมหาราช : (ปุ.) พระราชาผู้ใหญ่ผู้เลิศ, พระอัครมหาราช.
อคฺคมหาเสนาปติ : (ปุ.) มหาเสนาบดีผู้เลิศ, อัครมหาเสนาบดี (ผู้เป็นหัวหน้าแห่งเสนาบดี).
อคฺคราช : (ปุ.) พระราชาผู้เลิศ, พระอัครราชา.
อคฺคราชฑูต : (ปุ.) อัครราชฑูต ชื่อผู้แทนพระเจ้าแผ่นดินผู้เลิศ ซึ่งประจำชั่วคราวหรือ ประจำอยู่ในสำนักแห่งรัฐบาลอื่น มีฐานะสูงกว่าราชฑูต.
อริยสาวิกา : อิต. อริยสาวิกา, สาวกที่เป็นหญิงของพระอริยะ
อครุ : (ปุ.) ความไม่หนักใจ, ความเบาใจ.
อครุ อคลุ อคฬุ : (นปุ.) ความไม่หนักใจ, ความเบาใจ.
อคฺค : (วิ.) มาก, ยอด, ยิ่ง, ดียิ่ง, เลิศ, ล้ำเลิศ, ประเสริฐ, วิเศษ, เป็นประธาน, ก่อน, แรก, หัวปี (ทีแรก เกิดก่อน), เอก, สูง, สูงสุด.วิ.อชติคจฺฉติเสฏฐภาวนฺติอคฺโค. อชฺ คมเน, อ, ชสฺส โค. คปจฺจโย วา. ส. อคฺร.
อคฺคชายา : (อิต.) ภริยาผู้ประเสริฐ, อัครชายา(หญิงผู้ดำรงตำแหน่งมเหสี). ส. อคฺรชายา.