ธาตุ : (วิ.) ผู้ทรงไว้. ธา ธารเณ, ดุ. ผู้ตั้งไว้, ผู้ดำรงอยู่. ฐา คตินิวุตฺติยํ, ตุ. แปลง ฐา เป็น ธา.
อากาสธาตุ : อิต. อากาศธาตุ, ที่ว่าง, สภาพที่ว่างเปล่า
ธาตุก : ค. มีธาตุ, ประกอบด้วยธาตุ
ธาตุกถา : อิต. ธาตุกถา, อธิบายเกี่ยวกับเรื่องธาตุ, ชื่อคัมภีร์อภิธรรมเล่มที่สาม
ธาตุกุสล : ค. ผู้ฉลาดหลักแหลมในเรื่องธาตุ
ธาตุโขภ : ป. ความกำเริบแห่งธาตุ
ธาตุฆร : นป. ที่บรรจุพระธาตุ, เรือนพระธาตุ
ธาตุเจติย : (นปุ.) เจดีย์อันบุคคลบรรจุพระ ธาตุ, เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
ธาตุนานตฺต : นป. ความเป็นต่างๆ กันแห่งธรรมชาติหรือธาตุ
ธาตุวิภาค : ป. การแยกธาตุ, การจำแนกธาตุ; การแจกหรือแบ่งพระธาตุ
ธาตุสณฺณา : (อิต.) ความสำคัญว่าธาตุ, ความรู้ว่าธาตุ, ความหมายรู้ว่าธาตุ, ความกำหนดว่าธาตุ.
อากาส : (ปุ.) ช่องว่าง, ช่องว่างมีในกาย, กลางหาว, อากาศ, ฟ้า (ไถไม่ได้ ไม่อาจไถ เขียนไม่ได้), วิ. นกสฺสตีติอากาโส.กสิตุวิเลขิตุนสกฺโกตีติอตฺโถ.ภูสํกาสนฺเตทิปฺ-ปนฺเตปทตฺถาเอเตนาติวาอากาโส.อา-ปุพฺโพ, กสฺวิเลขเน, โณ.ส.อากาศ.
ธาตุกุจฺจิ : อิต. มดลูก
ธาตุปล : (นปุ.) ดินสอพอง.
มนฺธาตุ : (ปุ.) มันธาตุ ชื่อของพระราชา, พระราชาพระนามว่ามันธาตุ, พระเจ้ามันธาตุราช ชื่อของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งสามารถบันดานให้ฝนตกเป็น กหาปณะ มํ+ธาตุ (ผู้ทรงไว้ซึ่งสิริ).
กามธาตุ : อิต. กามธาตุ, ธาตุแห่งกาม, โลกที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการเสพกาม
กายธาตุ : อิต. กายธาตุ, หมวดกาย, ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายคือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ
เกสธาตุ : อิต. ธาตุคือพระเกศ, พระเกศธาตุ (ของพระพุทธเจ้า)
ขนฺธธาตุอายตนาทิเภท : (วิ.) อันต่างด้วย ธรรมมีขันธ์และธาตุและอายตนะเป็นต้น. เป็น ต.ตัป. มี ส. ทวัน. และ ฉ. ตลุ เป็นท้อง.
คคน : (นปุ.) ที่เป็นที่ไปแห่งนก, กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า. วิ. คจฺฉานฺเตตฺถ วิหงฺคมาทโยติ คคนํ. คมฺ คติยํ, ยุ, มสฺส โค. เมฆ พระอาทิตย์? เป็น คคณ บ้าง.
คนฺธธาตุ : อิต. คันธธาตุ, ของหอม
ฆานธาตุ : อิต. ฆานธาตุ, ธาตุแห่งการรับรู้กลิ่น
จกฺขุธาตุ : (ปุ. นปุ.) ธาตุคือตา. หมายเอาแววตา ประสาทตา.
จตุธาตุววฏฐาน : (นปุ.) การกำหนดซึ่งธาตุสี่, ความกำหนดธาตุสี่.
ตาราปถ : (ปุ.) ทางแห่งดวงดาว, ทางดาว, กลาง หาว, อากาศ, ท้องฟ้า. วิ. ตารา วุจฺจนฺติ นกฺขตฺตาทโย, ตาสํ ปโถติ ตาราปโถ.
เตชธาตุ : อิต. ธาตุไฟ
เตธาตุก : นป. (โลก) อันประกอบด้วยธาตุสามอย่าง
ทิว : (ปุ.) ทิวะ ชื่อสวรรค์ชื่อที่ ๒ ใน ๕ ชื่อ, สวรรค์, เทวโลก, ฟ้า, ชั้นฟ้า, อากาศ, วัน. ทิวุ กีฬายํ, อ. ส. ทิว, ทิวนฺ.
ธูก : (ปุ.) ลม, อากาศ, ธู กมฺปเน, กปจฺจโย, ส. ธูก.
นภ : (นปุ.) หาว (ที่แจ้งท้องฟ้า), กลางหาว, อากาศ, ฟ้า, ท้องฟ้า, โพยม, โพยมัน, โพยมาน (ท้องฟ้า), นภา. วิ. น ภวติ เอตฺถกิญฺจิ ปิ วตฺถูติ นภํ. นตฺถิ ภูมิ เอตฺถาติ วา นภํ. น ภายนฺติ ปกขิโน เอตฺถาติ วา นภํ. เป็น ปุ. ก็มี. ส.นภ, โวยมนฺ.
นิพฺพานธาตุ : อิต. นิพพานธาตุ, ธาตุแห่งความสงบเย็น
นิโรธธาตุ : อิต. นิโรธธาตุ, ความดับ
ปฐวีธาตุ : อิต. ปฐวีธาตุ, ธาติดิน, ธาตุที่เข้มแข็ง, ธาตุที่กินเนื้อที่, ของแข็ง
มโนธาตุ : อิต. พลังแห่งใจ, มโนธาตุ
สุรปถ : (ปุ.) คลองแห่งพระอาทิตย์, อากาศ, กลางหาว. วิ. สุรานํ ปโถ สุรปโถ.
อนฺตลิกฺข : (ปุ.) อากาศเป็นที่เห็นซึ่งรูปในระ-หว่าง, อากาศ, กลางหาว, ประเทศมีรูปอันใคร ๆ พึงเห็นในระหว่าง.ส. อนฺตริกฺษ.
อมตธาตุ : อิต. พระนิพพานธาตุ, ธาตุแห่งพระนิพพาน
อรูปธาตุ : อิต. อรูปธาตุ, สภาพที่ไม่มีตัวตน
อสงฺขตธาตุ : (นปุ.) อสังขตธาตุชื่อของพระนิพพาน, พระนิพพาน.
อาโปธาตุ : (ปุ. นปุ.) ธาตุน้ำ.เมื่อลบวิภัติแล้วเอาอเป็นโอ.รูปฯ ๔๘.
คิริธาตุ : ป. พื้นดินสีแดง, หินทราย
ทาฐาธาตุ : อิต. พระเขี้ยวแก้ว (ของพระพุทธเจ้า)
ธมฺมธาตุ : (ปุ.) ชนผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, พระ ธรรมธาดา หมายเอาพระบรมศาสดา.
ธาต : ค. อันเขาเลี้ยงดูแล้ว
ปฏิสนฺธาตุ : ป. เชื่อมสัมพันธ์, ผู้สมาน, ผู้ไกล่เกลี่ย
พธิรธาตุก : ค. ผู้หูหนวกมาแต่กำเนิด
สนฺธาตุ : ป. ผู้คืนดีกัน
กกุธ : (ปุ.) ไม้รกฟ้าขาว, ไม้กุ่ม. วิ. กํ วาตํ กุฏติ นิวาเรตีติ กกุโธ. เอกักขรโกสฎีกา. อภิฯ และ เวสฯ เป็น กกฺ ธาตุ อุธ ปัจ. แปลว่า ไม้รังไก่ ก็มี.
กณฺณชปน : (นปุ.) การพูดที่หู, การกระซิบที่หู (การทำให้เขาแตกกัน). กณฺณ+ชปฺ ธาตุ ยุ ปัจ.
กปฺปิต : (วิ.) มีการตกแต่งเกิดแล้ว วิ. กปฺปา กปฺปนา สญฺชาตา ยสฺมึ โส กปฺปิโต. ชาตตฺเถ อิโต. อันแต่งแล้ว. กปฺปฺ ธาตุ ต ปัจ. อิ อาคม.