ทุฏฺฐุลลาปตฺติ : (อิต.) อาบัติชั่วหยาบ, อาบัติ ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก ๔ ข้อ และ สังฆาทิเสส ๑๓.
เทเสติ : ก. แสดง, ชี้แจง, แนะนำ, สั่งสอน, เทศน์; แสดงหรือปลง (อาบัติ)
อจิตฺต : (วิ.) ไม่มีจิตเจือ, ไม่มีเจตนา, อจิตตกะคือโทษ(อาบัติ)ที่เกิด(ต้อง)โดยสมุฏฐานไม่มีเจตนา คือไม่คิดไว้ก่อน.
กปฺปิยโวหาร : (ปุ.) ถ้อยคำอันควร, ถ้อยคำ อันสมควร, กัปปิยโวหาร คือถ้อยคำที่ควรใช้พูด ถ้อยคำที่ภิกษุใช้พูดให้เหมาะ สมแก่ภาวะไม่ผิดพระวินัย ในเมื่อต้องการให้ผู้อื่น (มิใช่บรรพชิต) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นพูดว่า หญ้าข้างกุฏิรกเด็กหรือคนวัด ถอนหรือดายหญ้าให้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติใน เพราะพรากของเขียว ดังนี้เป็นต้น.
ครุกาปตฺติ : (อิต.) อาบัติหนัก, ครุกาบัติ ได้แก่ ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓.
เฉทนกปาจิตฺติยา : (อิต.) เฉทนกปาจิตตีย์ ชื่ออาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องให้ตัดของที่ทำ เกินกำหนด (ประมาณ) ออกเสียก่อนจึง แสดงอาบัติตก คือจึงจะพ้นจากอาบัติ.
ตชฺชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ ภิกษุผู้อันสงฆ์จะต้องคุกคาม, ตัชนียกรรม เป็นชื่อการลงโทษอย่างหนึ่งตามพระวินัย ซึ่งสงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีความผิด ๓ ประการ คือ เป็นผู้ประพฤติไม่เหมาะสม คือ ๑ . ๑ มักทำการบาดหมาง ทะเลาะ – วิวาท ฯลฯ ๑ . ๒ เป็นพาลมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ . ๓ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่ สมควร เป็นผู้มีศีลวิบัติ อาจารวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ และ ๓. กล่าวติเตียน พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ลงตัชนิยกรรมได้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัติติจตุตถกรรมวาจา ไตร. ๖/๓
ตสฺสปาปิยสิกา ตสฺสปาปิยฺยสิกา : (อิต.) ตัสสปาปิยสิกา ชื่อวิธีระงับอาบัติอย่าง ๑ ใน ๗ อย่าง
ทุกฺกฎ : (นปุ.) กรรมอัน...ทำชั่วแล้ว, กรรม ชั่ว, การทำเสีย, ความชั่ว, บาป, ทุกกฎ ชื่ออาบัติกองที่ ๖ เป็นอาบัติเบา แม้จะ เป็นอาบัติเบา ภิกษุ-สามเณรล่วงบางข้อ ก็ทำให้ศรัทธาของพระพุทธศาสนิกชนตกไปได้ เช่น นุ่งห่มไม่เรียบร้อย พูดจาไม่สำรวม เป็นต้น พึงระวัง. ศัพท์เป็น ทุกฺกต แปลง ต เป็น ฏ.
ทุกฺกฏ : นป. การกระทำผิด, ความชั่ว, ชื่ออาบัติเบาชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าอาบัติทุกกฎ
ทุฏฺฐุลฺลาปตฺติ : อิต. อาบัติชั่วหยาบ, อาบัติหนัก
ทุพภาสิตาปตฺติ : (อิต.) อาบัติทุพภาษสิต. ต้องอาบัตินี้ เพราะพูดล้อเล่น เย้าเล่น กับ อุปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน กระทบวัตถุมีชาติเป็นต้น พูดเจาะตัวหรือเปรยก็ตาม.
เทสนาคามินี : (อิต.) เทสนาคามินี ชื่ออาบัติ, อาบัติเป็นเทสนาคามินี คืออาบัติที่ภิกษุ ต้องเข้าแล้ว จะพ้นจากอาบัตินั้นได้โดย การแสดง (ปลงอาบัติ) ได้แก่อาบัติ ถุลสัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิต.
ปาฏิเทสนีย : ค. ชื่ออาบัติชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุ มี ๔ สิกขาบท
ปาฏิโมกฺข : ป., นป. พระปาฏิโมกข์, ธรรมเป็นที่อาศัยให้พ้นจากอาบัติ; พระคัมภีร์รวบรวมพระวินัยที่เป็นหลักของภิกษุไว้และต้องสวดในที่ชุมนุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเพื่อทบทวนข้อปฏิบัติและสำรวจตนเองว่าได้ปฏิบัติตนเองตามพุทธบัญญัติหรือไม่
ปาราชิก : ๑. ป. อาบัติที่ทำให้ผู้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ;
๒. ค. ผู้แพ้, ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทสำคัญของภิกษุ
ปาราชิกาปตฺติ : อิต. อาบัติชื่อปาราชิก
ปาริวาสิก : ป. ภิกษุผู้อยู่บริวาสเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
ยาวตติยก : (นปุ.) ยาวตติยกะ เป็นคำเรียกอาบัติ สังฆาพิเศษ ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๑๐-๑๓ เพราะต้องอาบัติต่อเมื่อสงฆ์ประกาศห้ามครบ ๓ ครั้งแล้ว.
สภาคาปตฺติ : (อิต.) อาบัติเหมือนกัน, สภาคาบัติ ชื่ออาบัติที่ภิกษุต้องเหมือนกัน เช่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล ท่านห้ามไม่ให้แสดงแก่กันและกัน ต้องแสดงแก่ภิกษุที่ต้องอาบัติไม่เหมือนกัน ถ้าไม่สามารถหาภิกษุเช่นนั้นได้ จะแสดงก็ได้ แต่ท่านปรับอาบัติทุกกฎ ทั้งผู้แสดงและผู้รับแสดง.
สมี : (อิต.) สมี (สะหมี) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ในพิธีพลีกูณฑ์. วิ. คณฺฑํ สเมตีติ สมี. สมุ อุปสเม. อี อภฯ ลง อิ ปัจ. คำ สมี(สะหมี) ในภาษาไทยใช้เรียกภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกไม่ใช้คำที่มาจากภาษามคธ.
สหเสยฺยาปตฺติ : (อิต.) อาบัติในเพราะอันนอนรวมกัน, อาบัติในเพราะอันนอนร่วมกันกับอนุปสัมมัน.
อชฺฌาปชฺชติ : ก. ต้องโทษ, ต้องอาบัติ
อนฺติมวตฺถุ : (นปุ.) วัตถุอันมีในที่สุด, อันติมวัตถุชื่อของการต้องอาบัติมีโทษถึงที่สุดคือการต้องอาบัติปาราชิกซึ่งขาดจากความเป็นภิกษุ.
อนาณตฺติก : (วิ.) ไม่ต้องเพราะสั่ง, ไม่ต้องเพราะบังคับ.สิกขาบทใดของบรรพชิตหรือของผู้ครองเรือนใช้ให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ หรือศีลไม่ขาด, ทำเองจึงต้องอาบัติหรือศีลจึงขาด สิกขาบทนั้นเป็นอณาถณัต-ติกะ.เช่นสิกขาบทเกี่ยวกับการประพฤติผิดในกาม.
อนาปตฺติ : (นปุ.) ความไม่มีแห่งอาบัติวิ. อาปตฺติยาอภาโวอนาปตฺติ.
อนุวาทาธิกรณ : (นปุ.) อธิกรณ์อันเกิดจากการกล่าวหา, เรื่องที่ต้องระงับอักเกิดจากการกล่าวหา, อนุวาทาธิกรณ์(การโจทกันด้วยอาบัตินั้นๆ).
อพฺภาน : (นปุ.) การเรียกเข้า, การชักกลับมา, การรับรอง, ความรับรอง, อัพภาน.การสวดเมื่อภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งได้ประพฤติมานัสครบ๖ราตรีหรือประพฤติมานัสและอยู่ปริวาสแล้วเพื่อให้กลับเป็นผู้บริสุทธิ์เรียกว่าสวดอัพภาน.
อพฺเภติ : ก. อัพภาน, เรียกกลับมา, เรียกภิกษุผู้ต้องอาบัติอยู่ปริวาสแล้วให้กลับเข้ามาเป็นผู้มีความบริสุทธิ์
อมูฬฺหวินย : (ปุ.) อมูฬหวินัยชื่อวิธีระงับอธิ-กรณ์อย่างหนึ่งในเจ็ดอย่างถ้ามีภิกษุเป็นบ้าเมื่อหายบ้าแล้วสงฆ์จะสวดประกาศมิให้ใครโจทท่านด้วยอาบัติที่ท่านทำขณะเป็นบ้าเรียกว่าอมูฬหวินัย.
อาปตฺตาธิกรณ : (นปุ.) เรื่องที่ต้องระงับอันเกิดจากการต้องอาบัติ, การต้องอาบัติ, การต้องอาบัติทั้งปวง, เรื่องของอาบัติ.
อาปตฺติ : (อิต.) โทษชาติที่ภิกษุต้อง, โทษชาติที่ภิกษุล่วงละเมิด, โทษที่เกิดเพราะความละเมิดพระวินัย, ความถึง, ความต้อง, อาบัติคือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม (จากนวโกวาท)กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตนอยู่ (วินัยมุขหน้า๑๑) การฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามและไม่ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต(เฉลย สนามหลวง).ส.อาปตฺติ.
อาปตฺติก : ค. ผู้ต้องอาบัติ, ผู้ต้องโทษ
อุกฺเขปนิยกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำ แก่ภิกษุผู้อันสงฆ์พึงยกขึ้น, การลงโทษ โดยยกเสียจากหมู่. อุกฺเขปนิยกรรม เป็น กรรมที่สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ และไม่ทำคืน (ไม่ ปลงอาบัติหรืออยู่กรรม) ด้วยการลงโทษ ยกเสียจากหมู่ คือ ตัดเสียชั่วคราว เป็น สังฆกรรมอันสงฆ์พึงทำด้วยวิธีญัติจตุตถ- กรรมวาจา. ไตร ๖/๑๓๔.
อุตฺตริมนุสฺสธมฺม : (ปุ.) ธรรมของมนุษย์ ผู้ยิ่ง, ฯลฯ, ธรรมอันยิ่งของมนุษย์, ฯลฯ, คุณอันยิ่งของมนุษย์, ฯลฯ, อุตตริมนุสธัม. อุตตริมนุษยธรรม คือคุณธรรม (ความดี ผล) อันเกิดจากการปฏิบัติสมถะ (สมาธิ) ถึงขั้นจิตเป็นอัปปนา หรือจากการปฏิบัติ วิปัสสนาถึงขั้นละกิเลสเป็นสมุจเฉท มีคำ เรียกคุณธรรมนั้น ๆ อีกหลายคำ พระพุทธ เจ้าทรงห้ามภิกษุอวด ปรับอาบัติขั้นสูงถึง ปาราชิก วิ. อุตฺตริมนุสฺสานํ ญายินญฺเจว อริยานญฺจ ธมฺโม อุตฺตริ มนุสฺสธมฺโม.
อุตฺตานีกโรติ : ก. ทำให้แจ้ง, ทำให้ตื้น, ทำให้ปรากฏ; แสดงอาบัติ