อาวิญฺชติ : ก. กวน, คน; เวียน, ชัก, ดึง, แกว่ง
อาวิญฺชนก : ค. ซึ่งเหวี่ยงไปรอบๆ, เวียน, ชัก, ซึ่งหลวม
กปฺปิก : ค. ผู้เป็นไปในกัลป์, ผู้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ
กามาวฏฏ : นป. กามวัฏ, วนคือกาม, ความวนเวียนอยู่ในกาม
กิเลสวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) วนคือกิเลส, กิเลสวัฏ. กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์วนคือท่องเที่ยวหรือ เวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ เพราะเมื่อ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรมเมื่อทำ กรรมแล้วจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เมื่อเสวยผลของกรรมอยู่ กิเลสก็เกิดขึ้น อีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหัตต- มรรคจะตัดให้ขาดลง. ธรรมปริจเฉทที่ ๒.
จงฺกมติ : ก. จงกรม, เดินเวียนรอบไปมา
จตุปริวฏฏ : อ. โดยเวียนรอบสี่, (รู้เบญจขันธ์ตามความเป็นจริง) เป็นสี่ขั้น
ชาติสสาร : ป. การเวียนว่ายตายเกิด
ทกฺขิณาวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) การเวียนไปทางขวา, ความเวียนไปทางขวา, การเวียนขวา, ทักษิณาวัฏ , ทักษิณาวรรต. การเดิน เวียนขวา เป็นการแสดงความเคารพ อย่างหนึ่ง. เวียนขวาหรือการเวียนขวา นั้น คือสิ่งที่เราจะเวียนอยู่ขวามือของเรา. ส. ทกฺษิณาวรฺต.
ทกฺขิณาวฏฺฏ, วตฺต, - วตฺตก : ค. ซึ่งเวียนขวา, ซึ่งวนไปทางขวา
ทพฺพิโหม : นป. การบูชาไฟโดยใช้ทัพพีตักของเทลงในไฟ, พิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
ทารุมณฺฑลิก : นป. วงเวียนซึ่งทำด้วยไม้, วงกลมไม้
ธูมกฏฉฺฉุ : (ปุ.) ทัพพีตักควัน, แว่นเวียนเทียน.
ปทกฺขิณา : อิต. ประทักษิณ, การเวียนขวา, การเดินเวียนรอบโดยหันเบื้องขวาเข้าหาปูชนียบุคคลหรือปูชนียวัตถุเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ
ปริหารปถ : ป. ถนนวงเวียน, ถนนวงกลม
มชฺฌิมสสาร : (ปุ.) สังสาร (การเวียนตายเวียนเกิด) อันมีในท่ามกลาง ได้แก่ การท่องเที่ยวไปในกามสุคติภูมิ ๗ (มนุษย์และสวรรค์ ๖ ชั้น) พระอนา -คามีตัดมัชฌิมสังสารได้ขาด.
มณฺฑลกรณี : (อิต.) วงเวียน.
มุจฺฉา : (อิต.) ความวิงเวียน, ความสยบ (ฟุบลง) , ความสลบ (แน่นิ่ง หมดความรู้สึก), การวิงเวียน, การเป็นลม. มุจฺฉฺ โมหสมุสฺสเยสุ, อ, อิตฺถิยํ อา.
สสาร : ป. การท่องเที่ยว, การเวียนว่ายตายเกิด
อนุปริคจฺฉติ : ก. เดินไปมารอบๆ , เดินวนเวียน
อนุปริยาย : ค. อ้อม, วนเวียนไปมา
อนุปริสกฺกติ : ก. เวียนรอบๆ, ตะเกียกตะกาย, พยายาม
อนุปริสกฺกน : นป. การเวียนรอบ, การตะเกียกตะกาย; ความพยายาม
อามณฺฑลิย, - ลิก : นป. การวนเวียน, การปั่นป่วน, การรวนเร
อาวฏฺฏ : (วิ.) กลม, วน, วนเวียน (ห้วงน้ำที่ หมุนวน). วิ. อาวฏฺฏนฺติ ชลานิ อเตฺรติ อาวฏฺโฏ. อาปุพฺโพ, วฏฺฏฺ วตฺตฺ วา วตุ วา วตฺตเน, อ.
อาวฏฺฏน : นป. ความวนเวียน, ความงงงวย, เครื่องล่อ, การถูกมารดลใจ
อาวิชฺฌติ : ก. หมุนเวียน, วนเวียน; แทง, เจาะ, ไช, ดึง, ลาก
อาเวเฐติ : ก. บิด, ผูก, มัด, ห่อ, เวียนรอบ
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
อุตฺตราวฏฺฏ : (ปุ. นปุ.) การเดินเวียนซ้าย คือ การเดินเวียนโดยมือซ้ายอยู่ทาง (ด้าน) สิ่งที่เรา เวียน, อุตราวัฏ. ส. อุตฺตรวฺฤตฺต.
อุปธิก : ค. มีอุปธิ, มีเครื่องผูกพัน, มีกิเลสเป็นเหตุให้เวียนเกิด
โอฆสสาร : (ปุ.) การท่องเที่ยวไปในห้วงน้ำ คือกิเลส, โอฆสงสาร (การเวียนเกิดเวียน ตายในโลก).