เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
อก : (อัพ. นิบาต) ไม่, ไม่ควร, อย่า.ปฏิเสธ นตฺถนิปาต.ส.ใช้เป็นอุปสรรคและอุทานแสดงความสงสาร.
เอกจฺจ : (วิ.) หนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, บางคน, บางพวก, บางอย่าง, วังเวง, ไม่มีเพื่อน, โดดเดี่ยว, ฯลฯ. เอโก เอว เอกจฺโจ. เอก ศัพท์ จฺจ ปัจ.
เอกส : (ปุ.) บ่าข้างหนึ่ง. เอก+อสํ.
เอกาทส เอการส : (ไตรลิงค์) สิบเอ็ด. วิ. เอกญฺจ ทสา จาติ เอกาทสา. อ. ทวัน. สิบยิ่งด้วยหนึ่ง วิ. เอเกน อธิกา ทสาติ เอกาทส. ต.ตัป. ศัพท์หลัง แปลง ท เป็น ร.ส. เอกาทศนุ
เอกาสี : (ปุ.) บุคคลผู้บริโภคผู้เดียว, คนมีปกติ บริโภคผู้เดียว, คนบริโภคผู้เดียวเป็นปกติ, คนกินคนเดียว. เอก+อส+ณีปัจ.
อกรณียกิจฺจ : (นปุ.) กิจอัน....ไม่พึงทำ, กิจอัน....ไม่ควรทำ, อกรณียกิจ.กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ (ทำไม่ได้) มี๔ อย่าง.ความเป็นจริงกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำทั้งสิ้น ชื่ออกรณียกิจ ที่ท่านยกขึ้นกล่าวเพียง ๔ อย่างนั้นกล่าวเฉพาะข้อที่สำคัญซึ่งล่อแหลมต่อการขาดจากความเป็นบรรพชิตและเพื่อให้เหมาะแก่เวลาเมื่ออุปสมบทเสร็จ.อกรณียกิจของคนทั่วไปได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต.
เอกจตฺตาลีส เอกจตฺตาฬีส : (อิต.) ยี่สิบยิ่ง ด้วยหนึ่ง, ยี่สิบเอ็ด. วิ. เอเกนาธิกา จตฺตาลีสํ เอกจตฺตาลีสํ. ศัพท์หลัง แปลง ล เป็น ฬ.
เอกตฺถ เอกตฺร : (อัพ. นิบาต) ใน...เดียว. ส. เอกตฺร.
เอกโตปญฺญ ตฺติ : (อิต.) เอกโตบัญญัติ (บัญญัติ สำหรับภิกษุหรือภิกษุณี เพียงฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง).
เอกเทส : (ปุ.) ภาคหนึ่ง, ส่วนหนึ่ง, เอกเทส เอกเทศ (เฉพาะอย่าง). ส. เอกเทศ.
เอกธา : (อัพ. นิบาต) โดยส่วนเดียว. ส. เอกธา.
เอกปทิก เอกปที : (ปุ.) ทางมีปกติเดินได้คน เดียว, ทางแคบ, ทางน้อย. วิ. คจฺฉตํ เอโก อสหาโย ปาโท ยสฺสํ น นิสินฺนสฺเสว ยมโกติ เอกปที. อี ปัจ. ศัพท์ต้นรัสสะ อี ก สกัด.
เอกพิชี : (ปุ.) เอกพิชี ชื่อของพระโสดาบัน ๑ ใน ๓ ชื่อ, พระโสดาบันผู้มีพืชคือภพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียว ก็ได้สำเร็จเป็นพระ อรหันต์ และนิพพานในภพนั้น.
เอกภริยา : (อิต.) ภริยาเอก, ภริยาหลวง, เมีย หลวง.
เอกภาว : (ปุ.) ความเป็นหนึ่ง, ความเป็นอัน เดียวกัน. เอกภาว ไทยนำมาใช้ว่าเอกภาพ (แปลง ว เป็น พ) และออกเสียงว่า เอกกะภาพ ในความหมายว่า ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ความสอดคล้อง กลมกลืนกัน.
เอกโยชนทฺวิโยชน : (นปุ.) โยชน์หนึ่งหรือ โยชน์สอง, หนึ่งโยชน์หรือสองโยชน์. วิ. เอกโยชนํ วา ทฺวิโยชนํ วา เอกโยชนทฺวิ โยชนานิ. ปฐมาพหุพ. หรือ วิกัปปสมาส รูปฯ ๓๔๑.
เอกวจน : (นปุ.) คำกล่าวถึงสิ่งเดียว, การกล่าวถึงสิ่งสิ่งเดียว, คำที่กล่าวถึงสิ่งสิ่ง เดียว, เอกวจนะ.
เอกาคาริก : (ปุ.) โจร, ขโมย. วิ. เอกํ อสหายํ อคารํ, ตํปโยชนํ เอกาคาริโก. อิก ปัจ.
อกโขภ : ค. ซึ่งไม่กระเพื่อม, ไม่หวั่นไหว
อกติ : ก. คด, งอ, บิดไปบิดมา
อกนิฏฺฐ : (วิ.) ไม่น้อย, สูงสุด, สูงที่สุด, ใหญ่ที่สุด.
อกนิฏฺฐกาอกนิฏฺฐเทวตา : (อิต.) เทวดาชั้นอกนิษฐ์.
อกรณ : (นปุ.) การไม่ทำ, การงดเว้น, ความไม่ทำ. ความงดเว้น, นปุพฺโพ, กร. กรเณ, ยุ. น บทหน้า กรฺ ธาตุในความทำ ยุ ปัจ.
อกรมฺหา, อกรึ, อกริตฺถ : ก.ได้กระทำแล้ว
อกริสฺส : ก. จักได้ทำแล้ว
อกโรนฺต : กิต., ค. ไม่ทำอยู่, เมื่อไม่ทำ
อกลุ : (นปุ.?) กำยาน, กฤษณา, สารขาว.
เอกคฺค : (วิ.) มีอารมณ์เดียว (อคฺค คือ อารมณ์), มีอารมณ์เดียวเลิศ, มีอารมณ์ เลิศเป็นหนึ่ง, มีอารมณ์เป็นหนึ่ง, มี อารมณ์แน่วแน่, ไม่วุ่นวาย.
เอกคฺคตา : (อิต.) ความเป็นแห่งจิตมีอารมณ์ เดียว, ฯลฯ, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีจิต แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว, ความที่แห่งจิต เป็นจิตมีอารมณ์เดียว (ไม่ฟุ้งซ่าน), ฯลฯ, สมาธิ, อัปปนาสมาธิ.
เอกคฺคตาจิตฺต : (นปุ.) จิตมีอารมณ์เดียว, ฯลฯ, เอกัคคตาจิต (จิตแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ เดียว จิตเป็นอัปปนา).
เอกจฺจิก : ค. ผู้เดียว, สิ่งเดียว
เอกจฺจิย : (วิ.) ชั้นเดียว, มีชั้นเดียว.
เอกจร : (วิ.) ผู้ผู้เดียวเที่ยวไป, เที่ยวไปผู้เดียว, เที่ยวไปคนเดียว.
เอกฉนฺท : (วิ.) มีความพอใจอย่างเดียวกัน, มี ความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน, มีความเห็น เป็นอย่างเดียวกัน.
เอกตฺต : (นปุ.) ความเป็นแห่งธรรมหมวด เดียว, ความเป็นแห่งธรรมหมวดเดียวกัน, ความเป็นธรรมหมวดเดียวกัน.
เอกตฺถ : (วิ.) มีอรรถอย่างเดียว, ฯลฯ. ส. เอการฺถ.
เอกโต : (อัพ. นิบาต) โดยส่วนเดียว, โดยส่วน- เดียวกัน, โดยความเป็นอันเดียวกัน, โดย ข้างเดียว, ข้างเดียว, รวมกัน, ร่วมกัน.
เอกทตฺถุ : ก. วิ. ครั้งหนึ่ง, โดยเฉพาะ
เอกทา : (อัพ. นิบาต) บางครั้ง, บางที, บาง คราว, ในกาลหนึ่ง, ในกาลบางครั้ง, ใน กาลบางคราว, ในกาลครั้งหนึ่ง.
เอกทิวส : (อัพ. นิบาต) ในวันหนึ่ง.
เอกนิโรธ : (วิ.) ดับเป็นหนึ่ง, ดับพร้อมกัน.
เอกปฏฏ : ค. มีผ้าข้างเดียว, มีหนังปะด้านเดียว
เอกปฏลิก : ค. มีหนังปะข้างเดียว
เอกปทิกมคฺค : ป. ทางเดินเท้าเล็กๆ , ทางเดินแคบๆ
เอกปที : ป. ทางแคบ, ทางเดินเท้าเล็กๆ
เอกปุตฺติก : ค. ผู้มีบุตรคนเดียว
เอกปุริสกา : ค. หญิงที่ซื่อสัตย์ต่อชายคนเดียว