โพธิปูชา : อิต. การบูชาต้นโพธิ
โพธิ : (ปุ.) โพธิ์ ไม้โพธิ์ ต้นโพธิ์ ชื่อต้นไม้ ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงผนวชเป็นพระมหาบุรุษแสวงหาโมกขธรรมได้เสด็จประทับบำเพ็ญเพียรแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. วิ. สพฺพญฺญุตญฺ ญาณํ พุชฺฌติ เอตฺถาติ โพธิ. พุธฺ อวคมเน, อิ.
ปูชนา ปูชา : (อิต.) การยกย่อง, การนับถือ, การต้อนรับ, การบูชา, ความยกย่อง, ฯลฯ. คำ บูชา ไทยใช้เป็นกิริยาในความว่าให้ด้วยความนับถือ.
โพธิปกฺขิย : (วิ.) มีในฝ่ายแห่งความตรัสรู้, เป็นในฝ่ายแห่งความตรัสรู้, เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้. วิ. โพธิยา ปกฺเขภโว โพธิปกฺจขิโย. อิย ปัจ. ชาตาทิตัท. โพธิยา ปกฺเข ปวตฺโต โพธิปกฺขิโย. โพธิสฺส วา ปกฺเข ภโว โพธิปกฺขิโย. โพธิ ใน วิ. นี้เป็น ปุ.
โพธิปริปาก : ป., โพธิปาจน นป. ความแก่รอบแห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
โพธิปาทป : ป. ต้นโพธิ
โพธิมณฺฑ : (ปุ.) ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งปัญญาชื่อว่า โพธิ, ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ.
โพธิมูล : นป. โคนโพธิ
โพธิรุกฺขมูล : (นปุ.) ควงแห่งต้นไม้ชื่อโพธิ.
โพธิองฺคณ : นป. บริเวณต้นโพธิ์, เนินโพธิ, ลานต้นโพธิ
โพธิฏฺฐาน : นป. ภาวะหรือฐานะแห่งการตรัสรู้
โพธิปกฺขิก, โพธิปกฺขิย : ค. (ธรรม) ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้, ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการตรัสรู้
โพธิปกฺขิยธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้, ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้, ธรรมเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้, ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งการบรรลุ (โลกุตตรธรรม).
โพธิสตฺต : (ปุ.) สัตว์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้, มนุษย์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้, บุคคลผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ, พระโพธิสัตว์ คือ สัตว์ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ได้แก่ ท่านผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
โพธิสมฺภาร : (ปุ.) บารมีธรรมเป็นเครื่องอุดหนุนแก่พระโพธิญาณ, โพธิสมภาร คือ บุญบารมีที่ได้สะสมไว้แต่หนหลังบุญบารมีของพระมหากษัตริย์.
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
มชฺฌิมโพธิ : (อิต.) เวลาเป็นที่ตรัสรู้มีในท่ามกลาง, มัชฌิมโพธิ คือช่วงระยะเวลาตอนกลาง.
มชฺฌิมโพธิกาล : (ปุ.) กาลเป็นที่ตรัสรู้มีในท่ามกลาง, มัชฌิมโพธิกาล คือกาลเป็นไประหว่างปฐมโพธิกาลและปัจฉิมโพธิกาลได้แก่ เรื่องพระพุทธประวัติระหว่างปฐมโพธิกาลและปัจฉิมโพธิกาล.
สมฺมาสมฺโพธิ : (อิต.) ความตรัสรู้เองโดยชอบ, ความตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ, ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ, ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ, อนาวรณญาณ. อนาวรณญฺญาณํ สมฺมาสมฺโพธิ.
ปชา : อิต. หมู่สัตว์, หมู่คน
ปเทสโพธิสตฺต : ป. ผู้เป็นพระโพธิสัตว์เพียงบางส่วน คือประกอบด้วยลักษณะของพระโพธิสัตว์แต่เพียงบางประการ
สมฺโพธิ : (อิต.) ปัญญาเป็นเครื่องรู้เอง, ฯลฯ, ปัญญาชื่อสมโพธิ, ความตรัสรู้โดยชอบ, ความตรัสรู้เอง, ความตรัสรู้พร้อม, ความตรัสรู้, อิ ปัจ.
สมฺโพธิยงฺค : (นปุ.) องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องรู้เอง, ฯลฯ. สมโพธิ+องค ยฺ อาคม.
อภิสมฺโพธิ : (อิต.) ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ยิ่ง, ความตรัสรู้พร้อมยิ่ง, ความรู้พร้อมยิ่ง, ความรู้พร้อมด้วยปัญญาอันยิ่ง, ความตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง, ความรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง.
สมฺมาสมฺพุทธฺ : (ปุ.) พระสัมมาสัมพุทธะ พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. วิ. สมฺมา อวิปริเตน สํ อตฺตนา สมฺพธมฺเม อพุชฺฌีติ สมฺมาสมฺพุทฺโธ. สมฺมา ฯเปฯ พุชฺฌตีติ วา สมฺมาสมฺพุทฺโธ. สมฺมาสํปุพฺโพ, พุธฺ, โพธเน, โต. สมฺมาสมฺโพธิโยคา วา สมฺมาสมฺพุทฺโธ. สมฺมา สามํ พุทฺธตฺตา วา สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
อสฺสตฺถ : (ปุ.) อัสสัตถพฤกษ์พระมหาบุรุษทรงประทับบนบัลลังก์ซึ่งตั้งอยู่โคนต้นไม้นี้บำ-เพ็ญเพียรแล้วได้ตรัสรู้.อมฺหากํภควโตโพธิรุกฺโข.แปลว่าต้นไม้ที่ม้าต้องการ, ต้นไม้ที่ม้าชอบบ้าง.อสฺส+อตฺถ.
จิตฺติกโรติ, - ตีกโรติ : ก. กระทำความยำเกรง, เคารพยกย่อง, บูชา
ปณมติ : ก. น้อมกายลงแสดงความเคารพ, นอบน้อม, เคารพ, บูชา, โค้ง, งอ
ปวีนติ : ก. เคารพ, บูชา, ยกย่อง, ให้เกียรติ
โพธ : (ปุ.) อันรู้, อันตรัสรู้, อันเข้าใจ, อันฉลาด, ความรู้, ฯลฯ. พุธฺ โพธเน, โณ.
มหติ : ก. นับถือ, บูชา
มาเนติ : ก. นับถือ, เคารพ, บูชา
อปจายิต : กิต. เคารพ, บูชา, นับถือ
อปจินาติ : ก. เคารพ, บูชา, สังเกต, เฝ้าดู, ทำลาย, ขจัด
อรห : (วิ.) ควร, สมควร, บูชา, เคราพ, นับถือ.อรหฺปูชายํ, อ.ส.อรฺห.
พุธ : (วิ.) ผู้รู้, ผู้มีปรีชา, ผู้มีปัญญา.
ปูเชติ : ก. บูชา
อญฺจติ : ก. ๑. ถึงความพินาศ
๒. บูชา
กณโหม : นป. การเผารำบูชา, การทำพิธีซัดรำบูชาไฟ
กตุ : (ปุ.) การบูชา, การบูชายัญ, ยัญ. วิ. สคฺคตฺถิเกหิ กรียตีติ กตุ (อันคนผู้ต้องการสวรรค์ทำ). กรฺ กรเณ, ตุ. กตฺตก
คาหปจฺจ : (ปุ.) คาหปัจจะ ชื่อไฟอย่างหนึ่ง, ไฟอันประกอบด้วยพ่อเจ้าเรือน วิ. คหปตินา สํยุตฺโต อคฺคิ คาหปจฺโจ. ไฟอัน ควรบูชาคือ พ่อเจ้าเรือน. คหปติ ศัพท์ ณ ปัจ. ราคาทิตัท. แปลง ปติ เป็น ปจฺจ.
คุรุทกฺขิณา : อิต. การทำทักษิณาให้แก่ครู, การบูชาครู
จิตฺติ : (อิต.) การบูชา, ความเคารพ, ความยำ เกรง. จิตฺ ปูชายํ, ติ.
เจติยงฺคณสมฺมชฺชนคนฺธมาลาทิกิจฺจ : (นปุ.) กิจ มีอันกวาดซึ่งลานแห่งเจดีย์และอันบูชาด้วย วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น เป็น วิเสสนบุพ. กัม. มี ฉ. ตัป., ส. ทวัน., ฉ. ตุล., ฉ. ตัป., ส. ทวัน,และฉ.ตุล.เป็นภายใน
ชีร : (นปุ.) มีดสำหรับใช้เครื่องบูชา, เมล็ด ผักชี, เมล็ดยี่หร่า. ส. ชีร.
ชุหติ : ก. เทลงไปในไฟ, บูชาไฟ, อุทิศให้
ชุหน : (นปุ.) การบูชา, เครื่องบูชา. หู หพฺย – ทาเน, ยุ. เทวภาวะ หู รัสสะ แปลง หุ เป็น ชุ ลบ อู ที่ตัวธาตุ.