Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเป็นอิสระ, อิสระ, เป็น, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเป็นอิสระ, 10198 found, display 4701-4750
  1. ทำเนียบนาม : น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็น ทําเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.
  2. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  3. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  4. ทำหูทวนลม : ก. ได้ยินแต่ทําเป็นไม่ได้ยิน.
  5. ทำให้, ทำเอา : ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทําให้เขาได้ไปเมืองนอก ทําเอา เขายํ่าแย่ไป.
  6. ทิคัมพร : [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตน เป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
  7. ทิงเจอร์ : น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย เช่น ทิงเจอร์ ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึกไอโอดีนใน เอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
  8. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  9. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  10. ทิพ, ทิพ- : [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  11. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  12. ทิพยจักษุญาณ : น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
  13. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  14. ทิพยโศรตร : [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไร ได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  15. ทิพโสต : [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  16. ทิม : น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสําหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระ ราชวัง เช่น ทิมตํารวจ ทิมกลอง.
  17. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  18. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  19. ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  20. ทีใครทีมัน : น. โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น.
  21. ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  22. ที่ดิน : น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมาย ความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
  23. ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
  24. ที่ธรณีสงฆ์ : (กฎ) น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
  25. ที่ปรึกษา : น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  26. ที่พึ่ง : น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัย ยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตําราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึด พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  27. ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  28. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  29. ทีเอ็นที : น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุ ระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
  30. ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
  31. ทึ่ง : (ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).
  32. ทึดทือ : น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
  33. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  34. ทุก ๑, ทุก ๆ : ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
  35. ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  36. ทุกขลาภ : [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
  37. ทุกขเวทนา : [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
  38. ทุกขสมุทัย : [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๒. (ป.).
  39. ทุกขารมณ์ : น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
  40. ทุกฏ : [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติ ทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
  41. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  42. ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  43. ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
  44. ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  45. ทุทรรศนนิยม, ทุนิยม : น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การ มองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
  46. ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  47. ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  48. ทุนทรัพย์ : [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จํานวนทรัพย์
  49. ทุนนิยม : น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ ทรัพยากรที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
  50. ทุ่นเบ็ด : น. ทุ่นสําหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่า ปลากินเบ็ด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | [4701-4750] | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10198

(0.2273 sec)