Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มงคล, 102 found, display 51-100
  1. ภัทร–, ภัทระ : [พัดทฺระ–] ว. ดี, เจริญ, ประเสริฐ, งาม, น่ารัก, เป็นมงคล. (ส. ภทฺร; ป. ภทฺท, ภทฺร).
  2. มนต์, มนตร์ : น. คําศักดิ์สิทธิ์, คําสําหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).
  3. มิ่ง : น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.
  4. มิ่งเมีย : น. เมียที่ถือว่านำสิ่งมงคลมาสู่สามีและครอบครัว.
  5. ยัชโญปวีต : [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).
  6. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  7. รัฐพิธี : น. งานที่จัดขึ้นโดยรัฐเป็นธรรมเนียม เช่น รัฐพิธีพืชมงคล.
  8. รับพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์.
  9. ราชาฤกษ์ : (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปราน ของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  10. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  11. ลัคน–, ลัคน์, ลัคนา : [ลักคะนะ–, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศ ตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสําหรับ ลงมือทําการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคํานวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสําหรับทําพิธีรดนํ้าแต่งงาน.
  12. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  13. ลายพระบาท : น. ลายมงคล ๑๐๘ ประการในพระพุทธบาทจำลอง.
  14. เล่นแง่ : ก. หาแง่มาขัดขวางไม่ให้เป็นไปอย่างสะดวกเพื่อเอาเปรียบ หรือแสดงว่าตนเหนือกว่า เช่น เล่นแง่ในทางกฎหมาย. เล่นจัญไร, เล่นระยำ, เล่นอัปรีย์, เล่นอุบาทว์ ก. กระทำสิ่งที่ชั่วช้า ไม่เป็นมงคลเพื่อความสนุกเป็นต้น.
  15. เลี้ยงแขก : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ได้รับเชิญเช่น เลี้ยงแขกในงานมงคล สมรส อาหารพวกนี้สำหรับเลี้ยงแขก.
  16. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  17. วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  18. วันฟู, วันลอย : (โหร) น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทาง จันทรคติสําหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม. วันมหาสงกรานต์
  19. ว่าน : น. ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือ เชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง. ว่านกาบหอย
  20. วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  21. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  22. ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
  23. ศักดิ์สิทธิ์ : ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดัง ประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์.
  24. ศาลเพียงตา : น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  25. ศุภกร : ว. ที่ทําความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).
  26. ศุภเคราะห์ : น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอา ดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณคือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. (ส.).
  27. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  28. สธุสะ, สาธุสะ : คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคํา ศุภมัสดุ.
  29. สมประกอบ : ว. มีอวัยวะสมบูรณ์เป็นปรกติ เช่น เขาเป็นคนมีร่างกาย สมประกอบ. สมพรปาก คํารับคำหวังดีต่อผู้ที่พูดอวยพรให้เป็นมงคล เช่น ขอให้ สมพรปากนะ.
  30. สมโภช : [โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธี มงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
  31. สมรส : [รด] ก. แต่งงาน เช่น นาย ก สมรสกับนางสาว ข. ว. ที่เกี่ยวกับการ แต่งงาน เช่น พิธีมงคลสมรส.
  32. หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
  33. หางกวัก : [-กฺวัก] น. หางที่มีปลายงอลง (ใช้แก่แมว) ถือว่าเป็นมงคล.
  34. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  35. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  36. อกุศล, อกุศล : [อะกุสน, อะกุสนละ] ว. ชั่ว, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล. (ส.; ป. อกุสล). น. สิ่งที่ไม่ดี, บาป.
  37. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  38. อนากูล : ว. ไม่อากูล, ไม่คั่งค้าง, เช่น การงานอนากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. น + อากุล).
  39. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  40. อปมงคล, อัปมงคล : [อะปะ, อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย. (ป., ส.).
  41. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  42. อวมงคล : [อะวะมงคน] ว. ที่มิใช่มงคล, เรียกงานทําบุญเกี่ยวกับการศพว่า งานอวมงคล. (ป.).
  43. อัปมงคล : [อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย, อปมงคล ก็ว่า. (ป., ส.).
  44. อัปรีย์ : [อับปฺรี] ว. ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล. (ส. อปฺริย; ป. อปฺปิย).
  45. อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
  46. อากูล : [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. อากุล).
  47. อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ : [ถัน, ถัน, ถับพะนะ] น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทํา พิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือ ทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทําพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์; อํานาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์. (ส. อาถรฺวณ; ป. อาถพฺพณ).
  48. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  49. อุบาทว์ : ว. อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็นมงคล. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
  50. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-102

(0.0162 sec)