Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลิ่นเต่า, กลิ่น, เต่า , then กลน, กลนตา, กลิ่น, กลิ่นเต่า, ตา, เต่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลิ่นเต่า, 1027 found, display 201-250
  1. นางแย้ม : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน โคนใบเว้าแบบหัวใจ ขอบใบหยัก มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้น ๆเบียดกันแน่น กลีบดอกมักซ้อน สีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม.
  2. น้ำคาวปลา : น. นํ้าล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด ใช้รดต้นไม้ให้งาม, นํ้าล้างปลา ก็เรียก; นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้ว ประมาณ ๓–๔ วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย.
  3. น้ำดอกไม้ ๒ : น. (๑) ชื่อชมพู่ชนิด Syzygium jambos (L.) Alston ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง เนื้อบาง กลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ; ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก.
  4. น้ำดอกไม้สด : น. นํ้าที่ลอยดอกมะลิ มีกลิ่นหอม.
  5. น้ำนมแมว : น. ของเหลวชนิดหนึ่งประกอบด้วยเอทิลแอซีเทต (ethyl acetate) มีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ใช้ประโยชน์เป็นตัวปรุงกลิ่น ขนมเป็นต้น.
  6. น้ำนมราชสีห์ : น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่น หอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาว คล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.
  7. น้ำมันเขียว : น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย การบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
  8. น้ำมันจันทน์ : น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม.
  9. น้ำมันระกำ : น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จาก นวดไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
  10. น้ำมันสลัด : น. นํ้ามันที่ได้จากพืชบางชนิดเช่นมะกอก ใช้คลุกกับ ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อปรุงรสและกลิ่นในการทำสลัด.
  11. น้ำหนวก : น. นํ้าที่อยู่ในช่องหูซึ่งมีอาการอักเสบ มีกลิ่นเหม็น อาจมี ลักษณะใส เป็นมูกข้นหรือเป็นหนอง.
  12. เนยเทียม : น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทํา ให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
  13. เน่า : ว. เสียและมีกลิ่นเหม็น เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า.
  14. เนียม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino ในวงศ์ Chloranthaceae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, พายัพเรียก เนียมอ้ม. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes nivea Craib ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.
  15. โนรี ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Hiptage lucida Pierre ในวงศ์ Malpighiaceae ใบและดอกคล้ายโนราแต่เล็กกว่า ดอกสีชมพู กลิ่นหอม.
  16. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  17. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  18. บัวตูม : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerrii Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทํายาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาล แดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
  19. บุก ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทํายาได้.
  20. บุนนาค : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua ferrea L. ในวงศ์ Guttiferae ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทําเครื่องเรือน.
  21. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  22. เบญจมาศ : [เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออก ตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบ ดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบ เมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ''ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับ นํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.
  23. เบื่อเป็นยารุ : ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะ มีกลิ่นเหม็นและรสขมเฝื่อน.
  24. โบรมีน : น. ธาตุลําดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ ?ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการ ถ่ายรูป. (อ. bromine).
  25. ประดู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
  26. ประยงค์ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Aglaia odorata Lour. ในวงศ์ Meliaceae ดอกกลมเล็ก ๆ สีเหลือง ลักษณะคล้ายไข่ปลาดุก ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ กลิ่นหอม. (ส. ปฺริยงฺคุ; ป. ปิยงฺคุ).
  27. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  28. ปริก ๒ : [ปฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Asparagus sprengeri Regel ในวงศ์ Asparagaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
  29. ปรู ๑ : [ปฺรู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Alangium salviifolium Wang. ในวงศ์ Alangiaceae ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุก ตามง่ามใบ กลิ่นหอม เนื้อไม้สีนํ้าตาลคลํ้า ใช้ทําด้ามปืน พานท้ายปืน เปลือกรากใช้ทํายาได้.
  30. ปีบ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Millingtonia hortensis L.f. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกยาว สีขาว กลิ่นหอม ดอกแห้งใช้ประสม ยาสูบ, พายัพเรียก กาซะลอง, อีสานเรียก กางของ.
  31. ปูลู ๒ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Platysternon megacephalum ในวงศ์ Platysternidae หัวโตมาก หางยาวกว่ากระดอง อาศัยอยู่ตาม ลําธารบนภูเขา พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย.
  32. เปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
  33. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  34. ผักอีแปะ : ดู ตับเต่า(๑).
  35. ผิดกลิ่น : ว. แปลกไปจากกลิ่นที่คุ้นเคยและทำให้เกิดปฏิกิริยา.
  36. พรมคด : [พฺรมมะ] น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Heliciopsis terminalis (Kurz) Sleumer ในวงศ์ Proteaceae ช่อดอกสีขาว กลิ่นหอม. (๒) ดู กระโดงแดง(๑).
  37. พลับพลึง : [พฺลึง] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Crinum asiaticum L. ในวงศ์ Amaryllidaceae ใบยาวใหญ่เป็นกาบ หัวมีพิษ ดอกสีขาว กลิ่นหอม.
  38. พะยอม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea roxburghii G. Don ในวงศ์ Dipterocarpaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง.
  39. พันจำ : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Vatica วงศ์ Dipterocarpaceae ชนิด Vatica cinerea King ดอกสีขาว กลิ่นหอม V. odorata (Griff.) Sym. ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม.
  40. พิกุล : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Mimusops elengi L. ในวงศ์ Sapotaceae กลีบดอก จักแหลม กลิ่นหอมและหอมอยู่จนแห้ง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก แก้ว, ปักษ์ใต้เรียก กุล. (ป., ส. วกุล).
  41. พิโดร : [พิโดน] ก. ฟุ้งไป (ใช้แก่กลิ่น). (ข. พิโดร; ส. วิตร).
  42. พิมเสน ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่ในเนื้อไม้. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่น ให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่นและดับกลิ่นตัว. (๓) ชื่อมะม่วง หลายพันธุ์ของชนิด Mangifera indica L. พันธุ์หนึ่ง เมื่อดิบมีรส เปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน.
  43. พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
  44. พุทธชาด : [พุดทะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Jasminum auriculatum Vahl ในวงศ์ Oleaceae ดอกสีขาวกลิ่นหอม, บุหงาประหงัน ก็เรียก.
  45. แพว : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Polygonum odoratum Lour. ในวงศ์ Polygonaceae ต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบอ่อนและกิ่งกินได้ ใช้ทํายา ได้ เรียกว่า ผักแพว, เรียกเพี้ยนเป็น พักแพว พัดแพว หรือ เพ็งแพว ก็มี, พายัพเรียก ผักไผ่. (๒) ดู หญ้างวงช้าง.
  46. ไพโดร : [โดน] ก. พิโดร, กลิ่นฟุ้งไป.
  47. ฟ้ามุ่ย : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Vanda coerulea Griff. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีฟ้าอมม่วง กลิ่นหอมอ่อน.
  48. ฟุ้ง : ก. ตลบไป เช่น หอมฟุ้ง กลิ่นฟุ้ง, ปลิวไป, กระจายไป, เช่น ฝุ่นฟุ้ง. ว. มากเกินควร (ใช้แก่กริยาคุย) เช่น คุยฟุ้ง.
  49. มณฑา : [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.
  50. มดดำ : น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดําเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ทํารังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1027

(0.1065 sec)